ความรู้เรื่องมะเร็งเต้านม ตอน 1
เดือนตุลาคม เป็นเดือนที่เกี่ยวข้องกับ มะเร็งเต้านม โดยองค์การอนามัยโลก ถือว่า เดือนตค.เป็นเดือนระวังป้องกันมะเร็งเต้านม หรือ breast cancer awareness month ทำไมถึงสำคัญเช่นนั้น? ก็เพราะ ข้อมูลสำคัญคือ 1 ใน 8 ของสตรีในวัยใดวัยหนึ่ง จะเป็นมะเร็งเต้านม!(american cancer society)นั่นคือความสำคัญ วันนี้ ผมจึงนำเสนอข้อมูลเล็กน้อยเพื่อเป็นเกร็ดความรู้ครับ
มะเร็งเต้านม เป็นหนึ่งในมะเร็งที่สุภาพสตรีกลัวกันมาก ทั้งที่จริงๆแล้ว พบว่า โรคที่พบบ่อยและทำให้ถึงแก่ชีวิตในสตรี คือโรคหลอดเลือดหัวใจและมะเร็งอื่นๆเสียมากกว่า และปัจจุบัน ด้วยเทคนิคที่ก้าวหน้า การวินิจฉัยเร็วขึ้น และการผ่าตัดที่ไม่ต้องเลาะเอาเต้านมออก ทำให้สตรี มีความเสี่ยงลดลง ยิ่งถ้าเราสามารถพบได้เมื่ออายุน้อย ยิ่งดีเท่านั้น
อาการและอาการแสดง
ที่สำคัญที่สุด(และพบบ่อยที่สุด ที่ผมต้องให้คำปรึกษา)คือ ก้อนที่เต้านมส่วนมาก ไม่ใช่มะเร็ง และถ้าก้อนนั้นจะสงสัยว่าเป็นมะเร็ง มันมักจะไม่มีอาการเจ็บ แต่อาจจะมี
ภาวะอื่นๆที่ทำให้เกิดก้อน และสับสนกับมะเร็งเต้านมได้แก่
สาเหตุ
เต้านมของทุกคน ประกอบด้วยต่อมเต้านมประมาณ 15-20 พู ส่วนประกอบส่วนใหญ่คือ ไขมัน ประมาณ 80-85% ส่วนน้อยคือต่อมและท่อน้ำนม โดยมีเยื่อที่ห่อหุ้มแต่ละพูคล้ายผลไม้(เช่นส้มโอ)
เวลาตั้งท้อง ปริมาณต่อมและท่อน้ำนมจะเพิ่มขึ้นทำให้เต้านมคัดเต็มไปด้วยน้ำนม นอกจากนี้ ส่วนประกอบอื่น มีเช่น เส้นเลือด เส้นประสาท และท่อน้ำเหลือง
ในกรณีมะเร็ง ก็คือมีการเจริญผิดปกติของเซลเหล่านี้โดยควบคุมไม่ได้ ปัจจัยที่ก่อให้เกิดยังไม่ชัด แต่ที่แพทย์ส่วนใหญ่ทราบคือ มีกรรมพันธ์ร่วมประมาณ 5-10% โดยเฉพาะความบกพร่องของยีนในโครโมโซม ที่เรียกว่า ยีน BRCA1 และ BRCA2 นอกจากนี้ อาจบกพร่องในยีนที่ควบคุมมะเร็งคือ p53 tumor suppressor gene
ส่วนใหญ่ความบกพร่องทางกรรมพันธ์จะเกิดเอง แต่มีบ้าง ที่เกิดการมิวเตท หรือกลายพันธ์จากการได้รับรังสีเอกซเรย์ เช่นไดรับรังสีตั้งแต่เด็กๆ หรือสารก่อมะเร็งพวก polycyclic hydrocarbons ในบุหรี่ และเนื้อที่ย่างเกรียม
ปัจจัยเสี่ยง
การตรวจร่างกาย breast self exam.
