อัพเดต การรักษาไวรัสตับอักเสบบี 2023

แนวทางการรักษาไวรัสตับอักเสบบี New update treatment for hepatitis B

ไวรัสตับอักเสบบี เป็นโรคตับอักเสบที่เกิดจากไวรัสตัวหนึ่งคือไวรัสตับอักเสบบี (Hepatitis B virus) เป็นโรคติดต่อที่พบบ่อยในแถบเอเชีย ในบ้านเราเคยเป็นการติดเชื้อที่พบมาก แต่พอมีการรณรงค์ฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบีอย่างแพร่หลายในเด็กแรกเกิด เราพบโรคนี้ลดลงมาก

ไวรัสตับอักเสบบี ติดต่อกันโดยทางน้ำลาย สารคัดหลั่ง และเลือด สามารถติดได้จากการสัมผัสน้ำลาย ทานอาหารร่วมกัน เพศสัมพันธ์ หรือรับเลือดของผู้ที่มีเชื้อ และทำให้ผู้ที่ได้รับเชื้อมีอาการของโรคไวรัสตับอักเสบ ซึ่งอาจเกิดอาการแบบเฉียบพลัน หรือติดเชื้อแบบเรื้อรัง หรือแบบไม่มีอาการ

เรามีการรักษาที่อัพเดตมาเรื่อยๆ ในบทความนี้จะพยายามอัพเดต การรักษาในปัจจุบัน

การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีแบบเรื้อรังหรือเฉียบพลัน

เมื่อมีการติดเชื้อไวรัส เรื่มแรกจะเป็นการติดเชื้อที่มีอาการแบบเฉียบพลัน ในคนที่แข็งแรง เราพบว่า ไวรัสอาจจะสามารถอยู่ในระยะแพร่กระจายเชื้อได้ถึง 6 เดือนทีเดียว หลังจากนั้น อาจหาย หรืออาจกลายเป็นการติดเชื้อแบบเรือรัง ทั้งแบบมีอาการ หรือไม่มีอาการก็ได้

การรักษาการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีอย่างเฉียบพลัน

เราพบว่ายาทั้งหลาย ให้ผลไม่ค่อยได้ดีนัก ส่วนใหญ่ เราจะรักษาตามอาการ ให้พักผ่อน เพราะตับจะได้ไม่ทำงานหนัก ให้สารน้ำ อาหาร อาจจำเป็นต้องให้การรักษาใน รพ.

การรักษาการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรัง

การรักษาด้วยยาต้านไวรัส หรือยาอื่นๆที่มีผลวิจัยว่าได้ผลดี แต่ส่วนใหญ่ก็พบว่าอัตราการหายขาดยังไม่น่าพอใจ และการรักษาต้องอยู่ในการดูแลจากแพทย์เพราะยาส่วนใหญ่อาจมีผลข้างเคียงได้ การรักษาไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรัง มีจุดประสงค์เพื่อป้องกันการทำลายเนื้อตับเพิ่มเติม ทำให้ตับแข็ง หรือเกิดมะเร็งในตับได้ในระยะยาว

การรักษาในปัจจุบัน มี 2 แนวทางคือ

  • การให้ยาปรับภูมิ Immune modulator drugs เป็นยาที่ช่วยปรับภูมิคุ้มกันของร่างกายให้สู้กับไวรัสบีได้ มักต้องฉีดต่อเนื่องไปในระยะ 6 เดือน ถึง 1ปี
  • ยาต้านไวรัส Antiviral drugs เป็นยาที่ฆ่าเชื้อไวรัสโดยตรง เพื่อให้ไวรัสตาย หรือเสียความสามารถในการแพร่พันธ์ต่อ

อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ว่าผู้ที่เป็นไวรัสบีเรื้อรังทุกคนจะต้องการยา เพราะในผู้ที่เป็นพาหะ หมายถึงไม่มีอาการแต่พบเชื้อ ไวรัสผสานเข้ากับเซลตับของร่างกาย การรักษาอาจไม่จำเป็น

