ภาวะการเสียชีวิตอย่างเฉียบพลันในคนอายุน้อย
เมื่อสองสามวันได้ข่าวการเสียชีวิต ของน้องนักปั่น อีกราย แต่คราวนี้ แตกต่างกันออกไป มีหลายๆคนก็เลยบอกให้ผมเล่าให้ฟัง ถึงภาคต่อของคราวที่แล้ว ว่าด้วยเรื่องการออกกำลังและเสียชีวิต … ในภาคนี้ จะพูดถึงภาพรวมนะครับ
ผมไม่ทราบรายละเอียดเท่าไร แต่เท่าที่ได้ข่าวคือหลับและเสียชีวิตไปเลยในอายุน้อยกว่า 40 ปี ซึ่งทางการแพทย์จะเรียกว่า sudden unexplained death syndrome (SUDS)หรือ sudden unexplained nocturnal death …


ทีนี้ การตายแบบปัจจุบันทันด่วนในคนอายุน้อย (<40ปี) ควรจะแยกเป็นกรณีสาเหตุต่างๆ เช่น
– เกี่ยวข้องกับหัวใจแบบสามารถตรวจเจอจากการผ่าศพ ในคนอายุมาก เส้นเลือดเลี้ยงหัวใจ(โคโรนารี่)ที่ตีบตันเป็นสาเหตุหลัก แต่ถ้าอายุน้อย กว่า 40 หรือ 30 นี่ เท่าที่มีการตรวจศพ ก็จะพบหลายๆสาเหตุ เช่น HCM (ผนังหัวใจหนา)ที่กล่าวถึงเมื่อครั้งที่แล้วครับ อีกโรคคือ ARVC arrythmogenic right ventricular cardiomyopathy = หัวใจห้องล่างขวามีผังผืดและแผลเป็นส่วกระแสรบกวนการทำงานของหัวใจ อีกโรคคือภาวะหัวใจโต(แบบบีบตัวไม่ดี)Dilated cardiomyopathy ซึ่งอาจไม่มีอาการมาก่อน โรคลิ้นหัวใจ ซึ่งมีหลายโรคทีเดียว ทั้งเกี่ยวข้องกับโรคอื่นๆด้วย
– เกี่ยวกับโรคอื่นๆที่ไม่เกี่ยวข้อง เช่น แพ้ยาบางชนิด ภาวะลิ่มเลือดอุดตัน เป็นต้น
– ภาวะที่ตรวจศพไม่เจออะไร แต่เชื่อว่าเป็นจากหัวใจเต้นผิดปกติ เช่นไหลตาย คือ SUDS นั่นเอง
สมัยก่อนตอนผมเรียนขอนแก่น ตั้งแต่สมัยยี่สิบกว่าปีก่อน เจ้าโรค SUDS นี่ดังมาก ในชื่อของโรค “ไหลตาย” …ครับ เจ้าโรคนี้มีมานานมาก เป็นข่าวดังเมื่อมีคนงานไทยไปเสียชีวิตหลายๆคนเข้า เลยมีการศึกษาวิจัยกันไปเยอะ โดยเฉพาะ ทางเหนือ และตะวันออกเฉียงเหนือ อาจารย์ผมและตัวผมเองเคยมีส่วนในการวิจัย และพบว่า คร่าวๆ นะครับ เกิดในผู้ชาย ส่วนใหญ่ อายุช่วง 20-50 มากสุดช่วง 40-48 มีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อมาก่อน ส่วนใหญ่จะเศรษฐานะไม่ค่อยดี ทำงานหนัก กินคาร์โบก่อนนอนเยอะฯลฯ อัตราการเกิด 25 คนต่อ 100000 คนต่อปี โรคคล้ายๆกันนี้เกิดในผู้อพยพชาวม้ง และชาวฟิลิปปินส์ ในชื่อถิ่นว่า Bangungot รวมถึงในคนญี่ปุ่นด้วย (ชื่อโรคผมจำไม่ได้ละ) ตอนแรกสมมุติฐานยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ แต่ล่าสุดในข้อมูลปัจจุบัน เอาคนไข้เหล่านี้มาตรวจสอบ เชื่อว่าเกี่ยวข้องกับพันธุกรรม เป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติกระแสไฟฟ้าหัวใจที่เรียกว่า Brugada syndrome ครับ เดี๋ยวผมมีเวลาจะว่ากันถึงโรคนี้อีกที
ps: น้องหมอบอกผมมา pokkuri syndrome ครับ ที่ญี่ปุ่น เดี๋ยวภาคต่อไปจะสนุกน่าติดตามกว่านี้อีกครับ

