การทำเด็กหลอดแก้ว หรือ การทำ IVF คือ วิธีปฏิสนธิไข่นอกร่างกายผ่านห้องปฏิบัติการโดยจะต้องทดสอบ กระตุ้นมดลูก ท่อรังไข่ และรังไข่ จากนั้นจึงนำไปดำเนินการต่อ เป็นเทคนิคสำคัญอย่างหนึ่งสำหรับผู้ประสบปัญหามีบุตรยาก ไม่ว่าสาเหตุจะมาทั้งจากฝ่ายชายหรือหญิงก็ตาม
ด้วยเหตุนี้การจะทำ IVF จึงต้องมีการเตรียมตนเองให้พร้อมทางด้านร่างกายและจิตใจ ลดความเสี่ยงต่อข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น รวมถึงต้องไม่ลืมว่าการทำแต่ละครั้งมีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นเสมอ
ปัญหาสำคัญที่มักส่งผลให้การทำเด็กหลอดแล้วไม่ประสบผลสำเร็จ
ก่อนจะไปรู้วิธีเตรียมความพร้อมสำหรับทำเด็กหลอดแก้ว อยากพาทุกคนไปทำความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาหลัก ๆ ที่มักส่งผลให้การทำ IVF ไม่ได้ผลสำเร็จตามเป้าหมายที่คาดหวังเอาไว้ เพื่อเป็นอีกเทคนิคเบื้องต้นช่วยให้ทั้งฝ่ายชายและหญิงพยายามหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่อาจนำไปสู่สาเหตุดังกล่าวเหล่านี้ได้
เตรียมพร้อมอย่างไรก่อนการทำเด็กหลอดแก้ว ให้ได้ผลลัพธ์ดี
คราวนี้ก็มาถึงสิ่งที่คู่รักจำนวนมากที่กำลังประสบปัญหาไม่สามารถมีลูกได้ด้วยวิธีธรรมชาติอยากเข้าใจและสร้างความพร้อมให้กับตนเองมากที่สุด ซึ่งในกรณีนี้ต้องแบ่งออกเป็นทั้งฝ่ายชายและหญิง (ไม่ใช่ฝ่ายหญิงคนเดียวอย่างที่เข้าใจ) ขอแนะนำการเตรียมตนเองให้พร้อม ดังนี้
การเตรียมพร้อมทำ IVF สำหรับฝ่ายหญิง
1. ตรวจสุขภาพรังไข่ก่อนเสมอ
สาเหตุอย่างหนึ่งที่มักทำให้หลายคนไม่สามารถมีลูกได้ตามวิธีธรรมชาติเกิดจากรังไข่ของฝ่ายหญิงมีปัญหา ด้วยเหตุนี้ก่อนทำ IVF ทางแพทย์จะแนะนำให้สาว ๆ ตรวจสุขภาพรังไข่ก่อนเสมอเพื่อสร้างความมั่นใจว่าแข็งแรง พร้อมสำหรับการมีลูกจริง อาจเริ่มจากการตรวจฮอร์โมน AMH, LH, FSH, AFC เป็นต้น ซึ่งการตรวจดังกล่าวเป็นการประเมินเบื้องต้นของแพทย์ก่อนตัดสินใจเก็บไข่
2. บำรุงและกระตุ้นรังไข่ให้แข็งแรง
หากทำการตรวจแล้วปรากฏรังไข่มีปัญหาในการจะมีลูกส่วนใหญ่แพทย์จะทำการบำรุงพร้อมกระตุ้นเพื่อรังไข่เกิดความแข็งแรง เช่น การให้ยาทั้งแบบยาทานหรือยาฉีด แต่ทั้งนี้ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์เฉพาะทางเท่านั้น ทำตามที่ระบุไว้ชัดเจนว่าทานกี่เม็ด เมื่อไหร่ หรือต้องฉีดยาตามช่วงเวลาไหน เพื่อลดความผิดพลาดที่อาจเกิดให้เหลือน้อยที่สุด รวมถึงแพทย์จะมีการนัดเข้ามาอัปเดตสภาพของรังไข่ จึงควรไปตามนัดอย่าได้ขาด
3. เลือกทานอาหารที่มีประโยชน์
อาหารถือเป็นสิ่งที่จะบ่งบอกสุขภาพของแต่ละบุคคลได้ชัดเจนมาก หากใครตัดสินใจแล้วว่าจะทำเด็กหลอดแก้วก็ควรเน้นเลือกทานอาหารกลุ่มโปรตีนสูงไม่ต่ำกว่า 60 มก, เช่น เนื้อปลาทะเลน้ำลึก เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน เต้าหู้ เป็นการกระตุ้นให้ไข่เติบโต หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มคาเฟอีน อาหารหมักดอง อาหารดิบทั้งหลาย รวมถึงการทานวิตามินจากแพทย์ เช่น วิตามินซี วิตามินอี คิวเทน โฟลิค ก็ช่วยได้ในระดับหนี่งเช่นกัน
4. พักผ่อนให้เพียงพอ พยายามลดความเครียดของตนเอง