การรักษาในปัจจุบัน

ยาต้านไวรัส Nucleos(t)ide analogues (NAs) or oral antivirals

ยาต้านไวรัส หรือ NA ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ ทำให้จำนวนไวรัสลดลง เมื่อไวรัสลดลง ก็จะมีการทำลายเนื้อตับน้อยลง ยาในกลุ่มนี้ หลายตัว ต้องทานต่อเนื่องเพราะถ้าหยุด ไวรัสอาจมีการแพร่กระจายต่อ ปกติแล้วในคนทั่วไป ข้อมูลการวิจัยพบว่าคนที่มีการติดเชื้อไวรัส จะหายจากเชื้อได้เอง (spontaneous) ปีละ 1%

ยาต้านไวรัสที่ได้รับการอนุมัติให้ใช้ได้

ยาเลือกตัวหลัก First-line treatments, including:

Second-line treatments, including:

  • telbivudine (Tyzeka or Sebivo)
  • adefovir dipivoxil (Hepsera)
  • lamivudine (Epivir-HBV, Zeffix,Lamivir,3TC or Heptodin)
  • Emtricitabine

อินเตอร์เฟียรอน Pegylated interferon (Pegasys)

เป็นยาปรับภูมิ ที่ใช้ในรูปแบบการฉีด ทุกสัปดาห์ ไปในระยะประมาณ 6 เดือน ถึง 1 ปี ผลข้างเคียงมีเช่น อาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ Flu like symptoms และซึมเศร้า

อินเตอร์เฟียรอน อัลฟ่า Interferon Alpha (Intron A)

เป็นยาปรับภูมิอีกตัว แต่ไม่นิยมเท่าตัวแรก การใช้และผลข้างเคียงเหมือนตัวแรก

จากการรวบรวมงานวิจัยในปี 2019 พบว่า ยาปรับภูมิให้ผลดีได้ยาวนานกว่า ยาต้านไวรัส

ยาใหม่ๆที่กำลังอยู่ในการวิจัย

  • Small interfering RNA:ยาในกลุ่มนี้จะไปทำลาย RNA ของไวรัส
  • Tenofovir prodrugs: ไปเปลี่ยนเป็น Tenofovir ในตับ
  • Entry inhibitors: จับกับโปรตีนบนผิวเซลตับ และป้องกันไวรัสแพร่เข้าเซลตับ
  • Capsid inhibitors: ป้องกันการสร้างCapsid โปรตีนบนผิวไวรัส
  • Smoothened agonist inhibitors: ป้องกันการสร้างตัวใหม่ของไวรัส
  • Covalently closed circular DNA (cccDNA) inhibitors: เป้าหมายคือ cccDNA โมเลกุลเล็กๆในนิวเคลียสเซลตับที่มีการติดเชื้อ. cccDNA โมเลกุล ถือเป็นความหวังใหม่ ในการรักษาให้หายขาดเลยทีเดียว
  • Crispr-Cas and transcription activator-like effector nucleases: เป็น Genome editor ในการทำลาย cccDNA.

ยาที่กำลังพัฒนา:

  • Therapeutic vaccines: 
  • Toll-like agonists:
  • Stimulator of interferon genes (STING): 
  • Second mitochondrial-derived activator of caspases mimetics:
  • Cyclophilin inhibitors: Cyclophilins ช่วยในการนำไวรัสเข้าเซลตับ

การรักษาแบบผสมผสาน

ในปี 2021 รีวิวพบว่า มีการใช้ ยาปรับภูมิ ร่วมกับ NAs ซึ่งได้ผลดี

กล่าวโดยสรุปแล้ว การรักษาไวรัสตับอักเสบบี แม้จะไม่สามารถรักษาหายขาดได้ทุกราย แต่พบว่า มีผลดีในการลดการทำลายเซลตับ ซึ่งช่วยให้คุณภาพชีวิตคนไข้ดีขึ้นในระยะยาว ป้องกันการเกิดตับแข็งและมะเร็งตับได้

กรุณาสละเวลาโหวตให้กับบทความ ขอบคุณครับ 1 Star2 Stars3 Stars4 Stars5 Stars (8 votes, average: 4.50 out of 5)
loadingLoading...

Comments are closed.