สารบัญ

Facial Palsy ใบหน้าเบี้ยวจากประสาทคู่ที่ 7 มีปัญหา

เส้นประสาทคู่ที่ 7 วิ่งออกมาข้างหูและส่งมาควบคุมกล้ามเนื้อใบหน้า ในกรณีที่เส้นประสาทนี้มีปัญหา เรียก อัมพาตจากเส้นประสาทใบหน้าคู่ที่ 7 (facial nerve palsy) เช่น อักเสบ ติดเชื้อไวรัส (Bell’s palsy ใบหน้าเบี้ยว ศัพท์นี้ใช้เรียกรวมๆ ในกรณีหาสาเหตุไม่เจอ แต่ถ้าเกิดจากการกระแทก เรียก traumatic facial nerve palsy) หรือโดนกระแทก ทำลาย ก็จะเกิดหน้าเบี้ยวขึ้นได้

ลักษณะทางกายภาพของเส้นประสาทที่ 7

เส้นประสาทเส้นที่ 7 (cranial nerve 7)
เป็นเส้นประสาท ที่เน้นเรื่องการเคลื่อนไหว มากกว่าการรับความรู้สึก (motor nerve) โดยมีจุดเริ่มต้นมาจาก มอเตอร์นิวเคลียสที่บริเวณใต้ก้านสมอง วิ่งออกมาพร้อมกับเส้นประสาทหูเข้าสู่ช่อง internal auditory meatus วิ่งผ่านกระดูกมาเรื่อยๆ และมาโผล่ออกตรงบริเวณที่เรียกว่า สไตโรมาสตอยด์ ฟอราเมน วิ่งผ่านต่อมน้ำลายพาโรติดที่บริเวณแก้ม และหลังจะนั้นจะแตกแขนงออกมาควบคุมกล้ามเนื้อใบหน้าจากบนลงล่าง จากลักษณะกายภาพ จึงพบว่า เส้นประสาทนี้มีโอกาสโดนทำลาย หรือกระทบสูง ทั้งจากโรคของอวัยวะข้างเคียง หรือการกระทบกระแทกที่ใบหน้าเอง การอักเสบหรือมีผลกระทบที่บริเวณต้นทาง (สไตโรมาสตอยด์ ปุ่มกระดูกใต้กราม) จะทำให้ใบหน้าเบี้ยวทั้งหมด หมายถึงทั้งแก้ม คาง และตา มุมปากตก ตาปิดไม่สนิท ในขณะที่พยายามปิดตาจะทำให้ตาข้างนั้นเหลือกขึ้น (Bell’s phenomenon)

ลักษณะอาการ

อาการของอัมพาต เส้นประสาทใบหน้าที่ 7
1. โดนทำลายจากต้นทาง หนักๆใบหน้า การรู้รสยังปกติ ใบหน้าเบี้ยวทั้งหมด ตั้งแต่บน ตาปิดไม่สนิท ลงมาล่าง มุมปากห้อย
2. โดนทำลายที่ช่องกระดูกติดหูชั้นกลาง จะมีปัญหาลิ้นไม่สามารถรับรสในข้างที่หน้าเบี้ยว
3. โดนทำลายที่ ช่องกระดูกและมีการทำลายของประสาทหูด้วย อาจมีหน้าเบี้ยวร่วมกับการได้ยินเสีย วิงเวียน หูอื้อ ได้ยินเสียงในหู
ลักษณะอาการหน้าเบี้ยว
– รอยย่นบนหน้าผากลดลง
– ตาปิดไม่สนิท ตาเหลือกขึ้นขณะพยายามปิดตา
– น้ำตาไหลตลอด
– มุมปากตก น้ำลายไหลย้อย
โรคที่พบบ่อยที่ทำให้หน้าเบี้ยว

1. Bell’s palsy

เป็นโรคที่ทำให้ใบหน้าเบี้ยว ที่พบบ่อยที่สุด ผู้ป่วยส่วนใหญ่ มาพบเพราะตื่นมาแล้วรู้สึกว่ามีหน้าเบี้ยว มุมปากตก ปิดตาไม่สนิท หนักๆที่แก้ม ส่วนใหญ่มักไม่มีอาการอะไรนำ มีส่วนน้อยมีไข้ หวัด หรือหูอื้อมาก่อน
อุบัติการณ์ 10-40 ต่อ 100000 คน หรือโอกาสเกิด 1 ใน 60 ของผู้ใหญ่ตลอดชีวิตของคนคนหนึ่ง
ลักษณะอาการ
– ใบหน้าเบี้ยวเกิดทันใด ภายใน 48 ชม
– เจ็บหลังใบหู อาจมีก่อน 2-3 วัน
– ลิ้นอาจมีการรับรสข้างที่หน้าเบี้ยวเสียไป
การตรวจวินิจฉัย
– อาการ และอาการแสดง
– MRI อาจพบการบวมของเส้นประสาทที่วิ่งผ่านในกระดูก
การดำเนินของโรคและพยากรณ์โรค
– ส่วนใหญ่ หายเอง ประมาณ80% ของคนไข้ ภายในเดือนหรือสองเดือน ถ้ามีการรักษาภายใน 24-48ชม. อาจดีขึ้นเร็ว
– ถ้าหน้าเบี้ยวไม่มากตั้งแต่ต้น โอกาสหายจะสูง
สาเหตุของ Bell’s palsy
– ยังไม่ชัดเจนแต่เชื่อว่าเป็นเพราะการมี การกำเริบจากเชื้อ Herpes virus I(เริม) ในเส้นประสาทนี้ (บริเวณ ganglion)
การวินิจฉัยแยกโรค
– Tumor เนื้องอกแถวบริเวณนี้
– Ramsey’s hunt syndrome Herpes zoster งูสวัดของ ganglion แถวนี้
– Acoustic neuroma เนื้องอกเส้นประสาทที่ 8 ลามมากด
– Multiple sclerosis
– GBS Guillain-Barre syndrome
– Sarcoidosis
– Lyme disease
– Leprosy โรคเรื้อน
การรักษา
1. ตามอาการ ใช้เทปปิดตาเวลานอนกันกระจกตาโดนฝุ่น ตาแห้งเพราะตาไม่ปิด
2. นวด หรือกระตุ้นไฟฟ้าตามบริเวณเส้นประสาท
3. สเตียรอยด์
4. ยารักษาเริม

