ช่วงนี้ พบข่าวการระบาดของไข้มาลาเรีย(มาเลเรีย malaria ที่แต่ก่อนเรียกว่าไข้ป่า หรือไข้จับสั่น) เลยนำข้อมูลมาให้ครับ จากเอนไซโคลปีเดีย และจะนำเสนอรายละเอียดมาเพิ่มเป็นตอน ๆ ไป

1 เอนไซโคลปีเดียมาลาเรีย,malaria,ไข้จับสั่น คืออะไร ลองคลิกดู
2 เนื้อหา ไข้มาลาเรีย ซึ่งจะนำเสนอบทความสั้นๆ หลายตอนจบ ควรเก็บหน้านี้ไว้สำหรับอ้างอิง ต้องขอบคุณ กรมควบคุมโรคติดต่อ สำหรับเนื้อหาดีๆครับ

3.เนื้อหาการรักษา สำหรับแพทย์ พยาบาล ผมจะพยายามอัพเดตมาไว้ให้ครับ
มาลาเรีย
ไข้มาลาเรีย ที่เราเรียกว่าไข้จับสั่น หรือไข้เลือดออก เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อปรสิต (พยาธิเล็ก ๆ) ที่ติดผ่านมาจากยุงก้นปล่อง

โรคมาลาเรีย(Malaria) โรคมาลาเรียในคน เกิดจากเชื้อปรสิต plasmodium 4 ชนิด ได้ แก่

Plasmodium falciparum
Plasmodium vivax,
Plasmodium malariae
และ Plasmodium ovale

โดยมียุงก้นปล่องเป็นพาหะนําโรควงจรชีวิตของเชื้อมาลาเรียซึ่งมียุงก้นปล่องที่เป็นพาหะนั้นจะมีเชื้อมาลาเรียซึ่งอยู่ ในระยะที่เป็นตัวอ่อนเรียกว่าสปอโรซอยต์ (sporozoite) อยู ในต่อมน้ําลาย เมื่อมากัดคนก็จะปล่อยสปอโรซอยต์ เข้าสู่ กระแสโลหิต และเข้าสู่ เซลล์ ตับภายใน 1 ชั่วโมง หลังจากนั้นจะเพิ่มขนาดสร้างอวัยวะต่าง ๆ และแบ่งนิวเคลียสหลายครั้ง ได้ เป็นเมอรโรซอยต (merozoite)
สปอโรซอยต ของ P.vivax และ P.ovale บางส่วน เมื่อเข้าสู่ เซลล ตับแล้วจะหยุดพักการเจริญชั่วขณะ ซึ่งเป็นสาเหตุทําให้ เกิดอาการไข้ กลับ (relapse) ในผู้ป่วยเรียกระยะการหยุดพักนี้ว่า ฮิปโนซอยต์ (hypnozoite) เมอร์โรซอยต์ จะออกจากเซลล์ ตับเข้าสู่ เม็ดเลือดแดง และกินฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงเป็นอาหาร (โดยใช้ กระบวนการ pinocytosis )
เมอร์โรซอยต์ จะเจริญแบ่งตัวในเม็ดเลือดแดงเป็น4 ระยะ ได้แก่ 1. ระยะวงแหวน (ring form) 2. ระยะโทรโฟซอยต์ (trophozoite) 3. ระยะไซซอนท์ (Schizont) 4. ระยะเมอโรซอยต์
จากนั้นเมอโรซอยต์ จะแตกออกจากเม็ดเลือดแดง และเป็นอิสระในกระแสโลหิตชั่วระยะเวลาหนึ่งแล้วจึงเข้าสู่ เม็ดเลือดแดงใหม่ เป็นการเพิ่มจํานวนเชื้อมาลาเรียอย่างรวดเร็ว เมอร์ โรซอยต์ บางตัวจะเจริญไปเป็นเชื้อระยะมีเพศเรียกว่า แกมิโตไซต์ (gametocyte) ซึ่งมีทั้งเพศผู้และเพศเมีย เมื่อยุงก้นปล่องมากัดคนจะได้แกมิโตไซต์ เข้าไปอยู่ในกระเพาะอาหาร แล้วจะเจริญเติบโตและสืบพันธ์ได้เป็นไซโกต (Zygote) ไซโกตจะเจริญและแบ่งตัวได้เป็นสปอโรซอยต์จํานวนมาก และเคลื่อนออกจากกระเพาะอาหารเข้าสู่ ต่อมน้ำลายของยุง พร้อมที่จะถูกปล่อยเข้าสู่ กระแสโลหิตของคนต่อไป

