อหิวาตกโรค cholera

อหิวาตกโรคcholeraคืออะไร

Share

อหิวาตกโรคcholeraคืออะไร?

อหิวาตกโรค cholera คือการติดเชื้อในลำไส้และมีสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรีย ที่มีชื่อว่า Vibrio cholerae

อหิวาห์ตกโรค (cholera) เป็นการติดเชื้อในลำไส้และมีสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรีย ที่มีชื่อว่า Vibrio cholerae serogroups 0-1 หรือ O-139 ซึ่งทั้ง 2 serogroups นี้มี การสร้างสารพิษ (toxin) ทำให้มีความรุนแรงและการระบาดของโรคอหิวาตกโรคมาก กว่า serogroups อื่นๆ
โดย Vibrio cholerae 0-1 มี 2 biotypes ได้แก่ classical และ EI Tor และแต่ละ biotypes แบ่งได้อีกเป็น 2 serotypes ได้แก่ Inaba และ Ogawa อหิวาตกโรคที่มีรายงานส่วนใหญ่เกิดจาก biotypes EI Tor

อย่างไรก็ตามทั้ง2 biotypes ทำให้เกิดอาการและอาการแสดงของโรคไม่แตกต่างกัน Vibrio cholerae serogroups 0-1 และ 0-139 พบได้ตามแหล่งน้ำกร่อยหรือน้ำเค็มและมักจะเกี่ยวข้องกับแพลงก์ตอน สัตว์น้ำและพืชน้ำ การติดเชื้ออหิวาตกโรคมักเกิดจากการดื่ม เที่ยวตามแหล่งน้ำธรรมชาติซึ่งมีการปนเปื้อนอุจจาระของผู้ที่ติดเชื้อ อหิวาตกโรค Vibrio นอกจากนี้ยังสามารถติดต่อได้จากการรับประทานสัตว์หรือพืชน้ำจากแหล่งน้ำที่มีการ ปนเปื้อนเชื้อ cholera การติดต่อจากมนุษย์สู่มนุษย์อาจเกิดขึ้นได้ในช่วงที่มีการ ระบาดของโรคอย่างหนักแต่พบได้ไม่บ่อยนัก

ในสมัยก่อนพบว่าการระบาดของอหิวาตกโรคแต่ละครั้งมีการตายเป็นร้อยเป็นพัน จึงมีชื่อที่ชาวบ้านเรียกกันมาแต่โบราณกาลว่า “โรคห่า” ในปัจจุบันโรคนี้ได้ลดความ รุนแรงลง และพบระบาดน้อยลง โรคนี้มักพบในช่วงฤดูร้อน และพบในหมู่คนที่การ สุขาภิบาลยังไม่ดี อหิวาตกโรคเป็นโรคประจำถิ่นในกว่าห้าสิบประเทศทั่วโลก Vibrio cholerae serogroup 0-1 ส่วนมากพบเป็นเชื้อประจำถิ่นอยู่ในทวีปแอฟริกา เอเชีย ใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในขณะที่ Vibrio cholerae serogroup O-139 พบ ได้บางประเทศในทวีปเอเชีย ในประเทศเฮติพบมีการระบาดของอหิวาตกโรคในปี พ.ศ. 2553 หลังจากเกิดแผ่นดินไหวครั้งรุนแรง มีผลทำให้เชื้ออหิวาตกโรคกลายเป็นเชื้อ ประจำถิ่นในประเทศเฮติและแพร่ระบาดไปยังประเทศใกล้เคียงในแถบอเมริกากลาง และทะเลแคริบเบียน เช่น สาธารณรัฐโดมินิกันและประเทศคิวบา เป็นต้น  เคยมี รายงานการติดเชื้ออหิวาตกโรคในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยว ที่เดินทางกลับมาจากประเทศเฮติ 

อหิวาตกโรค cholera

ผู้ที่ติดเชื้อจะมีอาการถ่ายเหลวเป็นน้ำปริมาณมากโดยอุจจาระมีลักษณะคล้าย น้ำชาวข้าว ไม่มีอาการไข้แต่มักมีคลื่นไส้อาเจียน ผู้ป่วยอหิวาตกโรคมักจะมีอาการขาด น้ำมาก หากให้การรักษาไม่ทันจะทำให้เกิดอาการช็อกและเสียชีวิตอย่างรวดเร็วภายใน เวลาไม่กี่ชั่วโมง อย่างไรก็ดี อัตราการเสียชีวิตจากอหิวาตกโรคยังต่ำมาก คือ น้อยกว่า ร้อยละ 1


หลักการสำคัญในการรักษา คือ การให้สารน้ำแก่ผู้ป่วยอย่างทันท่วงที ไม่ว่า จะโดยการรับประทานหรือให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำหากมีอาการขาดน้ำอย่างรุนแรง หรือมีสมดุลเกลือแร่ที่ผิดปกติ ยาปฏิชีวนะอาจพิจารณาให้ในรายที่มีอาการปานกลาง ถึงรุนแรงซึ่งจะช่วยร่นระยะเวลาของการเจ็บป่วยได้ ยาปฏิชีวนะที่สามารถใช้ได้ ได้แก่ doxycycline, tetracycline, erythromycin, azithromycin หรือ ciprofloxacin ทั้งนี้ขึ้นกับผลการเพาะเชื้อด้วย

การป้องกันการติดเชื้ออหิวาตกโรคสำหรับนักท่องเที่ยวและนักเดินทาง มีข้อ ควรปฏิบัติดังนี้

  • รับประทานเฉพาะอาหารที่ปรุงสุกเท่านั้น โดยเฉพาะอาหารทะเล หลีกเลี่ยง การรับประทานผักสดหรือสลัดผัก
  • ดื่มน้ำที่สะอาดหรือต้มสุก หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำหรือรับประทานน้ำแข็งที่ผลิต จากแหล่งน้ำธรรมชาติ
  • ล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำสะอาดและสบู่ทุกครั้งก่อนรับประทานอาหารและหลัง ออกจากห้องน้ำ

Tags: No tags

Comments are closed.