สารบัญ
ไข้หวัดใหญ่(Influenza, Flu)อัพเดตข้อมูลจาก Thaihealth.net กรมควบคุมโรค และสมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย อัพเดต 1/2025
ไข้หวัดใหญ่ บทนำ
โรคไข้หวัดใหญ่ หมายถึง โรคระบบทางเดินหายใจที่เกิดจากไวรัส influenza เฉียบพลัน ซึ่งถ้าเป็นโรคไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์เอที่ติดต่อมาจากสัตว์ปีกก็เรียกว่า ไข้หวัดนก (avian influenza หรือที่นิยมเรียกกันก Bird flu)
สาเหตุของไข้หวัดใหญ่
เกิดจากเชื้อไวรัส influenza เป็น RNA ไวรัสที่จัดอยู่ในตระกูล (family) Orthomyxoviridae ไวรัสที่มีแอนติเจนที่ผิวที่สำคัญคือ hemoglutinin (H) ซึ่งมี 15 ชนิด และ neuraminidase (N) ซึ่งมี 9 ชนิด ไวรัส influenza แบ่งเป็น 3 ชนิด คือ A, B และ C โรคไข้หวัดในคน ส่วนใหญ่ (กว่าร้อยละ 70) เกิดจาก influenza A ซึ่งสายพันธุ์ A ทำให้ผู้ป่วยมีอาการได้ ชนิดย่อยของไวรัส A ที่พบว่าเป็นสาเหตุของการติดเชื้อในคนที่พบในปัจจุบันได้แก่ A(H1N1), A(H1N2), A(H3N2), A(H5N1) และ A(H9N2) มีอาการหลากหลายตั้งแต่น้อยไปจนถึงอาการรุนแรง และยังสามารถทำให้เกิดการระบาดใหญ่ ทั่วโลกได้ (pandemic) เนื่องจากไวรัสไข้หวัดใหญ่มีการเปลี่ยนแปลงตัวเองอยู่เรื่อยๆ ซึ่งถ้ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากที่เรียกว่า “Antigenic shift” เกิดขึ้นจากขบวนการ gene reassortant คือการที่ไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิด A 2 สายพันธุ์เกิดการติดเชื้อในเซลล์หนึ่งเซลล์ มีการนำจีโนมจากไวรัสสายพันธุ์หนึ่งไปใส่ในอนุภาคของไวรัสอีกสายพันธุ์หนึ่งในเซลล์เดียวกัน ทำให้เกิดอนุภาคของไวรัสชนิดใหม่ ซึ่งแอนติเจนเปลี่ยนไปจนทำให้ H หรือ N เปลี่ยนไปจนเกิดชนิดย่อย (subtype) ใหม่ จะทำให้เกิดสายพันธุ์ใหม่คือมีใหม่หรือ H+N ใหม่ อันเป็นผลให้เกิดการระบาดใหญ่ทั่วโลก สำหรับ influenza B เป็นสาเหตุของไข้หวัดใหญ่ที่พบรองลงมาจาก type A มักพบในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ ไวรัส influenza B มีการเปลี่ยนแปลงได้น้อยและช้าๆ เป็นแบบ “Antigenic drift” เป็นการเปลี่ยนแปลงแอนติเจนเพียงเล็กน้อย เนื่องจากเกิด RNA point mutation ทำให้ amino acid เพียงหนึ่งหรือมากกว่านั้นเปลี่ยนไป แต่ไม่มากพอที่จะทำให้ H หรือ N เปลี่ยนไป antigenic drift ทำให้เกิดการระบาดในวงไม่กว้างนักแต่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลง “shift” จึงไม่ทำให้เกิดระบาดใหญ่ๆ แบบชนิด influenza A ส่วน influenza C ไม่ค่อยมีความ สำคัญทางคลินิค และเป็นสาเหตุส่วนน้อยของไข้หวัดใหญ่ในคน (รวมทั้งในสัตว์ เช่น หมู) และผู้ที่เป็นโรคก็มีอาการน้อยเหมือนเป็นหวัดธรรมดา ดังนั้นในวัคซีนไข้หวัดใหญ่ จึงไม่มี influenza C อยู่
