chikungunya

โรคไข้ปวดข้อ ชิคุนกุนยา Chikungunya มากับยุงลาย -update

สารบัญ

โรคไข้ปวดข้อ ชิคุนกุนยา Chikungunya มากับยุงลาย -update

0

โรคประจำถิ่นของไทยและของหลายแห่งในโลก ที่มียุงลายเป็นพาหะ เช่นเดียวกับไข้เลือดออก

Introduction

ชิคุณกุนยา เกิดจากเชื้อไวรัส ชิคุนกุนยา Chikungunya virus (CHIKV) เป็น RNA ไวรัส สายเดี่ยว อยู่ใน genus alphavirus , family Togaviridae  พบครั้งแรกที่ประเทศแทนซาเนีย เมื่อ ปี 1953 มี 3 genotype ตามพื้นที่ คือWest African genotype, East/Central/South African (ECSA) genotype, and Asian genotype

chikungunya

จากข้อมูลย้อนหลังไปเมื่อ 12 ปีที่ผ่านมา มีประชากรโลกป่วยมากกว่า 4 ล้านคน แม้ว่าจะมีคนป่วยมาก แต่องค์ความรู้เราลึกๆยังไม่ค่อยพัฒนามาก เท่าไข้เลือดออก ที่แพร่จากยุงลายเช่นกัน

จากการศึกษาทางไวรัสวิทยา พบไวรัสได้ตั้งแต่ก่อนอาการ 7 วัน และหลังมีอาการได้ถึง 13 วัน

ระบาดวิทยามีรายงานการระบาดของโรคชิคุนกูนยาครั้งแรกทางตอนใต้ของประเทศแทนซาเนียในทวีปแอฟริกา ในปี พ.ศ. 2495 การระบาดของโรคนี้ในแอฟริกาพบในระดับตํ่าๆ มาเป็นระยะเวลานาน จนในปี พ.ศ. 2542 – 2543 เกิดการระบาดใหญ่ในสาธารณรัฐคองโก และในปี พ.ศ. 2547 เกิดการระบาดใหญ่ในเขตคาบสมุทรอินเดีย ครั้งนั้นพบว่าเชื้อแพร่ระบาดในยุงลาย A. albopictus และมีการแพร่กระจายไปในประเทศในแถบยุโรปและสหรัฐอเมริกา และพบการระบาดเป็นแห่งๆ เช่น ทางตะวันออกเฉียงเหนือของอิตาลีต่อมาปี พ.ศ. 2550 ก็เกิดการระบาดในการ์บอน ปี พ.ศ. 2552 พบการระบาดในประเทศอินเดีย มาเลเซียและที่เกาะ Reunion ปัจจุบันพบโรคนี้ได้ในแอฟริกาเอเชีย และคาบสมุทรอินเดีย

ในประเทศไทยมีการตรวจพบครั้งแรกพร้อมกับที่มีไข้เลือดออกระบาด และเป็นครั้งแรกในทวีปเอเชีย เมื่อ พ.ศ. 2501 โดย Prof.W McDHamnon แยกเชื้อชิคุนกุนยา ได้จากผู้ป่วยโรงพยาบาลเด็ก กรุงเทพมหานคร ในประเทศไทยพบมีรายงานการสอบสวนโรคนี้มากกว่า 6 ครั้ง มีรายงานการระบาดที่จังหวัดปราจีนบุรี (พ.ศ. 2519) สุรินทร์ (พ.ศ. 2531)จังหวัดขอนแก่น (พ.ศ. 2534) เลย นครศรีธรรมราช พะเยา และ หนองคาย (พ.ศ. 2538) ต่อมามีการระบาดขึ้นอีกครั้งในปี พ.ศ. 2551 ทิ้งช่วงห่าง 13 ปี นับจากการระบาดในครั้งล่าสุดที่เกิดในปี พ.ศ. 2538 โดยเริ่มมีรายงานผู้ป่วยครั้งแรกในเดือนสิงหาคม ในปี พ.ศ. 2551 มีรายงานผู้ป่วยรวม 2,494 ราย จาก 8 จังหวัด ภาคใต้อัตราป่วย 3.95 ต่อประชากรแสนคน ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต จังหวัดที่มีอัตราป่วยสูงสุด ได้แก่ นราธิวาส ปัตตานีสงขลา และยะลา อัตราป่วยต่อแสนประชากรเท่ากับ 201.3, 58.59, 45.55 และ 13.74 ตามลำดับ และในปี พ.ศ. 2552 สำนักระบาดวิทยา ได้รับรายงานผู้ป่วยโรคชิคุนกุนยาจาก 58 จังหวัด จำนวน 52,057 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 82.03 ต่อประชากรแสนคน ไม่พบรายงานผู้ป่วยเสียชีวิตเช่นกัน