  • **ส่วน Bell’s Phenomenon เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ที่เป็นปรากฎการณ์ปกติในคน 75 % ที่มี รีเฟล็กซ์ เวลามีอะไรเข้าใกล้กระจกตา หรือพยายามปิดตา จะเห็นลูกตาขยับขึ้นและหมุนออกด้านนอก เรียกว่า palpebral oculogyric reflex

ใบหน้าเบี้ยวจากเส้นประสาทโดนทำลาย

ดังที่กล่าวแล้วว่า เส้นประสาทเส้นที่ 7 นี้ มีส่วนหนึ่งวิ่งผ่านช่องกระโหลก และออกมาสู่ผิวตื้นโดยฝังอยู่ในต่อมน้ำลายข้างแก้ม ดังนั้น โอกาสโดนทำลายมี โดยเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น กระแทก หรือโดนกดทับเป็นเวลานาน พยากรณ์ของโรคขึ้นกับว่า โดนทำลายแบบใด รุนแรงแค่ไหน เช่น ถ้าโดนกดทับ ไม่มีการขาด ก็จะพยากรณ์โรคดี สามารถหายกลับได้ ถ้าเป็นก้อน มะเร็ง หรือตัดขาด การรักษาจะยุ่งยากซับซ้อน โดยอาจต้องใช้ศัลยกรรมแบบจุลศัลยกรรมร่วมด้วย

นพ.กิจการ จันทร์ดา

CK

2535 แพทยศาสตร์บัณฑิต 2539 วุฒิบัตร อายุรศาสตร์ เป็นคนชอบขีดเขียน ชอบท้าทาย ทำงานเป็นหมอดีๆไม่ชอบ ชอบเป็น journalist /

Recent Posts

ไข้เลือดออก 2566

อัพเดต อาการ การรักษา โรคไข้เลือดออก หรือ ไข้เดงกี่ (Dengue fever ) รวมถึง ไข้เลือดออกเดงกี่ Dengue Hemorrhagic fever เป็นโรคไข้จากไวรัส…

1 year ago

วัคซีนไข้หวัดใหญ่ 2023-2024

วัคซีนไข้หวัดใหญ่ 2023-2024 องค์การอนามัยโลก For trivalent vaccines for use in the 2023-2024 northern hemisphere influenza season,…

2 years ago

สุขภาพเด็ก -Thaihealth

Thaihealth เปิดโซนสุขภาพเด็ก แนะนำบทความจาก Thaihealth Old News ครับ (more…)

2 years ago

ฮีทสโตรก heatstroke ภาวะที่ต้องระวังในหน้าร้อน

ฮีทสโตรก heatstroke ภาวะที่ร่างกายมีอุณหภูมิสูงเกินปกติและควบคุมไม่ได้ โดยทั่วไปคือภาวะที่ร่างกายมีอุณหภูมิแกนกลาง (core temperature) มากกว่า 40 องศาเซลเซียส ก่อให้เกิดอันตรายต่ออวัยวะต่างๆอย่างเฉียบพลัน ถือเป็นภาวะที่ต้องรักษาเร่งด่วน (more…)

2 years ago

อาการวิงเวียนเฉียบพลัน

อาการวิงเวียนศีรษะ เวียนหัวเฉียบพลัน เคสผู้ป่วยวิงเวียนนี้ อายุรแพทย์จะต้องได้เจอทุกวัน อาจจะวันละหลายๆครั้ง หลากหลายอาการ คนไข้จะบอกเล่า ตั้งแต่ อาการต่างๆ เช่น อยู่ๆก็เหมือนบ้านหมุน ทรงตัวไม่ได้ อันนี้อาการมาก เวียนเซ เป็นตอนขยับศีรษะ…

2 years ago

April 2023 Update for ICD 10-CM

April 2023 updates to the International Classification of Diseases, 10th Revision, Clinical Modification (ICD-10-CM) system…

2 years ago