การระบุเชื้อไข้หวัดใหญ่
- บอก type ว่าเป็น type A, B หรือ C
- ชนิดของสัตว์ที่แยกเชื้อไวรัสได้ ถ้าแยกได้จากมนุษย์ไม่ต้องบอก
- สถานที่แยกเชื้อไวรัสได้ มักเป็นชื่อเมืองหรือมนุษย์
- ลำดับของเชื้อที่แยกได้ในปีนั้น
- ปีค.ศ. ที่แยกเชื้อไวรัสได้
- ถ้าเป็นเชื้อไข้หวัดใหญ่ type A จะต้องบอก subtype ของ H และ N ด้วย ตัวอย่างการเรียกชื่อ เช่น
A/Swine/lowa/15/30 (H1N1)
A/duck/Ukraine/1/63 (H3N2)
A/Sydney/5/97(H3N2)
A/Victoria/3/75/(H3N2)
การติดต่อ
เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ติดต่อทางการหายใจ (Dopplet Infection )โดยจะได้รับเชื้อที่ออกมาปนเปื้อนอยู่ในอากาศเมื่อผู้ป่วยไอ จาม หรือพูด ในพื้นที่ที่มีคนอยู่รวมกันหนาแน่น เช่น โรงเรียน โรงงาน การแพร่เชื้อจะเกิดได้มาก นอกจากนี้การแพร่เชื้ออาจเกิดโดยการสัมผัสฝอยละอองน้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วย (droplet transmission) จากมือที่สัมผัสกับพื้นผิวที่มีเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ แล้วใช้มือสัมผัสที่จมูกและปาก
ไวรัส influenza ถูกทำลายได้ง่ายด้วยความร้อนที่ 60 องศานาน 30 นาที
ไวรัสจะตาย ไวรัสนี้ไม่ทนต่อความแห้งและสารเคมีหลายชนิด เช่น iodine compounds, Formalin, betapropiolactone และพวก oxidizing agents อีกหลายชนิด แต่ไวรัสสามารถ คงอยู่ได้นานในสิ่งขับถ่ายและสิ่งคัดหลั่ง เช่น น้ำมูก น้ำลาย เสมหะ อุจจาระ
ระยะฟักตัวและแพร่เชื้อ
ฟักตัวประมาณ 1-3 วัน แพร่เชื้อตั้งแต่ 1 วันก่อนมีอาการ และแพร่ต่ออีก 3-5 วันหลังมีอาการ ในเด็กอาจแพร่เชื้อได้นานเกิน 7วัน
การวินิจฉัย
ปัจจุบันเรามีการตรวจเชื้อ ทั้งการเพาะเชื้อในเสมหะลำคอ การ swap ไปตรวจหา Antigen ด้วยวิธีการ Fluorescent antibody ซึ่งทำได้รวดเร็ว รวมถึง ELISA test
การวินิจฉัยแยกโรค
การวินิจฉัยแยกโรคไข้หวัดใหญ่จากเชื้ออื่นโดยอาศัยลักษณะทางคลินิกอย่างเดียวทำได้ยาก เชื้ออื่นๆที่ทำให้เกิดอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ ได้แก่ Mycoplasma pneumoniae, adenovirus, respiratory syncytial virus (RSV), rhinovirus, parainfluenza virus, และ Legionella spp.