โรคไข้ปวดข้อยุงลาย ชิคุนกุนยา เป็นโรคที่มีรายชื่ออยู่ในรายงาน 506 มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 พบผู้ป่วยได้ตลอดทั้งปี แต่จะพบมากในฤดูฝน และพบได้ในทุกกลุ่มอายุ ซึ่งต่างจากไข้เลือดออกและหัดเยอรมันที่ส่วนมากพบในผู้อายุน้อยกว่า 15 ปี อาชีพที่พบสูงสุด คือ เกษตรกรรม จากการวิเคราะห์ข้อมูลที่สำรวจทางระบาดวิทยาและผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการพบว่า ความชุกของลูกนํ้ายุงลายที่สูงลักษณะบ้านเรือนที่อยู่รวมกันเป็นกลุ่มและใกล้ชิดกันรวมทั้งลักษณะสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม เช่น ในฤดูฝนและการคมนาคมที่สะดวก ฯลฯ จะทำให้การระบาดแพร่กระจายได้อย่างกว้างขวางและรวดเร็วยิ่งขึ้น นอกจากนั้นจากข้อมูลทางห้องปฏิบัติการโดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ยังพบการติดเชื้อเชื้อชิคุนกุนยาร่วมกับเชื้อไวรัสเดงกี (Dengue) และไวรัสไข้สมองอักเสบ (JEV) คิดเป็นร้อยละ 0.6 และ 0.2 ตามลำดับ

อาการและอาการแสดง

ตามชื่อโรค ไข้ปวดข้อจากยุงลาย หรือชิคุนกุนยา จะมีอาการปวดข้อหรือข้อบวมแดงอักเสบ เริ่มจากบริเวณข้อมือ ข้อเท้า และข้อต่อเล็กๆ ของแขนขา และมีอาการนานหลายวันหรือหลายเดือน ในผู้ป่วยส่วนใหญ่จะเริ่มมีอาการปวดข้อ หลังจากนั้น 1 – 10 วัน จะเกิดผื่นบริเวณลำตัวและแขนขา มักไม่คัน หรืออาจมีผื่นขึ้นที่กระพุ้งแก้มและเพดานปาก ผื่นนี้จะหายได้เองภายใน 7 – 10 วัน กลายเป็นขุยละเอียด พบอาการปวดกล้ามเนื้อเมื่อยล้า ไข้ และต่อมนํ้าเหลืองบริเวณคอโตได้บ่อย แต่พบไม่มากที่มีอาการชาหรือเจ็บบริเวณฝ่ามือฝ่าเท้า และอาการปวดข้อ, โรคไขข้อ ปวดกล้ามเนื้อ และ/หรือความเมื่อยล้าเกิดขึ้นในผู้ป่วยร้อยละ 10 – 50

ระยะฟักตัวของโรค

ประมาณ 3-12 วันแต่ที่พบบ่อยคือ 2-4 วัน

การวินิจฉัยโรค 

การทดสอบทางนํ้าเหลืองวิทยา พบ IgM ในตัวอย่างซีรั่มระยะเฉียบพลัน และพบไตเตอร์ในนํ้าเหลืองเพิ่มขึ้น ซึ่งจะแสดงผลต่อเชื้อ Alphavirusesระหว่างตัวอย่างระยะเฉียบพลัน และระยะพักฟื้น โดยทั่วไป IgM จะคงอยู่นานเป็นสัปดาห์ หรือเป็นเดือน การวินิจฉัยอาจทำได้โดยการตรวจ RT-PCR จากตัวอย่างเลือดโดยเฉพาะสำหรับโรคไข้ปวดข้อยุงลาย และอาจแยกเชื้อไวรัสจากเลือดผู้ป่วยระยะเริ่มมีอาการใน 2-3 วันแรกโดยเพาะเชื้อในลูกหนูไมซ์แรกเกิด ยุง หรือเซลล์เพาะเลี้ยง

