ช่วงนี้ ได้พบคนไข้ที่มีอาการอักเสบของสะดือและสะดือจุ่น เลยอยากนำความรู้มาฝากสักเล็กน้อย เรื่องสะดือจุ่น และสะดืออักเสบ ที่มักพบมากในเด็กครับ
เป็นปัญหาคาใจที่คุณพ่อคุณแม่หลายท่านวิตกกังวลมาก กลัวลูกร้องมากๆ แล้วสะดือจะแตกบ้างหรือกลัวจะไม่หายจนโตบ้าง แต่ความเป็นจริงแล้ว ขณะที่ทารกอยู่ในครรภ์มารดา เด็กจะได้รับอาหารโดยผ่านทางสายสะดือที่ต่อจากตัวเด็กไปยังรก เมื่อครบกำหนดคลอดต้องตัดสายสะดือจากตัวแม่ ส่วนรกที่เกาะ จะหลุดออกตามมาภายหลัง สายสะดือที่ติดอยู่กับตัวเด็กแพทย์จะรัดเอาไว้ โดยธรรมชาติสายสะดือจะค่อยๆ เหี่ยวและหลุดออกไปเองภายใน 2 อาทิตย์แรกหลังคลอด แต่บางคนอาจนานเป็นเดือน แต่คุณพ่อคุณแม่ ไม่ต้องตกใจ เพราะถือเป็นเรื่องปกติของเด็กแต่ละคน
โดยทั่วไปเด็กจะไม่มีสะดือยื่นออกมา แต่กลับจะบุ๋มเข้าไปข้างใน เหมือนของคุณพ่อคุณแม่ ทั้งนี้เพราะมีกล้ามเนื้อหน้าท้องขนานสองข้างสะดือ ในบางกรณีกล้ามเนื้อที่ไม่แข็งแรงสะดือจะกลับยื่นออกมาที่เราเรียกว่า สะดือจุ่น นั่นละ
เด็กสะดือจุ่น มักจะเห็นได้หลังสายสะดือหลุดและมักจะหายไปเอง หลังอายุ 2 ขวบ โดยที่คุณแม่ไม่ต้องไปเอาผ้ารัดหรือเทปรัดไว้ เพราะการรัดไม่ได้ทำให้หายเร็วขึ้น บางคนเอาเหรียญบาท หรือเอาวัสดุแบนๆ เล็กๆ ไปแปะไว้ก็ไม่ได้ผลเช่นกัน
ปกติสะดือจะมีขนาดเล็กมาก ประมาณ 1 ซม. (วัดเส้นผ่าศูนย์กลาง) แพทย์จะไม่ผ่าตัดให้เพราะมักจะหายไปเอง แต่ถ้าขนาดโตกว่า 1 ซม. จึงจะทำการผ่าตัด ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของศัลยแพทย์แต่ละคน ตามประสบการณ์ สะดือจุ่นในเด็กไม่มีอันตรายและจะไม่แตก แม้แกจะร้องจนท้องโป่ง จะไม่มีลำไส้หลุดออกมาในสะดือที่จุ่นนั้น
เมื่อไรถึงจะผ่าตัด
เมื่อขนาดของสะดือโตมากขึ้น โดยเฉพาะหลังอายุ 2 ขวบแล้ว
มีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง แพทย์ตรวจพบว่า มีลำไส้หลุดออกจากถุงสะดือ และเกิดอาการของลำไส้อุดตัน
เมื่อมีผลกระทบกระเทือนต่อจิตใจในเด็กเล็ก
ถ้ามีผลต่อสุขภาพจิตของคุณพ่อคุณแม่ แม้แพทย์จะแนะนำว่า รอให้เวลาผ่านไปก่อนจึงตัดสินใจผ่าตัด แต่ถ้ายังไม่ยอมแพทย์ก็อาจผ่าให้ ในเด็กโตหน่อยอาจเป็นที่ล้อเลียนของเพื่อนๆ ที่โรงเรียน ทำให้มีผลต่อการเรียนแพทย์อาจทำให้การผ่าตัดนั้นไม่มีอันตราย
เด็กเหล่านี้จะปกติเหมือนเด็กอื่นโดยทั่วไปสติปัญญาดี เจริญเติบโตตามปกติ แต่มีเรื่องสะดือจุ่นอย่างเดียวที่ไม่เหมือนเพื่อน แต่ยังมีเด็กอีกพวกหนึ่งที่มีโรคแทรกมาจากโรคที่มีสะดือจุ่น ร่วมกับความผิดปกติทางร่างกายอื่นๆ ที่คุณพ่อคุณแม่ทั้งหลายพึงระวัง เช่น
1. เด็กปัญญาอ่อนจากการขาดธัยรอยด์ฮอร์โมน ที่เรียกว่า “ครีตินนิสซึ่ม” เด็กจะมีลักษณะอื่นประกอบคือ เลี้ยงไม่โต แขนขาสั้น ลิ้นโตและหนา ซีด ท้องผูกมาก ผมไม่ค่อยขึ้น คิ้วบาง ท้องใหญ่มาก สะดือจุ่น พออายุได้ 1-2 เดือน เด็กก็ยังคออ่อน อายุ 8 เดือน ก็ยังพูดและนั่งไม่ได้ ถ้าเกิดกรณีดังว่านี้กับลูกของคุณ ให้รีบพาไปพบแพทย์ เด็กจะสมองทึบและปัญญาอ่อนได้ จนถึงขั้นเรียนไม่ได้ก็มี