อาการและอาการแสดง
- อาการจะเริ่มหลังได้รับเชื้อ 1-4 วัน ผู้ป่วยจะมีไข้แบบทันทีทันใด ( 38 องศาเซลเซียส ในผู้ใหญ่ ส่วนในเด็กมักจะสูงกว่านี้) ปวดศีรษะ หนาวสั่น ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อ่อนเพลียมาก และอาจพบอาการคัดจมูก เจ็บคอ ถ้าป่วยเป็นระยะเวลานานอาจจะมีอาการไอจากหลอดลมอักเสบ (post viral bronchitis) อาการจะรุนแรงและป่วยนานกว่าไข้หวัดธรรมดา (common cold) ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะหายเป็นปกติภายใน 1-2 สัปดาห์ แต่มีบางรายที่มีอาการรุนแรง เนื่องจากมีภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญคือ ปอดบวม ซึ่งอาจทำให้เสียชีวิตได้ ผู้ที่เสี่ยงสูงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนหรือเสียชีวิต ได้แก่
- ผู้ที่อายุ 65 ปีขึ้นไป
- เด็กที่อายุต่ำกว่า 2 ปี
- ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เช่น โรคปอด โรคหัวใจ โรคไต เบาหวาน ภูมิคุ้มกันบกพร่อง
- เด็กที่ได้รับการรักษาด้วยยาแอสไพรินเป็นเวลานาน
- หญิงตั้งครรภ์ระยะที่ 2 หรือ 3 ในฤดูกาลที่มีไข้หวัดใหญ่สูง
การติดต่อหรือการแพร่เชื้อไข้หวัดใหญ่จากสัตว์สู่คน (Transmission of influenza virus from animals to people)
ไวรัส influenza A พบได้ในสัตว์นานาชนิด ได้แก่ สัตว์ปีก หมู ปลาวาฬ เสือ ม้า และแมวน้ำ ในขณะที่ influenza B พบเฉพาะในคน
Infuenza A แบ่งเป็น subtypes โดยอาศัยโปรตีนที่อยู่บนผิว คือ hemagglutinin (H) และ neuraminidase (N) โดยที่ในสัตว์พบมี H15 ชนิด และ N 9 ชนิด ส่วนในคน พบ H เพียง HT. H2 และ H3 และสำหรับ N พบเพียง N1 และ N2 ส่วน influenza B ไม่แบ่งย่อย เชื่อไข้หวัดใหญ่ที่อยู่ในนกนานาชนิด ส่วนใหญ่ไม่ทำให้นกเหล่านั้นป่วย ส่วนน้อยอาจมีอาการไม่มาก (mild infection) ทำให้นกซึ่งมีเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ต่างๆ เหล่านี้ยังคงบินไป มาตามปกติ และเป็นตัวแพร่เชื้อโรคไปสู่สัตว์ปีกและสัตว์อื่นๆ และการแพร่กระจายเชื้อ ให้หวัดใหญ่ไปสู่สัตว์ปีกอื่นๆ มากน้อยก็ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์บางชนิด เช่น infuenza A สายพันธุ์ H5 และ H7 สามารถแพร่กระจายไปสู่สัตว์อื่นได้อย่างง่าย, และทำให้สัตว์ป่วยรวดเร็ว และรุนแรง ขนาดที่ทำให้สัตว์ปีกทั้งฟาร์มตายได้ภายใน 1-3 วัน ปกติแล้วเป็นการยากที่คน จะติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่โดยตรงจากสัตว์ยกเว้นชนิดที่มีความรุนแรงสูงได้แก่ H5 และ H7 ดังกล่าวข้างต้น
–
การเปลี่ยนแปลงของเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ (How influenza virus change – “Drift” and “Shift”)
เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่มีการเปลี่ยนแปลงได้ 2 วิธี วิธีแรกเรียกว่า “antigenic drift” คือจะมีการเปลี่ยนแปลงของกลัยโคโปรตีนเพียงเล็กน้อย แต่เกิดขึ้นเป็นประจำตลอด เวลาอย่างช้าๆ ดังนั้นผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่จึงเป็นซ้ำได้อีกเรื่อยๆ จากสายพันธุ์ที่มีการ เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมจากการที่มี antigenic drift ของเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ จึงต้องมี การเพิ่มหรือเปลี่ยนสายพันธุ์ไวรัสในวัคซีนไข้หวัดใหญ่ (Influenza vacine) เกือบทุกปี และเป็นเหตุผลที่ประชาชนต้องฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ทุกปี
วิธีที่สองที่ไวรัสเปลี่ยนเรียกว่า “antigenic shift” การเปลี่ยนแปลงวิธีนี้จะเกิดอย่างรวดเร็วกะทันหัน และมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากทำให้เกิดกลัยโคโปรตีน อย่าง30lutinin และหรือ neuraminidase ชนิดใหม่ นั่นคือเกิด influenza A sulle g ทำให้เกิดการระบาดใหญ่ได้ แต่นับว่ายังเป็นโชคดีของมนุษย์ที่การเปลี่ยนแปลงวิธีนี้เกิดนานๆ ครั้ง
การระบาดครั้งใหญ่ของไข้หวัดใหญ่ทั่วโลก (Pandemic Influenza)
ไข้หวัดใหญ่สามารถอุบัติขึ้น ก่อให้เกิดโรคแพร่กระจายระบาดไปในวงกว้างอย่างรวดเร็ว การระบาดใหญ่ทั่วโลก เกิดขึ้นเรียงลำดับดังต่อไปนี้
- พ.ศ. 2461-2462 (ค.ศ. 1918-1919) ไข้หวัดใหญ่สเปน (Spanish flu) เกิดจาก สายพันธุ์ influenza A H1N1 เป็นการระบาดที่รุนแรงมากมีประชากรโลกเป็น ไข้หวัดใหญ่อย่างรุนแรงถึงร้อยละ 40 และเสียชีวิตกว่า 20 ล้านคน ในจำนวน ผู้เสียชีวิตนี้มากกว่า 500,000 คน เป็นผู้คนที่อยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา ผู้คนส่วนใหญ่เสียชีวิตภายในเวลาสองสามวันแรกหลังจากที่เริ่มเจ็บป่วยและอีก จำนวนมากก็เสียชีวิตภายในเวลาต่อมาจากอาการหรือโรคแทรกซ้อน โดยที่ ประมาณครึ่งหนึ่งของผู้เสียชีวิตเป็นผู้ใหญ่ที่อายุน้อย (young adults) และสุขภาพ แข็งแรงดี
- พ.ศ. 2500-2501 (ค.ศ. 1957-1958) ไข้หวัดใหญ่เอเชีย (Asian flu) เกิดจากสายพันธุ์ influenza A/H2N2 การระบาดครั้งนั้นไม่รุนแรงเท่าไข้หวัดใหญ่ในสเปน มีผู้เสียชีวิต 70,000 คนในสหรัฐอเมริกา ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ ตรวจเชื้อได้เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 และสามารถผลิตวัคซีนได้ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2500 ผู้คนที่เจ็บป่วย ในปีนั้นมีทุกอายุ ทั้งเด็กนักเรียน ผู้ใหญ่อายุน้อย ผู้สูงอายุ และสตรีมีครรภ์
* พ.ศ. 2511-2512 (ค.ศ. 1968-1969) ไข้หวัดใหญ่ฮ่องกง (Hong Kong flu) เป็น สายพันธุ์ influenza A H3N2 มีผู้เสียชีวิตประมาณ 33,800 คน ในประเทศ
สหรัฐอเมริกา ผู้ป่วยรายแรกเป็นชาวฮ่องกง ป่วยเมื่อต้นปี พ.ศ. 2511 โรคได้ แพร่ระบาดไปทั่วโลก ชาวอเมริกันในสหรัฐรายแรกป่วยเมื่อต้นเดือนกันยายน ปีเดียวกัน การระบาดครั้งนั้นถือว่าเป็น “pandemic” ที่ไม่รุนแรงในประวัติศาสตร์
