bp

ความดันโลหิตสูง

โรคความดันโลหิตสูง Hypertension (อัพเดต 2024) ถือเป็นโรคเรื้อรังโรคหนึ่งที่มีประวัติยาวนาน คู่กับการแพทย์ มีการปรับเปลี่ยนแนวทางปฏิบัติมาเรื่อยๆล่าสุดคือ 2024 หรือ 2567

ในปี 2024 เราได้อัพเดตคำแนะนำเกี่ยวกับภาวะความดันโลหิตสูง ตามไกด์ไลน์ของ ESC (ESH European Society of Hypertension ) และ AHA รวมถึงสมาคมโรคความดันโลหิตสูงของไทย แนวทางปฏิบัตใหม่นี้ จะเน้นเรื่องลดความดันลงให้อยู่ในเกณท์ที่ปกติที่สุดคือ 120-129

คำนำ โรคความดันโลหิตสูง (hypertension)
  • นิยามของความดันโลหิตสูงคือความดันขณะพัก อยู่ที่ ค่าตัวบน (systolic blood pressure) มากกว่าหรือเท่ากับ 140 มิลลิเมตรปรอท หรือ ค่าตัวล่าง (diastolic blood pressure )มากกว่า หรือเท่ากับ 90 มิลลิเมตรปรอท
  • อย่างไรก็ตาม มีนิยามเพิ่มของ “Elevated BP” คือความดันโลหิตที่ขึ้นผิดปกติ คือค่าตัวบน (systolic)ช่วง 120-139 และค่าตัวล่าง (diastolic) ช่วง 70-89
  • Elevated BP นั้น มีผลการวิจัยหลายชิ้น แสดงว่า ไม่ใช่เฉพาะค่าของความดันที่สูงเท่านั้น ที่จะทำให้เกิดความเสี่ยง “แต่ความดันขึ้นผิดปกติเล็กน้อย แต่เป็นเวลายาวนาน” ก็เป็นความเสี่ยง
  • ดังนั้น ในคำแนะนำปี 2024 จึงเน้นในเรื่องการคุมความดันโลหิตไม่ใช่เฉพาะให้ลดลงมาเท่านั้น แต่พยายามลดลงมาให้อยู่ในเกณฑปกติที่สุดคือช่วง 120-129 (systolic) อย่างไรก็ตามถ้าทำไม่ได้ หรือในคนไข้ที่อายุมากกว่า 85 ที่เสี่ยงต่อความดันต่ำเกินไป ก็พยายามลดความดันให้ใกล้เคียงค่านี้ที่สุด
  • ในคำแนะนำอัพเดตนี้ เน้นว่า การรักษาหรือยาที่จะแนะนำ ไม่เพียงต้องช่วยลดความดันเท่านั้น แต่ต้องลดความเสี่ยงต่อหลอดเลือดและหัวใจด้วย

ชนิดของความดันโลหิตสูง แบ่งเป็นสองแบบคือ Essential Hypertension เป็นแบบหลัก(90%) คือความดันโลหิตสูงทั่วไปที่หาสาเหตุไม่เจอ กับ Secondary Hypertension คือมีสาเหตุให้เกิดความดัน (10%)

elevated blood pressure and hypertension

Office BP (mmHg)aHome BP (mmHg)Daytime ABPM (mmHg)24 h ABPM (mmHg)Night-time ABPM (mmHg)
Reference
Non-elevated BP<120/70<120/70<120/70<115/65<110/60
Elevated BP120/70–<140/90120/70–<135/85120/70–<135/85115/65–<130/80110/60–<120/70
Hypertension≥140/90≥135/85≥135/85≥130/80≥120/70

ABPM, ambulatory blood pressure monitoring; BP, blood pressure.

bp measure

An average HBPM of ≥135/85 mmHg (equivalent to an office BP of ≥140/90 mmHg) should be used to diagnose hypertension and an average systolic BP of 120–134 mmHg or diastolic BP of 70–84 mmHg should be used to diagnose elevated BP. 

การวัดความดันที่บ้าน HBPM

ควรใช้ค่า HBPM เฉลี่ย ≥135/85 mmHg (เทียบเท่ากับความดันโลหิตปกติที่ ≥140/90 mmHg) เพื่อวินิจฉัยความดันโลหิตสูง และควรใช้ค่าความดันโลหิตตัวบน (systolic)เฉลี่ย 120–134 mmHg หรือความดันโลหิตตัวล่าง (diuastolic)70–84 mmHg วินิจฉัยโรคความดันโลหิตสูง

พยาธิสรีระวิทยาและต้นเหตุของความดันโลหิตสูง

ความดันโลหิตสูงแบบหาสาเหตุไม่พบนั้น พยาธิสรีรวิทยา พบว่าเกี่ยวข้องกับปัจจัยหลายอย่างทั้งร่างกาย เช่น พันธุกรรม ฮอร์โมน ไต ตับ หัวใจ ระบบสมองและประสาท สิ่งแวดล้อม เช่นอาหาร ความเค็ม หลายส่วนอาจมีเรื่องอิมมูนหรือภูมิคุ้มกันร่วม การควบคุมความดันเสียไปจากสาเหตุเหล่านี้ ทำให้ความดันขึ้น

ht etio
ผลกระทบของความดันโลหิตสูง

ระบบหลอดเลือดเปรียบเสมือนน้ำในท่อน้ำ หลอดเลือดคือท่อ และนำเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ขนาดของหลอดเลือดก็จะเล็กลดหลั่นไปจนถึงอวัยวะต่างๆ ความดันเลือดเปรียบเสมือนความดันน้ำ เมื่อใดที่ความดันสูงในระยะเวลานานๆทำให้หลอดเลือดรับแรงดัน ทำให้เกิดหลอดเลือดแข็ง ตีบ หรือวัยวะที่รับเลือดเกิดการเสียหาย เช่นหลอดเลือดในตา ในไต หลอดเลือดโคโรน่ารี่ หลอดเลือดสมอง เป็นต้น

HT effect

ตา : เกิดเส้นเลือดที่ตาตีบ หรือเกิด hypertensive retinopathy

สมอง : สมองฝ่อ (brain atrophy) เลือดออกเล็กๆ (silent microbleed) หรือเส้นเลือดใหญ่แตก (CVA bleeding)(cerebral hemorrhage)เส้นเลือดสมองตีบและอัมพาต (cerebral infarct) สมองเสื่อม (cognitive impairment) (vascular dementia)

เส้นเลือดแดงใหญ่ (ที่ช่องท้องหรืออก) : เส้นเลือดแดงโป่งพอง

เส้นเลือดแดงขนาดปานกลางที่อวัยวะต่างๆ : เส้นเลือดแข็งและตีบ (atherosclerosis) มีหินปูนเกาะผนัง

เส้นเลือดฝอยและการควบคุมการขยายหดตัวเส้นเลือดไม่ทำงาน : อวัยวะเพศไม่แข็งตัว ,เส้นเลือดหดขยายไม่ปกติ

ไต: ไตเสื่อม เส้นเลือดตีบที่ไต ไตรั่ว ไตวาย

หัวใจ: หัวใจโต หัวใจขาดเลือด หัวใจวาย

โพสต์หน้าเราจะมาว่ากันถึงวิธีการรักษาและยารักษากันครับ

One Response