ถ้าหากจะลองไล่รายชื่อโรคที่แพทย์ไม่ต้องการจะเจอในชีวิตหนึ่ง โรคแพ้ยาชนิดรุนแรง สตีเวนส์ จอห์นสัน Stevens johnsons syndrome (SJS)

และ TENS หรือ toxic epidermal necrolysis คงเป็นโรคที่อยู่ในลำดับต้น ๆ เพราะเป็นอะไรที่คาดเดาไม่ได้ บางรายไม่เคยมีประวัติแพ้ยาก็เกิด บางรายเกิดจากการติดเชื้อเริม และเมื่อเป็นแล้วอัตราตายสูงถึง25-80%


ยังโชคดีอยู่บ้าง ที่โรคนี้เป็นน้อยมาก จากอุบัติการณ์ในสหรัฐ พบ 2.6-8.2 รายใน 1000000(ล้าน)ราย ในจำนวนนี้ 50% เกิดจากยา อีกครึ่ง เกิดจากการติดเชื้อหรือไม่ทราบสาเหตุ อัตราการเสียชีวิตประมาณ 20-80%
เมื่อปีค.ศ. 1922 Stevens และ Johnsons ได้พบเด็กสองคน ที่มีอาการไข้ แผลเต็มปาก ตาอักเสบอย่างรุนแรง และผื่นตามตัว ซึ่งต่อมาได้ตั้งชื่อโรคตามเขาสองคนนี้
ลักษณะของโรค มักจะเกิดอาการในช่วง 1-4 อาทิตย์ภายหลังรับยา หรือภายหลังติดเชื้อ แต่มีรายงานว่าผู้ป่วยมักมีอาการไข้ ปากแห้ง ปวดเมื่อยในช่วงแรก อาจจะถึง 1-3 วันหลังได้ยาเลยก็ได้ ลักษณะผื่น ตอนแรก จะขึ้นเม็ดเล็ก ๆ ลามขยายใหญ่ กลายเป็นบวมพุพองทั้งตัว และลอกออกได้ในภายหลัง ผื่นจะกินบริเวณกว้างทั้งลำตัว ไม่เว้นแม้แต่เยื่อบุตา ปาก ช่องคลอด ก้น คือเป็นหมดร่างกาย
ผื่นในช่วงแรก ๆ อาจจะมีลักษณะเหมือนเป้าตาวัว (target lesion หรือ iris lesion) ตามรูปบางทีเรียกว่า Erythema multiforme(EM) แต่หลังจากนั้นก็จะลุกลามจนเป็นแบบรูปล่างได้

ลักษณะผื่นช่วงแรก ๆ ถ้าพบภายหลังกินยา 1 อาทิตย์ มีไข้ ปากแห้งเจ็บตา ให้หยุดยาและไปพบแพทย์ด่วน มิฉะนั้น อาจเป็นตามรูปนี้

ปัญหาสำคัญที่พบบ่อย คือการที่มีการอักเสบที่เยื่อบุตา ม่านตา ซึ่งอาจทำให้ตาบอด หรือแม้กระทั่งลูกตาทะลุ ภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ เช่น ตับอักเสบ ไตอักเสบ เลือดออกจากทางเดินอาหาร ข้ออักเสบ ปอดอักเสบ
สาเหตุของโรคนี้ ไม่ทราบแน่ชัด เชื่อว่าเป็นกลไกภูมิคุ้มกันของร่างกายที่ตอบสนองต่อยา หรือการติดเชื้อ ภาวะที่กระตุ้นให้เกิดโรคนี้บ่อย ได้แก่ เริมที่เกิดขึ้นครั้งแรก (primary herpes simplex) การติดเชื้อ ไมโคพลาสมา ส่วนยาที่พบบ่อยที่ก่อให้เกิดโรคนี้ ได้แก่ ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ เช่น นาโปรซิน celebrex bextra oxaprozin ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เช่น ซัลฟา (แบคทริม) เพนนิซซิลลิน และยากันชักเช่น ฟิไนโตอิน(phenytoin)
เมื่อเกิดสงสัย ให้หยุดยา มาพบแพทย์ การรักษา คือการประคับประคองคล้าย ๆ คนที่โดนไฟไหม้ เช่นการให้น้ำเกลือ ทำแผล ให้ยาคอติโคสเตียรอยด์ช่วย

CK

2535 แพทยศาสตร์บัณฑิต เกียรตินิยมอันดับ1 มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2539 วุฒิบัตร อายุรศาสตร์

Share
Published by
CK

Recent Posts

ความดันโลหิตสูง 2024(1)

อัพเดตความดันโลหิตสูง Hypertension (2024) ภาค 1. ความรู้เบื้องต้น

1 month ago

วัคซีนป้องกันไข้หวัดนก(2550)

10 อันดับความก้าวหน้าหรือ medical breakthrough ทางการแพทย์ ประจำปี 2550 เรื่องที่ 3 วัคซีนไข้หวัดนก ตัวแรก ออกแล้ว ในปี 2007 ความกังวลว่า…

8 years ago

ขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ ทำไม อย่างไร เมื่อไร

หลายคนคงเคยมีคำถาม จะขลิบหนังหุ้มปลาย อย่างไร เมื่อไร และทำไม โดยเฉพาะผู้เป็นพ่อแม่ที่มีลูกชาย อาจจะเคยมีแพทย์แนะนำให้ ขลิบหนังหุ้มปลายตั้งแต่เด็กยังเล็กๆเลย ซึ่งแน่นอน ว่าต้องเกิดความกังวลในใจคุณแน่ๆ (more…)

8 years ago

Health tip ป้องกันการเกิดกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

ข้อมูลจาก health day และศูนย์ข้อมูลโรคไตของสหรัฐ ได้ให้คำแนะนำสำหรับป้องกันการติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะ เช่นกระเพาะปัสสาวะและไต ดังนี้ ดื่มน้ำวันละมากๆ ห้ามกลั้นปัสสาวะนานๆ อาบน้ำโดยใช้การตักอาบหรือฝักบัว ดีกว่าใช้อ่างอาบน้ำ (more…)

8 years ago

สมาธิ จุดเริ่มต้นในการพัฒนาการเรียนของเด็ก

การปลูกฝังสมาธิในเด็ก เป็นการปูพื้นความสามารถในการเรียนรู้ให้เด็ก ผมมีบทความดีๆจาก ศูนย์จินตคณิต http://www.imaxbrain.com พัทยา ที่นำมาจากการสัมนาเรื่อง สมาธิ คือจุดเริ่มต้นของการเรียนรู้ที่ดี มาฝากครับ (more…)

8 years ago

ไข้หวัด

ไข้หวัด เกิดจากเชื้อไวรัสหวัด เด็กเล็ก ๆ อายุต่ำกว่า 6 เดือน เป็นหวัดน้อยกว่าเด็กโต ทั้งนี้เพราะ เด็กทารกช่วงวัยนั้น ได้รับภูมิต้านทาน เชื้อโรคหวัด ผ่านทางรก และเลือดของแม่ ตั้งแต่อยู่ในครรภ์…

8 years ago