แพทยสภาย้ำ สเต็มเซลล์ใช้เฉพาะในโรคเลือด ที่เหลือถือเป็นการทดลอง
ได้สอบถามความเห็นเกี่ยวกับการรักษาทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นโรคทางผิวหน้า ทั้งกิน ทั้งทา ทั้งฉีดที่มีกันอยู่มากมายตามคลินิคหรือโรงพยาบาลต่างๆ นั้น ถือว่า ยังไม่ถูกต้อง เพราะสเต็มเซล ทางอเมริกา ใช้ในโรคเลือด ที่เหลือยังอยู่ในระหว่างวิจัย แพทยสภาจึงออกมาตรการและตั้งคณะกรรมการขึ้นมา
แพทยสภาเตรียมจัดระเบียบการใช้สเต็มเซลล์รักษาโรค ชี้ วงการแพทย์ยอมรับเฉพาะโรคการใช้สเต็มเซลล์รักษาโรคเลือดเท่านั้น ตั้งอนุกรรมการพิจารณาการปลูกถ่ายอวัยวะด้วยเซลล์ต้นกำเนิด พร้อมร่างข้อบังคับแพทยสภา ด้านจริยธรรมการใช้สเต็มเซลล์เป็นมาตรฐานวิชาชีพ เสนอตั้งคณะกรรมการกลางและคณะกรรมการวิจัยสเต็มเซลล์โดยเฉพาะ ถกนัดแรก 21ก.ย.นี้
วันนี้ (17 ก.ย.) นพ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา นายกแพทยสภา กล่าวว่า แพทยสภาได้ดำเนินการตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมา 2 ชุด เพื่อพิจารณาเรื่องการปลูกถ่ายอวัยวะด้วยเซลล์ต้นกำเนิด หรือ สเต็มเซลล์ (Stem cell) โดยคณะอนุกรรมการชุดแรก มี พญ.อนงค์ เพียรกิจกรรม เป็นประธานในการกำหนดแนวทางการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด และคณะอนุกรรมการชุด 2 มีตนเป็นประธานพิจารณาร่างข้อบังคับแพทย์สภา ว่าด้วยการรักษาจริยธรรมทางวิชาชีพเวชกรรม (ฉบับที่…) พ.ศ…. เกี่ยวกับการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด ขณะที่ปัจจุบันสถานพยาบาลนำสเต็มเซลล์ไปใช้ในการรักษาเป็นจำนวนมากโดยไม่ทราบว่ามีมาตรฐานหรือไม่ เนื่องจากการรักษาด้วยสเต็มเซลล์ที่ได้รับการยอมรับมีเพียงโรคทางโลหิตวิทยาเท่านั้น ส่วนการนำมารักษาโรคอวัยวะส่วนอื่นๆ ยังอยู่ในขั้นตอนการวิจัยทดลองทั้งสิ้น ดังนั้น แพทยสภาจึงเสนอให้มีการตั้งคณะกรรมการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับสเต็มเซลล์โดยเฉพาะ และตั้งคณะกรรมการกลางการวิจัยในคนขึ้น โดยในวันที่ 21 ก.ย.แพทยสภาจะหารือกับกระทรวงสาธารณสุขในการตั้งคณะกรรมการกลางขึ้นมา 1 ชุด โดยมีผู้เชี่ยวชาญด้านสเต็มเซลล์ และผู้ทรงคุณวุฒิจากหลายหน่วยงานต่างๆ ร่วมพิจารณา
“การใช้สเต็มเซลล์ในการรักษาซึ่งอยู่ในขั้นการทดลองวิจัย แต่มีการเรียกเก็บเงินคนไข้ ซ้ำยังไม่รู้ว่ามีอันตรายหรือไม่ ข้อดีข้อเสียอย่างไร จึงอย่างเตือนประชาชน ไม่ให้ถูกหลอก โดยแพทยสภาไม่ได้มีเจตนาในการขัดขวางการวิจัยสเต็มเซลล์ แต่อย่างใด โดยอยากให้มีการตั้งคณะกรรมการจริยธรรมการเกี่ยวกับการวิจัยสเต็มเซลล์โดยเฉพาะ เนื่องจากการ การวิจัยสเต็มเซลล์ที่ผ่านเพียงคณะกรรมการจริยธรรมวิจัยในคนที่มีประจำของแต่ละสถานพยาบาลอาจเกิดอคติ เพราะล้วนแต่เป็นคนในด้วยกัน ดังนั้น จำเป็นต้องหาคนกลางมาตัดสินว่างานวิจัยนั้นดำเนินการได้หรือไม่ พร้อมกันนี้ จะมีการออกข้อบังคับของแพทยสภา เพื่อเป็นการคุ้มครองประชาชน ไม่ให้ต้องโดนหลอกเสียเงินโดยไม่จำเป็น”นพ.สมศักดิ์ กล่าวและว่า อย่างไรก็ดี ขณะนี้แพทยสภาไม่สามารถดำเนินการกับสถานพยาบาล หรือแพทย์ที่ใช้สเต็มเซลล์ในการรักษาได้ เนื่องจากเป็นช่องโหว่ของกฎหมาย ที่ตามทัน และยังไม่มีกฎหมายรองรับ