Share
CK

2535 แพทยศาสตร์บัณฑิต 2539 วุฒิบัตร อายุรศาสตร์ เป็นคนชอบขีดเขียน ชอบท้าทาย ทำงานเป็นหมอดีๆไม่ชอบ ชอบเป็น journalist /

Recent Posts

ฝุ่นpm2.5กับการออกกำลังกาย

ฝุ่นpm2.5กับการออกกำลังกาย เชื่อว่าช่วงหลังๆ ในหน้าหนาว หลายคนกำลังประสบกับปัญหา ภัยจากฝุ่นควันจิ๋ว PM 2.5 ซึ่งเป็นฝุ่นที่มีขนาดเล็ก และสามารถทำอันตรายต่อสุขภาพได้ หลายท่านที่เป็นนักกีฬา หรือต้องออกกำลังกายกลางแจ้งคงกังวลว่า เราจะสามารถออกกำลังได้ไหม ในสถานการณ์อย่างไรบ้าง ต้องใช้หน้ากากไหม และมีหน้ากากป้องกันฝุ่น…

1 week ago

top10มะเร็งที่พบมากในประเทศไทย

10 อันดับโรคมะเร็งที่พบบ่อยในประเทศไทย 1. มะเร็งตับและท่อน้ำดี (Liver and Bile Duct Cancer) เป็นมะเร็งที่พบบ่อยที่สุดในประเทศไทย และมีอัตราการเสียชีวิตสูงที่สุด (20.3%) 2.มะเร็งปอด (Lung Cancer)…

3 weeks ago

มะเร็งในอายุน้อยลง ผลวิจัยระบุ

มะเร็งในอายุน้อยลง ผลวิจัยระบุ โรคมะเร็งที่เกิดในวัยหนุ่มสาว — รวมถึงมะเร็งเต้านม ลำไส้ใหญ่ หลอดอาหาร ไต ตับ และตับอ่อน — เพิ่มขึ้นอย่างมากทั่วโลก โดยแนวโน้มนี้เริ่มขึ้นประมาณปี 1990 ไม่ต้องแปลกใจถ้าจะมีข่าวมะเร็งในคนอายุน้อยลงเรื่อยๆ…

3 weeks ago

ปอดบวมจากไข้หวัดใหญ่ (Influenza Pneumonia)

ปอดบวมจากไข้หวัดใหญ่(ปอดอักเสบจากไข้หวัดใหญ่ ) Influenza Pneumonia เป็นภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรงจากการติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ และการรักษาจะเกี่ยวข้องกับทั้งการใช้ยาต้านไวรัสและการดูแลแบบประคับประคอง อาการของปอดบวมจากไข้หวัดใหญ่ อาการระบบทางเดินหายใจ :ไอ (มักมีเสมหะ อาจใส เหลือง เขียว หรือแม้กระทั่งเป็นเลือด)หายใจสั้นหรือหายใจลำบากเจ็บหน้าอก ซึ่งอาจแย่ลงเมื่อหายใจลึกหรือไออาการในระบบต่าง…

3 weeks ago

Influenza A and B ICD 10

Influenza A and B ICD 10 Influenza of any strains Use same ICD10 Influenza with…

3 weeks ago

ไข้หวัดใหญ่(Influenza, Flu)

ไข้หวัดใหญ่(Influenza, Flu)อัพเดตข้อมูลจาก Thaihealth.net กรมควบคุมโรค และสมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย อัพเดต 1/2025 ไข้หวัดใหญ่ บทนำ โรคไข้หวัดใหญ่ หมายถึง โรคระบบทางเดินหายใจที่เกิดจากไวรัส influenza เฉียบพลัน ซึ่งถ้าเป็นโรคไข้หวัดใหญ่…

1 month ago