โรคเบาหวานเป็นโรคทางเมตาบอลิค ที่มีความซับซ้อน หลากหลาย จนกระทั่งปัจจุบันก็ยังมีการค้นพบ โรคเบาหวานที่มีความแปลกๆอยู่เรื่อย วันนี้จะเสนอเรื่องของเบาหวานที่มีความแปลกจากชนิดที่เราคุ้นเคยกันครับ
Latent Autoimmune Diabetes of the adult (LADA)
จัดอยู่ในกลุ่ม ออโต้อิมมูน พบได้ประมาณ 4-14 ของประชากร ที่เป็น type2 DM พบมากในยุโรป การวินิจฉัย คือ คนที่มีเบาหวานในอายุมากกว่า 18 ปี แต่เป็นเบาหวานแบบพึ่งอินสุลิน (type 1) รวมถึงตรวจพบ diabetes associate antibodies (DAA) นอกจากนี้ คนเป็นเบาหวานแบบนี้มักพบว่าไม่อ้วนมาก มักมีแนวโน้มที่จะต้องรักษาด้วยอินสุลินเร็วกว่า type2 DM
ลักษณะที่ใช้แยกโรคออกจาก type 2 DM คือการตรวจพบ islet cells antibodies , GAD antibodies ,(ant- GAD), ZnT8 , และ IA-2 ครับ
การวินิจฉัย LADA
Fibro calculous Pancreatic Diabetes (FCPD)
พบในเขตร้อน เขตอินเดีย ลักษณะตามชื่อโรคคือพบว่ามีผังผืด และหินปูนเกาะ บริเวณตับอ่อน ผู้ป่วยมักผอม เจอในคนยากจนเศรษฐานะไม่ดี มีลักษณะขาดอาหาร มีลักษณะ 3 ประการที่ใช้แยกโรคคือ
1. ปวดท้อง จุก ปวดรุนแรงที่ลิ้นปี่เป็นระยะๆ อาจมีร้าวไปหลัง อาการจะดีขึ้นหรือหายไปเมื่อเวลาผ่านไป หรือเมื่อเป็นเบาหวานไปแล้ว
2. อุจจาระมีคล้ายไขมัน เพราะตับอ่อนทำงานบกพร่อง (chronic pancreatitis)
3. เป็นเบาหวาน
การรักษา โดยใช้ อินสุลินเช่นกัน
ปัจจุบัน เราค้นพบว่า มียีนในการก่อให้เกิดโรค FCPD นี้คือ Serine Protease Inhibitor Kagal type 1 (SPNK1) และยีนอื่นๆบางตัว เช่น CTSB , MTHFR เป็นต้น นอกจากนี้ พยาธิกำเนิดของมันยังพบร่วมกับการขาดแร่ธาตุ trace elementบางตัว หรือ oxidative stress
ส่วนสมมุติฐานในอดีต เช่นการขาดอาหาร มี protein – energy malnutrition มีข้อค้าน คือพบได้ทุกเศรษฐานะแล้วในปัจจุบัน จึงเชื่อว่า ภาวะขาดอาหารเกิดจากตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง (chronic pancreatitis )มากกว่า
แต่ก่อนเชื่อว่า กินมันสำปะหลังมากๆ จะเป็นเบาหวานนั้น มีการค้นพบใหม่ๆ คือ การบริโภค Cassava(Manioc esculenta )=มันสำปะหลังนั้น เราพบว่า ในผู้ป่วยที่มีภาวะทุพโภชนาการ ทำให้ขาดกรดอมิโนที่มีซัลเฟอร์อยู่(sulphur containing aminoacid) ทำให้ไม่สามารถกำจัดไซยาไนด์ ซึ่งเป็นผลผลิตของ linamarin , lotuastralin ที่เป็นไกลโคไซด์ ในมันสำปะหลัง ก่อให้เกิดไซยาไนด์คั่ง และตับอ่อนอักเสบตามมา แต่เราพบว่า ถ้าไม่ขาดอมิโนแอซิดดังกล่าว กินมันสำปะหลังอย่างไรก็ไม่เป็นเบาหวาน สมมุติฐานนี้ปัจจุบันเลยไม่เชื่อกันแล้วครับ คือมันจะเป็นเฉพาะคนที่บกพร่องในการสลายไซยาไนด์ คนปกติ ไม่มีปัญหา
อ้างอิง
ฝุ่นpm2.5กับการออกกำลังกาย เชื่อว่าช่วงหลังๆ ในหน้าหนาว หลายคนกำลังประสบกับปัญหา ภัยจากฝุ่นควันจิ๋ว PM 2.5 ซึ่งเป็นฝุ่นที่มีขนาดเล็ก และสามารถทำอันตรายต่อสุขภาพได้ หลายท่านที่เป็นนักกีฬา หรือต้องออกกำลังกายกลางแจ้งคงกังวลว่า เราจะสามารถออกกำลังได้ไหม ในสถานการณ์อย่างไรบ้าง ต้องใช้หน้ากากไหม และมีหน้ากากป้องกันฝุ่น…
10 อันดับโรคมะเร็งที่พบบ่อยในประเทศไทย 1. มะเร็งตับและท่อน้ำดี (Liver and Bile Duct Cancer) เป็นมะเร็งที่พบบ่อยที่สุดในประเทศไทย และมีอัตราการเสียชีวิตสูงที่สุด (20.3%) 2.มะเร็งปอด (Lung Cancer)…
มะเร็งในอายุน้อยลง ผลวิจัยระบุ โรคมะเร็งที่เกิดในวัยหนุ่มสาว — รวมถึงมะเร็งเต้านม ลำไส้ใหญ่ หลอดอาหาร ไต ตับ และตับอ่อน — เพิ่มขึ้นอย่างมากทั่วโลก โดยแนวโน้มนี้เริ่มขึ้นประมาณปี 1990 ไม่ต้องแปลกใจถ้าจะมีข่าวมะเร็งในคนอายุน้อยลงเรื่อยๆ…
ปอดบวมจากไข้หวัดใหญ่(ปอดอักเสบจากไข้หวัดใหญ่ ) Influenza Pneumonia เป็นภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรงจากการติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ และการรักษาจะเกี่ยวข้องกับทั้งการใช้ยาต้านไวรัสและการดูแลแบบประคับประคอง อาการของปอดบวมจากไข้หวัดใหญ่ อาการระบบทางเดินหายใจ :ไอ (มักมีเสมหะ อาจใส เหลือง เขียว หรือแม้กระทั่งเป็นเลือด)หายใจสั้นหรือหายใจลำบากเจ็บหน้าอก ซึ่งอาจแย่ลงเมื่อหายใจลึกหรือไออาการในระบบต่าง…
Influenza A and B ICD 10 Influenza of any strains Use same ICD10 Influenza with…
ไข้หวัดใหญ่(Influenza, Flu)อัพเดตข้อมูลจาก Thaihealth.net กรมควบคุมโรค และสมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย อัพเดต 1/2025 ไข้หวัดใหญ่ บทนำ โรคไข้หวัดใหญ่ หมายถึง โรคระบบทางเดินหายใจที่เกิดจากไวรัส influenza เฉียบพลัน ซึ่งถ้าเป็นโรคไข้หวัดใหญ่…