โรคอ้วน หรือ obesity บางท่านอาจงงว่าจะทำให้เกิดปัญหาโรคไตได้อย่างไร เพราะจากที่รู้แพทย์ก็มักบอกว่า จะทำให้เกิดโรคทางเมตาบอลิคอื่นๆเช่นเบาหวาน หัวใจ ความดันโลหิตสูงเสียมากกว่า วันนี้เรามีคำตอบครับ

ปัจจุบันคนไทยเป็นโรคอ้วนมากขึ้น เนื่องจากวิถีชีวิตเราเองที่เปลี่ยนไป เช่นการรับประทานอาหารที่มีแป้ง ไขมัน สูง กินอาหารแบบทอด ฟาสต์ฟู๊ดนั่นแหละตัวดี เนื่องจากการใช้ชีวิตแบบสังคมเมือง ไม่มีเวลาทำอาหารเอง การกินก็มีเวลาจำกัด สังคมแบบเดี่ยวๆ เป็นต้น

เมื่ออ้วน ก็จะมีปัญหาตามมามากมาย เช่น โรคข้อและกระดูกจากการรับน้ำหนัก เบาหวาน ไขมันสูง ความดันสูง แต่ที่น่าสนใจที่เรามาพูดวันนี้คือ เราพบว่าคนที่อ้วนหรือน้ำหนักเกิน จะมีปัญหาโรคไตมากกว่าคนปกติถึง 2-7 เท่าทีเดียว ทำไมถึงเป็นแบบนั้น

เราพบว่า สาเหตุแรกคือทางอ้อมครับ มันอ้อมมาจากการที่อ้วนทำให้เกิดเบาหวานและความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคไตอยู่แล้ว

อีกปัจจัยคือ คนที่อ้วน จะมีของเสียที่ต้องกรองผ่านไตจำนวนมากกว่าปกติ รวมทั้งไข่ขาวหรืออัลบูมินมีโอกาสรั่วผ่านไตได้มากขึ้น ไตเมื่อทำงานหนักนานๆก็จะเสื่อมเร็ว เป็นไตวายแบบเรื้อรังได้ นอกจากนั้น ความอ้วนยังทำให้ผู้ป่วยที่เกิดโรคไตเฉียบพลัน เป็นหนัก รักษายากกว่าคนปกติ มีโอกาสเสียชีวิตเพิ่ม และมีแนวโน้มกลายเป็นโรคไตเสื่อมถาวรมากขึ้นด้วยครับ

เอาละครับ ทีนี้เราจะวินิจฉัยโรคอ้วนอย่างไร ก่อนอื่น ปูพื้นก่อนว่า อ้วนมีสองชนิด คืออ้วนทั้งตัว กับอ้วนลงพุง

อ้วนทั้งตัว ไขมันเพิ่มทั้งตัว แน่นอน จะมีการอ้วนลงพุงร่วมด้วย วินิจฉัยโดยการวัดไขมัน โดยเครื่องมือ หรือใช้การคำนวนดัชนีมวลกาย ก็พอจะบอกคร่าวๆได้ ดัชนีมวลกาย Body Mass Index (BMI) คือการคำนวณโดยใช้นำหนักเป็นกิโลกรัม หารด้วยกำลังสงของส่วนสูงที่เป็นเมตรครับ โดยปกติถ้าเกิน 23-24.9 จะถือว่าท้วม เริ่มอ้วน ถ้า 25-29.9 จะเป็นอ้วนแท้จริง ถ้ามากกว่านี้จะถือว่าอ้วนมากครับ

อ้วนลงพุง ไขมันจับบริเวณพุงและอวัยวะในท้อง มีความเสี่ยงเช่นเดียวกัน วัดโดยวัดรอบพุงครับ ในชายที่เกิน90 ซม. และหญิงที่เกิน 80 ซม. จะถือว่าอ้วนครับ

กรุณาสละเวลาให้คะแนนบทความนี้ครับ
Note: There is a rating embedded within this post, please visit this post to rate it.

CK

2535 แพทยศาสตร์บัณฑิต 2539 วุฒิบัตร อายุรศาสตร์ เป็นคนชอบขีดเขียน ชอบท้าทาย ทำงานเป็นหมอดีๆไม่ชอบ ชอบเป็น journalist /

Recent Posts

ไข้เลือดออก 2566

อัพเดต อาการ การรักษา โรคไข้เลือดออก หรือ ไข้เดงกี่ (Dengue fever ) รวมถึง ไข้เลือดออกเดงกี่ Dengue Hemorrhagic fever เป็นโรคไข้จากไวรัส…

10 months ago

วัคซีนไข้หวัดใหญ่ 2023-2024

วัคซีนไข้หวัดใหญ่ 2023-2024 องค์การอนามัยโลก For trivalent vaccines for use in the 2023-2024 northern hemisphere influenza season,…

1 year ago

สุขภาพเด็ก -Thaihealth

Thaihealth เปิดโซนสุขภาพเด็ก แนะนำบทความจาก Thaihealth Old News ครับ (more…)

1 year ago

ฮีทสโตรก heatstroke ภาวะที่ต้องระวังในหน้าร้อน

ฮีทสโตรก heatstroke ภาวะที่ร่างกายมีอุณหภูมิสูงเกินปกติและควบคุมไม่ได้ โดยทั่วไปคือภาวะที่ร่างกายมีอุณหภูมิแกนกลาง (core temperature) มากกว่า 40 องศาเซลเซียส ก่อให้เกิดอันตรายต่ออวัยวะต่างๆอย่างเฉียบพลัน ถือเป็นภาวะที่ต้องรักษาเร่งด่วน (more…)

1 year ago

อาการวิงเวียนเฉียบพลัน

อาการวิงเวียนศีรษะ เวียนหัวเฉียบพลัน เคสผู้ป่วยวิงเวียนนี้ อายุรแพทย์จะต้องได้เจอทุกวัน อาจจะวันละหลายๆครั้ง หลากหลายอาการ คนไข้จะบอกเล่า ตั้งแต่ อาการต่างๆ เช่น อยู่ๆก็เหมือนบ้านหมุน ทรงตัวไม่ได้ อันนี้อาการมาก เวียนเซ เป็นตอนขยับศีรษะ…

1 year ago

April 2023 Update for ICD 10-CM

April 2023 updates to the International Classification of Diseases, 10th Revision, Clinical Modification (ICD-10-CM) system…

1 year ago