โรคภูมิแพ้ทางผิวหนัง (Atopic dermatitis)

โรคภูมิแพ้ทางผิวหนังเป็นอย่างไร
โรคภูมิแพ้ทางผิวหนังเป็นโรคผิวหนังอักเสบที่พบบ่อยที่สุดในเด็ก ลักษณะที่สำคัญของโรค คือ ผิวหนังของเด็กจะแห้งและมีอาการคันมาก นอกจากนี้ผิวหนังจะไวต่อสารำายนอกที่มาสัมผัส ทำให้มีผื่นขึ้นเป็นๆหายๆ

เด็กในแต่ละอายุ อาการจะต่างกันอย่างไร
โรคนี้แบ่งได้เป็น 3 ช่วงคือ

วัยทารก
พบตั้งแต่เด็กอายุ 3 เดือนขึ้นไป ผื่นจะขึ้นบริเวณแก้ม ผื่นด้านนอกของแขน ขา ข้อมือและข้อเท้าโดยลักษณะผื่นจะเป็นตุ่มแดงคันหรือตุ่มน้ำใสเป็นน้ำเหลือง อาการของโรคจะดีขึ้นเมื่ออายุ 2-3 ปี

วัยเด็กโต
ผื่นจะขึ้นที่คอ ข้อพับของแขนและขาทั้ง 2 ข้าง ผู้ป่วยจะคันมาก และเกาจนเป็นผื่นหนา

วัยผู้ใหญ่
ผื่นจะเหมือนในเด็กโต แต่อาจมีผื่นที่ข้อมือและเท้าร่วมด้วย

โรคนี้เกิดจากสาเหตุอะไร ติดต่อได้หรือไม่
โรคนี้สาเหตุยังไม่ทราบแน่นอน แต่พบว่ากรรมพันธุ์มีส่วนเกี่ยวข้อง เนื่องจากพบว่าเด็กที่เป็นโรคนี้จะมีพิดามารดาหรือญาติเป็นโรคภูมิแพ้ เช่น หอบหือ โรคหวัดเรื้อรังร่วมด้วย นอกจากนี้ยังพบว่า อาหารบางอย่างหรือไรฝุ่น จะเป็นตัวกระตุ้นให้ผื่นเลวลง

โรคนี้ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ จึงไม่ติดต่อไปยังผู้ใกล้ชิด

ปัจจัยที่ทำให้โรคกำเริบขึ้นมีอะไร
1. การติดเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา
2. สารระคายเคืองต่างๆ เช่น ผ้าเนื้อหนาหรือสากผ้าไนล่อน สบู่และแป้งบางชนิด ผงซักฟอก เป็นต้น
3. อากาศร้อนหรือหนาวเกินไป
4. อากาศเย็นบางรายจะมีผื่นกำเริบขึ้น เมื่อรับประทานนม ไข่ อาหารทอด ถั่ว เป็นต้น
5. การแพ้สารต่างๆในอากาศ เช่น ไรฝุ่น
6. การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ เช่น ความเครียด ความกังวล จะทำให้อาการคันเป็นมากขึ้น
จะป้องกันและรักษาอย่างไร
1. หลีกเลียงปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้อาการกำเริบโดยทารกควรดื่นนมมารดา เพื่อหลีกเลี่ยงการแพ้นมวัว เลือกใช้ผ้าเนื้อนุ่ม เช่น ผ้าฝ้าย ผ้าแพร ไม่ควรใส่เสื้อผ้าขนสัตว์หรือผ้าขนหนู ผงซักฟอกควรจะล้างออกให้หมด
– หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่ทำให้เหงื่อออกมาก เช่น กีฬากลางแจ้ง
– เลือกใช้สบู่อ่อนๆ หรือสบู่ที่มีคริมผสม ไม่ควรใช้สบู่ฟอกบ่อยเกิดไป
2. ป้องกันผิวแห้ง โดยใช้สารเคลือบผิว เช่น โลชั่น ครีมบำรุงผิวชนิดอ่อน ทาหลังอาบน้ำทันทีและไม่ควรอาบน้ำบ่อยเกินไป หรืไม่ควรใช้น้ำที่ร้อนเกินไป เพราะจะทำให้ผิวแห้งยิ่งขึ้น
3. ใช้ครีมจำพวกสเตียรอยด์ ทาเฉพาะผื่นที่มีอาการเห่อและอักเสบ เมื่ออาการทุเลาแล้วควรจะหยุด ไม่ควรใช้ยานี้ต่อเนื่องเป็นเวลานาน และไม่ควรซื้อยาประเภทนี้ใช้เอง ควรอยู่ในการดูแลของแพทย์เท่านั้นเพราะการใช้ยาอย่างไม่ถูกต้องอาจทำให้ผิวหนังบางและมีผลข้างเคียงอื่นตามมา
4. รับประทานยาแก้แพ้ เพื่อลดอาการคัน เพราะการเกาจะทำให้ผื่นเป็นมากขึ้น ข้อควรระวังในการรับประทานยาแก้แพ้นี้อาจทำให้ง่วนนอนได้
5. ในรายที่มีการติดเชื้อแทรกซ้อน เช่นมีน้ำเหลืองควรใช้ผ้าก๊อสสะอาดชุบน้ำยาประคบแผลครั้งละประมาณ 15 นาที วันละ 3-4 ครั้งจนกว่าผื่นจะแห้ง และอาจต้องรับประทานยาปฎิชีวนะร่วมด้วย
โรคนี้จะหายได้หรือไม่