นพ.สมศักดิ์ กล่าวด้วยว่า ปัจจุบันการเก็บสายสะดือเป็นที่นิยมกันมากโดยหวังว่าจะนำสเต็มเซลล์ไปใช้รักษาโรคของเจ้าของสะดือในอนาคต แต่ความเป็นจริงจะมีโอกาสได้ใช้มากน้อยเพียงใด ขณะนี้ในประเทศสหรัฐอเมริกาได้เก็บสายสะดือไว้เป็นส่วนกลางของสาธารณะ หากผู้ป่วยรายใดต้องการใช้และเนื้อเยื่อสามารถตอบรับกันได้ก็สามารถนำไปใช้ได้ ซึ่งแนวโน้มในอนาคตก็กำลังเป็นเช่นนั้น
อนึ่งจากเอกสารวิชาการที่เผยแพร่โดยแพทยสภา เรื่องจริยธรรมเกี่ยวกับการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด ศ.นพ.สุรพล อิสระไกรศีล อาจารย์ประจำหน่วยโลหิตวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล ระบุว่า เซลล์ต้นกำเนิดใช้รักษาโรคอื่นๆ นอกจากโรคโลหิตวิทยาได้ผลหรือไม่นั้น มีการนำเซลล์ต้นกำเนิดจากเลือดหรือไขกระดูก หรือเลือดสายสะดือ มาใช้ในการรักษาโรคหัวใจขาดเลือด โรคกระดูก โรคระบบประสาท และโรคเบาหวาน แผลที่เกิดในผู้ป่วยเบาหวาน ส่วนใหญ่เป็นรายงานเบื้องต้นในการทดลองคลินิก เพียง 9 การศึกษา มีทั้งได้ผลและไม่ได้ผล ในกลุ่มที่ได้ผลมักได้ผลไม่มากและได้ผลชั่วคราว สำหรับโรคอื่นยังไม่มีข้อมูลของการวิจัยทางคลินิกมาก่อนหน้านี้
ส่วนข้อมูลของ ศ.นพ.ทวิป กิตยาภรณ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยทางการแพทย์ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล ระบุว่า ค่าใช้จ่ายในกระบวนการรักษาโรคด้วยเซลล์ต้นกำเนิด เนื่องจากกระบวนการใช้สเต็มเซลล์ยังอยู่ในระยะการวิจัยทางคลินิกระยะ 1-2 มีวัตถุประสงค์หลักที่จะตอบคำถามวิจัยว่า มีความปลอดภัยต่อผู้ได้รับสเต็มเซลล์เพื่อการรักษาโรคมากน้อยเพียงใด ฯลฯ ในขั้นตอนดังกล่าว ค่าใช้จ่ายสำหรับการนี้ควรเป็นหภาระที่ผู้ให้ทุนจะต้องรับผิดชอบ อีกทั้งต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลผู้ป่วยที่เข้าร่วมการวิจัยหากเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์อันเกี่ยวข้องโดยตรงจากการวิจัยด้วย
ใครที่จ่ายเงินเพื่อเป็นหนูทดลองต้องระวังตนเองดีๆ เพราะเซลใหม่ที่เข้าไป ถ้าเจริญเติบโตและควบคุมไม่ได้ ทางการแพทย์เรียกว่า มะเร็ง !!!!!
10 อันดับความก้าวหน้าหรือ medical breakthrough ทางการแพทย์ ประจำปี 2550 เรื่องที่ 3 วัคซีนไข้หวัดนก ตัวแรก ออกแล้ว ในปี 2007 ความกังวลว่า…
หลายคนคงเคยมีคำถาม จะขลิบหนังหุ้มปลาย อย่างไร เมื่อไร และทำไม โดยเฉพาะผู้เป็นพ่อแม่ที่มีลูกชาย อาจจะเคยมีแพทย์แนะนำให้ ขลิบหนังหุ้มปลายตั้งแต่เด็กยังเล็กๆเลย ซึ่งแน่นอน ว่าต้องเกิดความกังวลในใจคุณแน่ๆ (more…)
ข้อมูลจาก health day และศูนย์ข้อมูลโรคไตของสหรัฐ ได้ให้คำแนะนำสำหรับป้องกันการติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะ เช่นกระเพาะปัสสาวะและไต ดังนี้ ดื่มน้ำวันละมากๆ ห้ามกลั้นปัสสาวะนานๆ อาบน้ำโดยใช้การตักอาบหรือฝักบัว ดีกว่าใช้อ่างอาบน้ำ (more…)
การปลูกฝังสมาธิในเด็ก เป็นการปูพื้นความสามารถในการเรียนรู้ให้เด็ก ผมมีบทความดีๆจาก ศูนย์จินตคณิต http://www.imaxbrain.com พัทยา ที่นำมาจากการสัมนาเรื่อง สมาธิ คือจุดเริ่มต้นของการเรียนรู้ที่ดี มาฝากครับ (more…)
เหา (Pediculosis capitis) เหาเกิดจากเชื้อปาราสิต ชื่อว่า "Pediculus humanus" ซึ่งอาศัยอยู่บนหนังศีรษะ เส้นผม ขน ปาราสิตนี้จะคอยดูดเลือดกินเป็นอาหาร และวางไข่บนเส้นผม โดยหลั่งสารไคติน (chitin) หุ้มปลายหนึ่งของไข่…