2. เด็กปัญญาอ่อนจากการมีสารมูโคโพลีซัดคาไรค์คั่ง เรียกว่า Mucopolysaccharidosis ปกติร่างกายจะมีการใช้สารนี้ไป ไม่ปล่อยให้ค้างอยู่ โรคนี้ถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์จากปู่ ย่า ตา ยาย ลงมาดูภายนอกพ่อแม่อาจปกติดีแต่มีโรคนี้ซ่อนอยู่คนละครึ่ง พอมาถึงตัวเด็กจะมีความผิดปกติรวมอยู่ที่ตัวเขาทำให้เด็กไม่โต แม้ว่าแรกเกิดเขาจะดูปกติดี แต่ยิ่งเลี้ยงจะยิ่งแย่ลง คือไม่นั่ง ไม่เดิน ไม่พูด มีน้ำมูกไหลตลอดเวลา ลิ้นโต คิ้วตก ตาฝ้า หลังโก่ง มืองอ ตามข้อต่างๆ จะแข็ง ท้องโตมาก สะดือจุ่น ปัญญาอ่อนมาก ในที่สุดอาจถึงตายได้
ถ้าสังเกตเห็นว่า นอกจากสะดือจุ่นแล้ว เด็กยังเชื่องช้าผิดปกติ ไม่ค่อยเจริญเติบโตควรรีบพาไปพบแพทย์ เพราะถ้าเป็นโรคแทรกซ้อนแพทย์จะพบได้เร็วและรักษาได้ทันท่วงที เราสามารถทำให้เด็กเจริญเติบโตและเรียนหนังสือได้ ด้วยการให้ฮอร์โมน
โรคที่เกิดขึ้นที่สะดือ อาจมีผู้ที่รู้จักหรือพูดถึงกันน้อยมาก แต่ทางการแพทย์แล้วจะพบกันได้บ่อยๆ ส่วนมากแล้ว มักเป็นแต่กำเนิด หรือมาปรากฏอาการเมื่อเด็กโตแล้ว โรคที่สะดือนั้นก็อาจมีได้หลายโรค เช่น สะดืออักเสบ แผลเรื้อรังที่สะดือ หลังสายสะดือหลุด เช่นผนังหน้าท้องรอบๆ สะดือไม่เจริญ ทำให้มีลำไส้ และอวัยวะภายในออกมาอยู่นอกช่องท้อง ไส้เลื่อนที่สะดือหรือที่เรียกกันว่า สะดือจุ่น เป็นต้น
จะเห็นได้ว่า แค่ลูกคลอดออกมาแล้ว คุณแม่ชำระล้าง ทำความสะอาดตามร่างกาย (ทั่วไป) ให้ลูกยังไม่พอ ต้องทำความสะอาดสะดือให้ลูกด้วย ซึ่งจะต้องทำกันตั้งแต่ลูกน้อย คลอดออกมาเลยทีเดียว
นั่นคือเมื่อทารกคลอดจนตัดสายรกออกแล้ว คุณแม่จะต้องเอายาฆ่าเชื้อโรค (แอลกอฮอล์) คอยเช็ดให้ลูกอยู่เสมอ เพราะที่สะดือนั้นจะมีรอยจีบย่นๆ อยู่ ทำให้ฝุ่นละออง สิ่งสกปรก และเชื้อโรคต่างๆ เข้าไปสะสมอยู่ได้ง่าย หลังจากนั้นก็ให้ใช้ผ้าสะอาด ผืนเล็กๆ ห่อสายสะดือนั้นไว้ ทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆ จนกว่าแผลจะค่อยๆ แห้งหลุดและหายสนิท หากปล่อยให้สะดือของลูกเป็นแผล หรือเกิดหนองขึ้นมาจะเป็นอันตรายมาก และจะรักษาได้ยากกว่า การเกิดแผลที่ผิวหนังส่วนอื่นๆ ของร่างกาย
ขอบคุณ นิตยสารแม่และเด็ก ฉบับที่ 320 ตค. 2541
10 อันดับความก้าวหน้าหรือ medical breakthrough ทางการแพทย์ ประจำปี 2550 เรื่องที่ 3 วัคซีนไข้หวัดนก ตัวแรก ออกแล้ว ในปี 2007 ความกังวลว่า…
หลายคนคงเคยมีคำถาม จะขลิบหนังหุ้มปลาย อย่างไร เมื่อไร และทำไม โดยเฉพาะผู้เป็นพ่อแม่ที่มีลูกชาย อาจจะเคยมีแพทย์แนะนำให้ ขลิบหนังหุ้มปลายตั้งแต่เด็กยังเล็กๆเลย ซึ่งแน่นอน ว่าต้องเกิดความกังวลในใจคุณแน่ๆ (more…)
ข้อมูลจาก health day และศูนย์ข้อมูลโรคไตของสหรัฐ ได้ให้คำแนะนำสำหรับป้องกันการติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะ เช่นกระเพาะปัสสาวะและไต ดังนี้ ดื่มน้ำวันละมากๆ ห้ามกลั้นปัสสาวะนานๆ อาบน้ำโดยใช้การตักอาบหรือฝักบัว ดีกว่าใช้อ่างอาบน้ำ (more…)
การปลูกฝังสมาธิในเด็ก เป็นการปูพื้นความสามารถในการเรียนรู้ให้เด็ก ผมมีบทความดีๆจาก ศูนย์จินตคณิต http://www.imaxbrain.com พัทยา ที่นำมาจากการสัมนาเรื่อง สมาธิ คือจุดเริ่มต้นของการเรียนรู้ที่ดี มาฝากครับ (more…)
เหา (Pediculosis capitis) เหาเกิดจากเชื้อปาราสิต ชื่อว่า "Pediculus humanus" ซึ่งอาศัยอยู่บนหนังศีรษะ เส้นผม ขน ปาราสิตนี้จะคอยดูดเลือดกินเป็นอาหาร และวางไข่บนเส้นผม โดยหลั่งสารไคติน (chitin) หุ้มปลายหนึ่งของไข่…