โรคนี้อาการของโรคจะดีขึ้นและเป็นๆหายๆได้ แต่ประมาณร้อยละ 50 ของผู้ป่วย อาการจะดีขึ้นเมื่ออายุ 10 ปี คุณพ่อ คุณแม่ ไม่ควรกังวลและควรปฏิบัติตามแพทย์สั้ง หากมีปัญหาควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้ง

CK

2535 แพทยศาสตร์บัณฑิต เกียรตินิยมอันดับ1 มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2539 วุฒิบัตร อายุรศาสตร์

Recent Posts

วัคซีนป้องกันไข้หวัดนก(2550)

10 อันดับความก้าวหน้าหรือ medical breakthrough ทางการแพทย์ ประจำปี 2550 เรื่องที่ 3 วัคซีนไข้หวัดนก ตัวแรก ออกแล้ว ในปี 2007 ความกังวลว่า…

8 years ago

ขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ ทำไม อย่างไร เมื่อไร

หลายคนคงเคยมีคำถาม จะขลิบหนังหุ้มปลาย อย่างไร เมื่อไร และทำไม โดยเฉพาะผู้เป็นพ่อแม่ที่มีลูกชาย อาจจะเคยมีแพทย์แนะนำให้ ขลิบหนังหุ้มปลายตั้งแต่เด็กยังเล็กๆเลย ซึ่งแน่นอน ว่าต้องเกิดความกังวลในใจคุณแน่ๆ (more…)

8 years ago

Health tip ป้องกันการเกิดกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

ข้อมูลจาก health day และศูนย์ข้อมูลโรคไตของสหรัฐ ได้ให้คำแนะนำสำหรับป้องกันการติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะ เช่นกระเพาะปัสสาวะและไต ดังนี้ ดื่มน้ำวันละมากๆ ห้ามกลั้นปัสสาวะนานๆ อาบน้ำโดยใช้การตักอาบหรือฝักบัว ดีกว่าใช้อ่างอาบน้ำ (more…)

8 years ago

สมาธิ จุดเริ่มต้นในการพัฒนาการเรียนของเด็ก

การปลูกฝังสมาธิในเด็ก เป็นการปูพื้นความสามารถในการเรียนรู้ให้เด็ก ผมมีบทความดีๆจาก ศูนย์จินตคณิต http://www.imaxbrain.com พัทยา ที่นำมาจากการสัมนาเรื่อง สมาธิ คือจุดเริ่มต้นของการเรียนรู้ที่ดี มาฝากครับ (more…)

8 years ago

ไข้หวัด

ไข้หวัด เกิดจากเชื้อไวรัสหวัด เด็กเล็ก ๆ อายุต่ำกว่า 6 เดือน เป็นหวัดน้อยกว่าเด็กโต ทั้งนี้เพราะ เด็กทารกช่วงวัยนั้น ได้รับภูมิต้านทาน เชื้อโรคหวัด ผ่านทางรก และเลือดของแม่ ตั้งแต่อยู่ในครรภ์…

8 years ago

เหา Pediculosis capitis

เหา (Pediculosis capitis) เหาเกิดจากเชื้อปาราสิต ชื่อว่า "Pediculus humanus" ซึ่งอาศัยอยู่บนหนังศีรษะ เส้นผม ขน ปาราสิตนี้จะคอยดูดเลือดกินเป็นอาหาร และวางไข่บนเส้นผม โดยหลั่งสารไคติน (chitin) หุ้มปลายหนึ่งของไข่…

8 years ago