การทำเด็กหลอดแก้วไม่ใช่แค่ใส่ใจเรื่องสุขภาพกาย แต่สุขภาพจิตก็ต้องให้ความสำคัญไม่แพ้กัน หลัก ๆ เลยผู้หญิงต้องพยายามหลีกเลี่ยงสิ่งที่อาจทำให้เกิดความเครียด หากิจกรรมผ่อนคลาย พักผ่อนให้เพียงพอในแต่ละวันไม่ต่ำกว่า 6-8 ชม. ไม่นอนดึก ดื่มน้ำสะอาด 8-10 แก้ว หรือราว 2 ลิตร จะทำให้ผลของการทำ IVF ออกมาน่าพึงพอใจ
5. การเตรียมตัวอื่น ๆ เพิ่มเติม
เช่น หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ การรับควันบุหรี่มือสอง ออกกำลงกายเบา ๆ ไม่ต้องทำกิจกรรมหนักเกินเหตุ และหากต้องทานยากด้วยสาเหตุใดก็ตามควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนเสมอ
การเตรียมพร้อมทำ IVF สำหรับฝ่ายชาย
อย่างที่อธิบายไปว่าการทำ IVF ไม่ใช่แค่ฝ่ายหญิงเท่านั้นที่ต้องเตรียมพร้อม แต่ผู้ชายเองก็ต้องใส่ใจและให้ความร่วมมือด้วยเช่นกันเพื่อสร้างผลลัพธ์ตามเป้าหมายที่ทั้งคู่คาดหวังเอาไว้ ทั้งนี้หากสรุปแล้วการเตรียมความพร้อมก่อนทำ IVF สำหรับผู้ชายหลัก ๆ แล้วอยากเน้นเรื่องการงดสูบบุหรี่ งดดื่มแอลกอฮอล์ ชา กาแฟ ที่มีส่วนผสมของคาเฟอีนชั่วคราว พักผ่อนให้เพียงพอในแต่ละวัน อย่านอนดึกเกินไป ทานอาหารบำรุงสุขภาพ นั้นเนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ ไปจนถึงอย่าสวมกางเกงในหรือกางเกงรัดเป้ามากเกินไป เพื่อไม่ให้อสุจิอยู่ในที่อบ อับชื้น หลีกเลี่ยงการแช่น้ำอุ่น การทำสปา แช่ออนเซ็น สิ่งพื้นฐานเหล่านี้ย่อมช่วยเรื่องของผลการทำ IVF เป็นไปตามที่คาดหวังได้อย่างดีเยี่ยม
จะเห็นเลยว่าการทำเด็กหลอดแก้วที่ไม่ประสบผลสำเร็จส่วนหนึ่งมาจากการเตรียมความพร้อมที่ไม่เหมาะสม หรืออาจรู้แค่เบื้องต้น ไม่เจาะลึก จนบางสิ่งก็นำมาซึ่งความผิดพลาด ไม่ได้ผลตามที่คาดหวัง ต้องเสียเงินแบบไร้ประโยชน์ แถมยังเสียความรู้สึกอีกต่างหาก ดังนั้นถ้าครอบครัวไหนวางแผนอยากมีลูกจริงแต่พยายามทำวิธีธรรมชาติเท่าใดก็ไม่สำเร็จจึงตัดสินใจอยากลองทำ IVF ดู อย่าลืมเตรียมตนเองให้พร้อมตามขั้นตอนที่ระบุข้างต้นนี้ทั้งหมด จะช่วยให้ผลเกิดขึ้นอย่างน่าพึงพอใจ มีลูกดังที่ต้องการ
ผื่นแพ้ยา Stevens Johnsons syndrome ถ้าหากจะลองไล่รายชื่อโรคที่แพทย์ไม่ต้องการจะเจอในชีวิตหนึ่ง โรคแพ้ยาชนิดรุนแรง สตีเวนส์ จอห์นสัน Stevens johnsons syndrome (SJS) และ TENS (Toxic epidermal…
ฝุ่นpm2.5กับการออกกำลังกาย เชื่อว่าช่วงหลังๆ ในหน้าหนาว หลายคนกำลังประสบกับปัญหา ภัยจากฝุ่นควันจิ๋ว PM 2.5 ซึ่งเป็นฝุ่นที่มีขนาดเล็ก และสามารถทำอันตรายต่อสุขภาพได้ หลายท่านที่เป็นนักกีฬา หรือต้องออกกำลังกายกลางแจ้งคงกังวลว่า เราจะสามารถออกกำลังได้ไหม ในสถานการณ์อย่างไรบ้าง ต้องใช้หน้ากากไหม และมีหน้ากากป้องกันฝุ่น…
10 อันดับโรคมะเร็งที่พบบ่อยในประเทศไทย 1. มะเร็งตับและท่อน้ำดี (Liver and Bile Duct Cancer) เป็นมะเร็งที่พบบ่อยที่สุดในประเทศไทย และมีอัตราการเสียชีวิตสูงที่สุด (20.3%) 2.มะเร็งปอด (Lung Cancer)…
มะเร็งในอายุน้อยลง ผลวิจัยระบุ โรคมะเร็งที่เกิดในวัยหนุ่มสาว — รวมถึงมะเร็งเต้านม ลำไส้ใหญ่ หลอดอาหาร ไต ตับ และตับอ่อน — เพิ่มขึ้นอย่างมากทั่วโลก โดยแนวโน้มนี้เริ่มขึ้นประมาณปี 1990 ไม่ต้องแปลกใจถ้าจะมีข่าวมะเร็งในคนอายุน้อยลงเรื่อยๆ…
ปอดบวมจากไข้หวัดใหญ่(ปอดอักเสบจากไข้หวัดใหญ่ ) Influenza Pneumonia
Influenza A and B ICD 10 Influenza of any strains Use same ICD10 Influenza with…