รายงานล่าสุด ตีพิมพ์ลงในวารสาร circulation ช่วยยืนยันคำกล่าวที่ว่า “แบคทีเรียในช่องปาก ทำให้คนเป็นโรคหัวใจ” โดยทำให้หลอดเลือดหัวใจหนาและตีบมีไขมันเกาะ!

www.news-medical.net
รายงานล่าสุด ซึ่งถือเป็นรายงานการศึกษาแรกที่ยืนยันว่า แบคทีเรียในช่องปาก 4 ตัวเป็นตัวก่อให้เกิดหลอดเลือดอุดตันในหัวใจ
สมัยก่อน เราเชื่อว่า แบคทีเรียในปาก ทำให้เกิดหัวใจวาย โดยเชื่อว่า เกิดเพราะการติดเชื้อเข้าไปในกระแสเลือด ความเชื่อนี้หายไปในปี 1940 และกลับมาอีกครั้ง เมื่อไม่นานมานี้เนื่องจากพบ การสูงขึ้นของค่า CRPในเลือด ที่แสดงถึงการมีการอักเสบ แต่เนื่องจาก ยังไม่สามารถจับตัวแบคทีเรียที่ทำให้เกิดปัญหา จึงยังได้แต่สงสัย
นพ.คณะผู้ทำการวิจัย จากมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย และมินเนโซต้า กล่าวว่า นี่คือรายงานที่ยืนยันว่า มีความสัมพันธ์กันจริง”แต่ไม่สามารถบอกได้ว่า อะไรเกิดก่อนกัน ระหว่างเชื้อโรค กับความหนาของเส้นเลือด”
การวิจัย ซึ่งชื่อว่า INVEST หรือการศึกษาทางสถิติระหว่างโรคในช่องปากและหลอดเลือด โดยกลุ่มตัวอย่างใน แมนฮัทตัน ที่อยู่ในกลุ่มเดียวกับการศึกษาแบบโคฮอร์ทอีกอันคือNOMAS(northern manhattan study) นพ.เดสวาริแอร์ หัวหน้าคณะศึกษา กล่าวว่า ได้ทำการสำรวจคนไข้กลุ่มใหญ่ จำนวนมาก ในเมืองแมนฮัตตั้น ที่มีอายุ 55 ปีขึ้นไป และสุ่มมาจำนวน 657 คนที่ยังหลงเหลือฟัน มาทำการตรวจโดยมุ่งไปที่แบคทีเรียจำนวน 11 ชนิด โดย 4 ชนิดคือแบคทีเรียที่เชื่อว่าเป็นตัวการ พร้อม ๆ กันก็ทำการตรวจวัดความหนาของหลอดเลือดที่คอ(ซึ่งจะเป็นตัวชี้บ่งถึงความหนาที่เส้นเลือดที่หัวใจได้)
เมื่อทำการตัดปัจจัยอื่นๆ ออก เช่นการสูบบุหรี่ หรือโรคไขมันในเส้นเลือด เราพบว่า มีความสัมพันธ์จริง ระหว่างจำนวนแบคทีเรีย และความหนาของหลอดเลือด และความจริงคือ จำกัดอยู่กับแบคทีเรีย 4 ตัว (ที่เป็นสัดส่วนแค่ 23%เทียบกับแบคทีเรียทั้งหมดในช่องปาก)
คงต้องมีการศึกษาต่อเนื่องต่อ ว่า อะไรเป็นตัวทำให้เกิดอะไร และอย่างไร
สำหรับพวกเรา คงต้องบอกว่า แปรงฟันทุกครั้งหลังอาหาร ป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจน่าจะใช้ได้
http://www.nidr.nih.gov/

CK

2535 แพทยศาสตร์บัณฑิต เกียรตินิยมอันดับ1 มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2539 วุฒิบัตร อายุรศาสตร์

Share
Published by
CK

Recent Posts

วัคซีนป้องกันไข้หวัดนก(2550)

10 อันดับความก้าวหน้าหรือ medical breakthrough ทางการแพทย์ ประจำปี 2550 เรื่องที่ 3 วัคซีนไข้หวัดนก ตัวแรก ออกแล้ว ในปี 2007 ความกังวลว่า…

8 years ago

ขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ ทำไม อย่างไร เมื่อไร

หลายคนคงเคยมีคำถาม จะขลิบหนังหุ้มปลาย อย่างไร เมื่อไร และทำไม โดยเฉพาะผู้เป็นพ่อแม่ที่มีลูกชาย อาจจะเคยมีแพทย์แนะนำให้ ขลิบหนังหุ้มปลายตั้งแต่เด็กยังเล็กๆเลย ซึ่งแน่นอน ว่าต้องเกิดความกังวลในใจคุณแน่ๆ (more…)

8 years ago

Health tip ป้องกันการเกิดกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

ข้อมูลจาก health day และศูนย์ข้อมูลโรคไตของสหรัฐ ได้ให้คำแนะนำสำหรับป้องกันการติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะ เช่นกระเพาะปัสสาวะและไต ดังนี้ ดื่มน้ำวันละมากๆ ห้ามกลั้นปัสสาวะนานๆ อาบน้ำโดยใช้การตักอาบหรือฝักบัว ดีกว่าใช้อ่างอาบน้ำ (more…)

8 years ago

สมาธิ จุดเริ่มต้นในการพัฒนาการเรียนของเด็ก

การปลูกฝังสมาธิในเด็ก เป็นการปูพื้นความสามารถในการเรียนรู้ให้เด็ก ผมมีบทความดีๆจาก ศูนย์จินตคณิต http://www.imaxbrain.com พัทยา ที่นำมาจากการสัมนาเรื่อง สมาธิ คือจุดเริ่มต้นของการเรียนรู้ที่ดี มาฝากครับ (more…)

8 years ago

ไข้หวัด

ไข้หวัด เกิดจากเชื้อไวรัสหวัด เด็กเล็ก ๆ อายุต่ำกว่า 6 เดือน เป็นหวัดน้อยกว่าเด็กโต ทั้งนี้เพราะ เด็กทารกช่วงวัยนั้น ได้รับภูมิต้านทาน เชื้อโรคหวัด ผ่านทางรก และเลือดของแม่ ตั้งแต่อยู่ในครรภ์…

8 years ago

เหา Pediculosis capitis

เหา (Pediculosis capitis) เหาเกิดจากเชื้อปาราสิต ชื่อว่า "Pediculus humanus" ซึ่งอาศัยอยู่บนหนังศีรษะ เส้นผม ขน ปาราสิตนี้จะคอยดูดเลือดกินเป็นอาหาร และวางไข่บนเส้นผม โดยหลั่งสารไคติน (chitin) หุ้มปลายหนึ่งของไข่…

8 years ago