พ.ศ. 2520 (ค.ศ. 1977) ไข้หวัดใหญ่รัสเซีย (Russian flu) เกิดจากสายพันธุ์ influ enza A/H1N1 การระบาดเริ่มที่ประเทศจีนตอนเหนือ แล้วระบาดไปทั่วโลก เป็น สายพันธุ์เดียวกับไข้หวัดใหญ่เอเชียปี ค.ศ. 1957 ดังนั้นผู้ที่มีอายุเกิน 23 ปี จึง ไม่ป่วยหรือป่วยไม่มาก ผู้ที่มีอาการรุนแรงและเสียชีวิต เช่น คนที่อายุน้อยกว่า 23 ปี เป็นการระบาดของโลกที่อ่อนที่สุดหรืออาจไม่เรียกว่าเป็น “true pandemic” ก็ได้
การระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ H1N1/09 (2009–2010)ไข้หวัดใหญ่2009 (swine flu)
สาเหตุเกิดขึ้นในเม็กซิโกเมื่อเดือนมีนาคมถึงเมษายน 2552เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2552 หลังจากมีการแยกผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ A/H1N1 ในผู้ป่วย 7 รายทางตะวันตกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกา WHO ได้ออกแถลงการณ์เกี่ยวกับการระบาดของ “โรคคล้ายไข้หวัดใหญ่” ที่มีรายงานผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ A/H1N1 ได้รับการยืนยันในเม็กซิโก และมีรายงานผู้ป่วยที่ได้รับการยืนยัน 20 รายในสหรัฐอเมริกา วันรุ่งขึ้น จำนวนผู้ป่วยที่ได้รับการยืนยันเพิ่มขึ้นเป็น 40 รายในสหรัฐอเมริกา 26 รายในเม็กซิโก 6 รายในแคนาดา และ 1 รายในสเปน โรคนี้แพร่กระจายอย่างรวดเร็วตลอดช่วงที่เหลือของฤดูใบไม้ผลิ และในวันที่ 3 พฤษภาคม มีรายงานผู้ป่วยที่ได้รับการยืนยันทั้งหมด 787 รายทั่วโลก
เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2552 การระบาดอย่างต่อเนื่องของไข้หวัดใหญ่ชนิด A/H1N1 ซึ่งเรียกกันทั่วไปว่าไข้หวัดใหญ่2009ได้รับการประกาศอย่างเป็นทางการโดย WHOว่าเป็นการระบาดใหญ่ครั้งแรกของไข้หวัดใหญ่ในศตวรรษที่ 21 และไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ชนิด A ชนิดย่อย H1N1 ที่ถูกระบุครั้งแรกในเดือนเมษายน 2552 เชื่อกันว่าเป็นการกลายพันธุ์ (การจัดเรียงใหม่) ของไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A ชนิดย่อย H1N1 ที่รู้จัก 4 สายพันธุ์ ได้แก่ สายพันธุ์หนึ่งมีการระบาดในมนุษย์ สายพันธุ์หนึ่งมีการระบาดในนก และอีก 2 สายพันธุ์มีการระบาดในหมู (สุกร) (Swine flu)การแพร่กระจายอย่างรวดเร็วของไวรัสชนิดใหม่นี้น่าจะเกิดจากการขาดภูมิคุ้มกันที่เกิดจากแอนติบอดีที่มีอยู่ก่อนแล้วในประชากรมนุษย์
เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2009 องค์การอนามัยโลกได้รายงานข้อมูลอัปเดตทั่วโลกว่า “ประเทศต่างๆ 199 ประเทศและดินแดน/ชุมชนโพ้นทะเลได้รายงานอย่างเป็นทางการว่ามีผู้ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ H1N1 ที่ได้รับการยืนยันจากห้องปฏิบัติการแล้วมากกว่า 482,300 ราย ซึ่งรวมถึงผู้เสียชีวิต 6,071 ราย”
ยาต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่