การตรวจโดยใช้การคลำ การศึกษาใหม่ๆ พบว่า การแนะนำให้ตรวจเต้านมโดยคนไข้เองที่เคยกระทำมาในอดีต ไม่ได้ผลเพียงพอในการพบมะเร็งในระยะแรก หลายๆแห่ง แนะนำว่า ควรมีการมาตรวจกับแพทย์ที่ผ่านการฝึก ทุก 3 ปี ตั้งแต่อายุ 20 ปีขึ้นไป ในคนที่มีประวัติเสี่ยง เช่นมีประวัติครอบครัว แต่เมื่ออายุมากกว่า 40 แนะนำมาตรวจทุกปี
การตรวจโดยการใช้เอ็กซเรย์ แมมโมแกรม
ยังได้ผลไม่ดีเท่าที่ควร ในคนอายุน้อยกว่า 40 แนะนำให้ตรวจทุกปีในช่วงอายุ 40 – 50 ซึ่งอาจทดแทนได้โดยการตรวจโดยใช้การคลำ และ ปีเว้นปีในคนที่มีอายุมากกว่า 50
การตรวจโดยใช้แมมโมแกรม เต้านมจะต้องโดนบีบโดยแผ่นพลาสติดที่มีฟิล์มสองแผ่น ใช้เวลาน้อยกว่า 30 นาที อาจจะเจ็บพอสมควร และถ้าเต้านมอยู่ในช่วงมีประจำเดือน อาจเจ็บมาก
การตรวจอื่นๆ
computer aided detection ใช้คอมพิวเตอร์ตรวจร่วมกับเอ็กซเรย์
digital mammography
เอ็กซเรย์คลื่นแม่เหล็ก หลายที่ใช้ในกรณีที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง สามารถพบได้ตั้งแต่ก้อนเล็กๆ แต่อาจมีปัญหาเรื่องผลบวกลวง ทำให้ต้องตัดเต้านมหรือให้การรักษาโดยไม่จำเป็น
อัลตร้าซาวด์ อาจได้ประโยชน์ในบางคน แต่มีผลบวกลวงมาก
ตัดชิ้นเนื้อตรวจ อาจตัด หรือใช้เข็มเจาะ เอาเฉพาะน้ำที่ดูดได้ไปตรวจ บางครั้งอาจจะใช้การใส่สายไปทางต่อมเต้านมแล้วล้างเอาน้ำมาตรวจ
10 อันดับความก้าวหน้าหรือ medical breakthrough ทางการแพทย์ ประจำปี 2550 เรื่องที่ 3 วัคซีนไข้หวัดนก ตัวแรก ออกแล้ว ในปี 2007 ความกังวลว่า…
หลายคนคงเคยมีคำถาม จะขลิบหนังหุ้มปลาย อย่างไร เมื่อไร และทำไม โดยเฉพาะผู้เป็นพ่อแม่ที่มีลูกชาย อาจจะเคยมีแพทย์แนะนำให้ ขลิบหนังหุ้มปลายตั้งแต่เด็กยังเล็กๆเลย ซึ่งแน่นอน ว่าต้องเกิดความกังวลในใจคุณแน่ๆ (more…)
ข้อมูลจาก health day และศูนย์ข้อมูลโรคไตของสหรัฐ ได้ให้คำแนะนำสำหรับป้องกันการติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะ เช่นกระเพาะปัสสาวะและไต ดังนี้ ดื่มน้ำวันละมากๆ ห้ามกลั้นปัสสาวะนานๆ อาบน้ำโดยใช้การตักอาบหรือฝักบัว ดีกว่าใช้อ่างอาบน้ำ (more…)
การปลูกฝังสมาธิในเด็ก เป็นการปูพื้นความสามารถในการเรียนรู้ให้เด็ก ผมมีบทความดีๆจาก ศูนย์จินตคณิต http://www.imaxbrain.com พัทยา ที่นำมาจากการสัมนาเรื่อง สมาธิ คือจุดเริ่มต้นของการเรียนรู้ที่ดี มาฝากครับ (more…)
เหา (Pediculosis capitis) เหาเกิดจากเชื้อปาราสิต ชื่อว่า "Pediculus humanus" ซึ่งอาศัยอยู่บนหนังศีรษะ เส้นผม ขน ปาราสิตนี้จะคอยดูดเลือดกินเป็นอาหาร และวางไข่บนเส้นผม โดยหลั่งสารไคติน (chitin) หุ้มปลายหนึ่งของไข่…