อาการและอาการแสดงของโรค

อาการและอาการแสดงของโรคมาลาเรียไม่มีลักษณะพิเศษบ่งเฉพาะโดยมากจะมีอาการนําคล้ายกับคนเป็นไข้หวัด คือ มีไข้ต่ำ ๆ ปวดศีรษะ ปวดตามตัว และกล้ามเนื้อ อาจมีอาการคลื่นไส้ เบื่ออาหารได้อาการนี้จะเป็นเพียงระยะสั้นเป็นวัน หรือหลายวันได้ขึ้นอยู่กับระยะฟักตัวของเชื้อ ชนิดของเชื้อ จํานวนของสปอโรซอยต์ที่ผู ป่วยได้รับเข้าไป ภาวะภูมิต้านทานต่อเชื้อมาลาเรียของผู้ป่วย ภาวะที่ผู้ป่วยได้รับยาป้องกันมาลาเรียมาก่อน หรือได้รับยารักษามาลาเรียมาบ้างแล้ว

อาการไข้ซึ่งเป็นอาการที่เด่นชัดของมาลาเรีย ประกอบด้วย 3 ระยะคือ

1. ระยะสั่น ผู้ป่วยจะมีอาการหนาวสั่น ปากและตัวสั่น ซีด ผิวหนังแห้งหยาบ อาจจะเกิดขึ้นนานประมาณ 15 – 60 นาที ระยะนี้ตรงกับการแตกของเม็ดเลือดแดงที่มีเชื้อมาลาเรีย

2. ระยะร้อน ผู้ป่วยจะมีไข้สูง อาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย หน้าแดง ระยะนี้ใช้เวลา2 – 6 ชั่วโมง

3. ระยะเหงื่อออก ผู้ป่วยจะมีเหงื่อออกจนชุ่มที่นอน หลังจากระยะเหงื่อออก จะมีอาการอ่อนเพลีย ไข้ลด

ปัจจุบันนี้จะพบลักษณะทั้ง 3 ระยะได้น้อยมาก ผู้ป่วยจะมีไข้สูงลอยตลอดเวลา โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่เป็นมาลาเรียครั้งแรก เนื่องจากในระยะแรกของการติดเชื้อมาลาเรีย เชื้ออาจเจริญถึงระยะแก่ไม่พร้อมกันซึ่งอาจเป็นผลมาจากได้รับเชื้อในเวลาต่างกัน เชื้อจึงเจริญในเม็ดเลือดแดงไม่พร้อมกัน ทําให้เกิดมีเชื้อหลายระยะ การแตกของเม็ดเลือดแดงจึงไม่พร้อมกัน ผู้ป่วยมาลาเรียในระยะแรกอาจมีไข้สูงลอยตลอดวันแต่เมื่อผ่านไประยะหนึ่งแล้ว การแตกของเม็ดเลือดแดงเกิดขึ้นพร้อมกัน จะเห็นผู้ป่วยมีการจับไข้ หนาวสั่นเป็นเวลา แยกได้ชัดเจนตามชนิดของเชื้อมาลาเรีย

เชื้อไวแวกซ ฟัลสซิพารัม และโอวัลเล ใช้เวลาในการแบ่งตัว 48 ชั่วโมง จึงทําให้เกิดไข้ทุกวันที่3