ยาต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่มีสองกลุ่มคือ กลุ่ม adamantance ได้แก่ amantadine และ imantadine และ neuraminidase inhibitors ได้แก่ oseltamivir และ zanamivir เนื่องจากประสิทธิผลในการใช้รักษาและป้องกันไข้หวัดใหญ่ยังไม่ดีมาก แต่ผลข้างเคียงจาก ยามีไม่น้อย ทำให้การใช้ยาต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่ยังไม่สู้จะแนะนำเป็นมาตฐาน
Neuraminidase inhibitor
มี 2 ตัว คือ oseltamivir และ zanamivir ยาทั้งตัวนี้มีโครงสร้างคล้ายกัน และมีฤทธิ์ต่อทั้ง Influenza A และ B ยาออกฤทธิ์โดยยับยั้งเอ็นไซม์ neuraminidase ของไวรัส ยากลุ่มนี้มีฤทธิ์ ต่อทั้ง influenza A และ B
Oseltamivir เป็นยาที่มีการศึกษาในแล็บว่ามีความไวต่อเชื้อ influenza A/H5N1 (จาก WHO Global Influenza surveillance Network, htt://www.cdc.gov/flu/professionals/ antiviralback.htm)
การใช้ยาต้านในกลุ่ม Oseltamivir ในผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันไม่ดี กลุ่มเสี่ยงหรือมีอายุมากกว่า 65 หรือปัจจุบันใช้เพื่อให้อาการดีขึ้นรวดเร็วกว่า ใช้ขนาด 75 มก. ทานวันละ 2 ครั้งเป็นเวลา 5 วัน
ยากลุ่ม adamantane
มี 2 ตัวคือ amantadine และ rimantadine ยากลุ่มนี้มีฤทธิ์ต่อ influenza A เท่านั้น เป็นยาที่มีผลข้างเคียงค่อนข้างมาก ได้แก่ คลื่นไส้อาเจียน, ผลต่อระบบประสาทมีค่อนข้างมาก ได้แก่ วิงเวียน มึนงง หงุดหงิด ขาดสมาธิ นอนไม่หลับ และซัก และปัจจุบันก็พบว่าไวรัส มีการดื้อยา
การให้ยาต้านไวรัส amantadine hydrochloride หรือยา rimantidine hydrochloride ภายใน 48 ชั่วโมง นาน 3-5 วัน จะช่วยลดอาการและจำนวนเชื้อไวรัสชนิด A ในสารคัดหลั่งที่ทางเดินหายใจได้ ขนาดยาที่ใช้ในเด็กอายุ 1-9 ปี ให้ขนาด 5 มก./กก./วัน แบ่งให้ 2 ครั้ง สำหรับผู้ป่วยอายุ 9 ปีขึ้นไปให้ขนาด 100 มก. วันละ 2 ครั้ง (แต่ถ้าผู้ป่วยน้ำหนักน้อยกว่า 45 กก. ให้ใช้ขนาดเดียวกับเด็กอายุ 1-9 ปี) นาน 2-5 วัน
หลักการสำคัญของการใช้ยาต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่
- การใช้เป็นการป้องกัน (chemoprophylaxis) ได้ผลเพียงร้อยละ 70-80 สำหรับการ ป้องกันโรคในผู้ใหญ่ที่แข็งแรงดี
- การใช้รักษา (treatment) ต้องให้ยาภายใน 48 ชั่วโมงนับจากเริ่มมีอาการสำหรับ ผู้ป่วยอาการไม่มากยาจะเพียงช่วยให้หายเร็วขึ้น 1-2 วัน เท่านั้นและจากการ ศึกษาซึ่งจำนวนไม่มาก พบว่ายาช่วยลดหรือบรรเทาอาการแทรกซ้อนลดจำนวน วันที่ผู้ป่วยอยู่โรงพยาบาล
- การรักษาอื่นๆ เป็นการรักษาแบบประคับประคอง เช่นให้ยาลดไข้ ลดอาการปวดกล้ามเนื้อ ยาต้านการอักเสบ แต่ต้องระวังความเสี่ยงของ Reye’s syndrome
- การให้ยาฏิชีวนะ สำหรับผู้ที่มีติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน หรือปอดอักเสบ ยาแก้ไอ แก้คลื่นไส้อาเจียน เป็นต้น
บรรณานุกรม
- ข้อมูลไข้หวัดใหญ่ กรมควบคุมโรค
- wikipedia Influenza pandemic
- An update on Infectious diseases สมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย
รวบรวมโดย นพ.กิจการ จันทร์ดา อายุรแพทย์