ตอนสองของโรคลำไส้แปรปรวนที่พบบ่อย มาดูกันว่าอาการ การรักษาเป็นอย่างไร เชื่อว่าในหลาย ๆ ท่าน ในช่วงชีวิตน่าจะเคยมีอาการของโรคนี้
อาการของโรคลำไส้แปรปรวน
อาการปวดท้อง ร่วมกับความผิดปกติของการย่อยอาหารเป็นอาการหลัก ซึ่งจะแปรผันในแต่ละคน ในบางคนมีอาการท้องผูก แต่บางคนกลับกัน คือท้องเสีย รู้สึกอยากถ่าย เข้าห้องน้ำแล้วเข้าอีก ในบางคนสลับกันคือ ท้องผูกสลับท้องเสีย
บางคนมีอาการท้องอืดจากแกสในกระเพาะ หลาย ๆ คนจะปวดท้องอยากถ่าย แต่ปรากฎว่าไม่ออก พร้อมกับมีแกส และถ่ายเหลวเล็กน้อยออกมา
จำไว้ว่า ถ้ามีเลือดออก น้ำหนักลด ไข้ ปวดท้องหรือต้องถ่ายกลางคืน ไม่ใช่อาการของโรคนี้ และต้องหาสาเหตุโดยด่วน
การวินิจฉัย
การวินิจฉัยขึ้นอยู่กับประวัติ การตรวจร่างกายอย่างรอบคอบ ไม่มีการทดลองที่เฉพาะ แต่มีเพื่อการแยกโรคอื่นออกไป เช่น การตรวจอุจจาระ เอกซเรย์ หรือแม้กระทั่งการส่องกล้อง ดูในกระเพาะ ลำไส้ และลำไส้ใหญ่ เมื่อทุกจุด ไม่มีอะไรผิดปกติแล้วนั่นแหละ แพทย์จึงวินิจฉัยว่าลำไส้แปรปรวน
เกณฑ์การวินิจฉัยมาตรฐานของโรค
ปวดท้อง แน่นท้องอย่างน้อย 12 สัปดาห์ จากช่วง 1 ปีที่ผ่านมา ซึ่งไม่จำเป็นต้องต่อเนื่องกัน
ปวดท้อง และมีอาการสองในสามของ
อาการดีขึ้นเมื่อถ่าย
เมื่อมีอาการทำให้ความถี่ของการถ่ายอุจจาระเปลี่ยนไป
เมื่อมีอาการ ทำให้ลักษณะของอุจจาระเปลี่ยนไป
การรักษา
ไม่มีการรักษาเฉพาะ และไม่รับประกันว่าจะหายขาด แต่มีการรักษาที่ทำให้อาการดีขึ้น เช่น ยาแก้อาการปวด การรับประทานกากใยเยอะ ๆ หรือแม้กระทั่งยาระบาย ถ้าท้องผูก ยาคลายกังวล ยาอื่น ๆ ที่เฉพาะมีดังนี้
Alosetron หรือ Lotronex ได้รับอนุมัติจากองค์การอาหารและยา ให้ใช้ในสตรีที่รักษาด้วยยาอื่น ๆ ไม่ได้ผล
Tegaserod maleate หรือ Zelnorm ใช้รักษาในระยะสั้น ในกรณีท้องผูก
ความเครียด เกี่ยวข้องกับอาการโรคนี้ เนื่องจากลำไส้ มีระบบประสาทมาเกี่ยวพันมาก ในบางคน เครียดแล้วจะมีปวดเกร็ง ดังนั้น จึงอาจจะต้องมีการรักษาเรื่องความเครียดด้วยวิธี
คลายเครียดโดยแพทย์ ยา หรือ การบำบัดอื่น ๆ
ออกกำลัง โยคะ
เปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม
พักผ่อนให้เพียงพอ
อัพเดตความดันโลหิตสูง Hypertension (2024) ภาค 1. ความรู้เบื้องต้น
10 อันดับความก้าวหน้าหรือ medical breakthrough ทางการแพทย์ ประจำปี 2550 เรื่องที่ 3 วัคซีนไข้หวัดนก ตัวแรก ออกแล้ว ในปี 2007 ความกังวลว่า…
หลายคนคงเคยมีคำถาม จะขลิบหนังหุ้มปลาย อย่างไร เมื่อไร และทำไม โดยเฉพาะผู้เป็นพ่อแม่ที่มีลูกชาย อาจจะเคยมีแพทย์แนะนำให้ ขลิบหนังหุ้มปลายตั้งแต่เด็กยังเล็กๆเลย ซึ่งแน่นอน ว่าต้องเกิดความกังวลในใจคุณแน่ๆ (more…)
ข้อมูลจาก health day และศูนย์ข้อมูลโรคไตของสหรัฐ ได้ให้คำแนะนำสำหรับป้องกันการติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะ เช่นกระเพาะปัสสาวะและไต ดังนี้ ดื่มน้ำวันละมากๆ ห้ามกลั้นปัสสาวะนานๆ อาบน้ำโดยใช้การตักอาบหรือฝักบัว ดีกว่าใช้อ่างอาบน้ำ (more…)
การปลูกฝังสมาธิในเด็ก เป็นการปูพื้นความสามารถในการเรียนรู้ให้เด็ก ผมมีบทความดีๆจาก ศูนย์จินตคณิต http://www.imaxbrain.com พัทยา ที่นำมาจากการสัมนาเรื่อง สมาธิ คือจุดเริ่มต้นของการเรียนรู้ที่ดี มาฝากครับ (more…)