การรักษา

ไม่มีการรักษาเฉพาะ ใช้การรักษาตามอาการ โดยเฉพาะอาการปวดข้อ กินยาพาราเซตามอล(Paracetamol) เพื่อลดไข้ (ห้ามกินยาแอสไพริน; Aspirinลดไข้เป็นอันขาด เนื่องจะทำให้เกิดเลือดออกได้ง่ายขึ้น)และเช็ดตัวด้วยนํ้าสะอาดเป็นระยะเพื่อช่วยลดไข้ รวมทั้งให้ผู้ป่วยดื่มนํ้า และนอนหลับพักผ่อนให้พอเพียง

การแพร่ติดต่อของโรค

เป็นโรคติดต่อนำโดยแมลง มียุงลายเป็นพาหะแพร่เชื้อ ได้แก่ ยุงลายสวน (Aedes albopictus) และยุงลายบ้าน (Aedes aegypti

 

มาตรการป้องกันโรค 

1. ป้องกันโอกาสที่จะเกิดโรค โดยกำจัดลูกนํ้ายุงลายทุก 7 วันและการป้องกันตนเองอย่าให้ยุงกัด
2. ค้นหาผู้ป่วยให้รวดเร็วและลดโอกาสการกระจายเชื้อจากผู้ป่วย โดยผู้ป่วยควรป้องกันตนเองจากการถูกยุงกัดในช่วง 5 วันหลังเริ่มป่วย
3. ควบคุมยุงตัวเต็มวัยที่มีเชื้อให้เร็วที่สุด หากพบการระบาด รวมทั้งกำจัดลูกนํ้าให้ครอบคลุมพื้นที่
4. เน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนโดยเฉพาะชุมชน
5. การประชาสัมพันธ์สู่ประชาชน สาระสำคัญ คือ การกำจัดลูกนํ้าทุก 7 วัน การป้องกันตนเองจากยุงกัดและผู้อยู่ในพื้นที่แพร่เชื้อหากป่วยให้รีบไปพบแพทย์
6. การใช้กฎหมาย โดยกระทรวงสาธารณสุขประกาศให้โรคไข้ปวดข้อยุงลายเป็น
6.1. โรคติดต่อที่ต้องแจ้งความลำดับที่ 19
6.2. เพิ่มเติมชื่อโรคติดต่อและอาการสำคัญลำดับที่ 49
6.3. รายงานทางระบาดวิทยาตามระบบรายงานโรคเร่งด่วน และรายงาน 506 (ลำดับที่ 84)
6.4. บทลงโทษ หากไม่แจ้งหรือไม่รายงานจะเป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย ต้องระวางโทษจำคุก ไม่เกิน 3 เดือนหรือปรับไม่เกิน 2,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 

มาตรการควบคุมการระบาด 

1. สำรวจและกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงในบ้านและบริเวณรอบบ้าน โดยใช้วิธีการต่าง ๆ ร่วมกันตามความเหมาะสม เช่น การปกปิดภาชนะเก็บนํ้าให้มิดชิด การหมั่นเปลี่ยนถ่ายนํ้า (เช่น ทุก ๆ 7 วัน)การใส่ปลากินลูกนํ้า การใส่สารเคมีฆ่าลูกนํ้า เป็นต้น
2. ฉีดพ่นยาฆ่าแมลงแบบพ่นหมอกควันหรือพ่นฝอยละออง เพื่อช่วยลดความชุกชุมของยุง โดยต้องดำเนินการควบคู่ไปกับการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกนํ้ายุงลาย
3. แนะนำประชาชนให้ป้องกันตนเองไม่ให้ถูกยุงกัด
4. แนะนำประชาชนในครัวเรือนที่มีผูป้ ว่ ยโรคชิคุนกุนยาในบ้าน ต้องให้ผู้ป่วยนอนในมุ้ง เพื่อป้องกันไม่ให้ยุงลายไปกัดและแพร่เชื้อได้ ซึ่งเชื้อโรคนี้จะแพร่ขณะที่มีไข้สูง (ในระยะ 2-3 วันหลังเริ่มป่วย)

เอกสารอ้างอิง:
1. พิไลพันธ์ พุธวัฒนะ. Chikungunya virus. ไวรัสก่อโรคไข้เลือดออก ใน พิไลพันธ์ พุธวัฒนะ, บรรณาธิการ. ไวรัสวิทยา, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ : อักษรสยามการพิมพ์, 2540; 21: 22-23.
2. สุจิตรา นิมมานนิตย์. Chikungunya infection. การประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องไข้ออกผื่น (Chikungunyainfection) กระทรวงสาธารณสุข นนทบุรี, 30 มกราคม2539.
3. Heymann DL., Editor, Control of CommunicableDiseases Manual 19th Edition, American Associationof Public Health, 2008.

Comments are closed.