ส่วนมาลาริอี ใช้เวลา 72 ชั่วโมง อาการไข้จึงเกิดทุกวันที่4 ภายหลังที่เป็นมาลาเรียได้ระยะหนึ่ง จะตรวจพบว่าผู้ป่วยซีด บางคนมีตัวเหลือง ตาเหลือง ตับและม้ามโต บางรายกดเจ็บ ถ้าเม็ดเลือดแดงแตกมาก ๆจะพบว่าผู้ป่วยมีปัสสาวะดํา

การป้องกันและการรักษา สามารถติดตามได้ในวันต่อๆไปจะนำมาลงให้ครับ

CK

2535 แพทยศาสตร์บัณฑิต เกียรตินิยมอันดับ1 มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2539 วุฒิบัตร อายุรศาสตร์

Share
Published by
CK

Recent Posts

วัคซีนป้องกันไข้หวัดนก(2550)

10 อันดับความก้าวหน้าหรือ medical breakthrough ทางการแพทย์ ประจำปี 2550 เรื่องที่ 3 วัคซีนไข้หวัดนก ตัวแรก ออกแล้ว ในปี 2007 ความกังวลว่า…

8 years ago

ขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ ทำไม อย่างไร เมื่อไร

หลายคนคงเคยมีคำถาม จะขลิบหนังหุ้มปลาย อย่างไร เมื่อไร และทำไม โดยเฉพาะผู้เป็นพ่อแม่ที่มีลูกชาย อาจจะเคยมีแพทย์แนะนำให้ ขลิบหนังหุ้มปลายตั้งแต่เด็กยังเล็กๆเลย ซึ่งแน่นอน ว่าต้องเกิดความกังวลในใจคุณแน่ๆ (more…)

8 years ago

Health tip ป้องกันการเกิดกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

ข้อมูลจาก health day และศูนย์ข้อมูลโรคไตของสหรัฐ ได้ให้คำแนะนำสำหรับป้องกันการติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะ เช่นกระเพาะปัสสาวะและไต ดังนี้ ดื่มน้ำวันละมากๆ ห้ามกลั้นปัสสาวะนานๆ อาบน้ำโดยใช้การตักอาบหรือฝักบัว ดีกว่าใช้อ่างอาบน้ำ (more…)

8 years ago

สมาธิ จุดเริ่มต้นในการพัฒนาการเรียนของเด็ก

การปลูกฝังสมาธิในเด็ก เป็นการปูพื้นความสามารถในการเรียนรู้ให้เด็ก ผมมีบทความดีๆจาก ศูนย์จินตคณิต http://www.imaxbrain.com พัทยา ที่นำมาจากการสัมนาเรื่อง สมาธิ คือจุดเริ่มต้นของการเรียนรู้ที่ดี มาฝากครับ (more…)

8 years ago

ไข้หวัด

ไข้หวัด เกิดจากเชื้อไวรัสหวัด เด็กเล็ก ๆ อายุต่ำกว่า 6 เดือน เป็นหวัดน้อยกว่าเด็กโต ทั้งนี้เพราะ เด็กทารกช่วงวัยนั้น ได้รับภูมิต้านทาน เชื้อโรคหวัด ผ่านทางรก และเลือดของแม่ ตั้งแต่อยู่ในครรภ์…

8 years ago

เหา Pediculosis capitis

เหา (Pediculosis capitis) เหาเกิดจากเชื้อปาราสิต ชื่อว่า "Pediculus humanus" ซึ่งอาศัยอยู่บนหนังศีรษะ เส้นผม ขน ปาราสิตนี้จะคอยดูดเลือดกินเป็นอาหาร และวางไข่บนเส้นผม โดยหลั่งสารไคติน (chitin) หุ้มปลายหนึ่งของไข่…

8 years ago