เหา (Pediculosis capitis)
เหาเกิดจากเชื้อปาราสิต ชื่อว่า “Pediculus humanus” ซึ่งอาศัยอยู่บนหนังศีรษะ เส้นผม ขน ปาราสิตนี้จะคอยดูดเลือดกินเป็นอาหาร และวางไข่บนเส้นผม โดยหลั่งสารไคติน (chitin) หุ้มปลายหนึ่งของไข่ ให้เกาะติดแน่นอยู่ มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า บางคนไม่มีอาการเท่าใด แต่จะสร้างความรำคาญใจได้
อายุ
เหาจะพบบ่อยในเด็กวัยเรียนมากที่สุด แต่จริง ๆ แล้วพบทุกเพศทุกวัย
ตำแหน่งที่พบบ่อย
เหาจะพบบ่อยที่ศีรษะด้านท้ายทอย หลังหู อาจลามมาที่คิ้ว คอ ได้ แต่พบน้อย
อาการ
จะมีอาการคันที่บริเวณด้านหลังและด้านตรงศีรษะ ถ้าเกามากเป็นหนอง สะเก็ดแห้งกรัง ได้ บางครั้งเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนทำให้ต่อมน้ำเหลืองที่บริเวณท้ายทอย และข้างคอโตได้ ในทางตรงกันข้าม บางคนอาจจะไม่มีอาการใดมาก ไม่คันมาก
การตรวจร่างกาย
ตัวเหาบนศีรษะ สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า หรืออาจใช้แว่นขยายช่วยส่องดู ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีตัวเหาบนศีรษะน้อยกว่า 10 ตัว น้ำลายของตัวเหาจะมีสารซึ่งระคายเคืองผิวหนังได้ ทำให้เกิดตุ่มคันตรงรอยกัด
ลักษณะไข่ (Nits)
ไข่รูปวงรี ยาว 1 มิลลิเมตร สีขาวขุ่น เกาะติดแน่นกับเส้นผม จำนวนแตกต่างหันเป็นร้อยเป็นพันได้ ตัวเหาจะวางไข่ที่บริเวณโคนรากผม เมื่อผมยาวขึ้นก็จะเห็นไข่เหาเขยิบห่างจากหนังศีรษะมากขึ้น เช่น ปกติผมจะยาววันละ ประมาณ 0.5 มิลลิเมตร ถ้าพบไข่อยู่บนเส้นผมห่างจากหนังศีรษะหรือโคนรากผม ประมาณ 15 เซนติเมตร แสดงว่าเป็นเหามาประมาณ 9 เดือนแล้ว
ไข่ที่ยังมีตัวอยู่จะมีสีเหลืองขุ่น แต่ไข่ที่ว่างเปล่าไม่มีตัวจะมีสีขาวขุ่น
การวินิจฉัย
ตรวจดูเห็นตัวและไข่เหา
การวินิจฉัยแยกโรค
รังแค (dandruff) จะเป็นสะเก็ด ขุยลอกเล็ก ๆ บนศีรษะ ตัวขุยเล็ก ๆ นี้ จะไปติด แน่นกับเส้นผม เหมือนไข่เหา
การใช้เจลใส่ผม (hair gel)เจลใส่ผม บางครั้งเมื่อทำปฏิกิริยากับเส้นผม แล้วจะแห้งกรัง เกาะติดเป็นแผ่นเล็ก ๆ บนเส้นผมได้
โรคหนังศีรษะอักเสบ (seborrheic capitis) จะมีอาการคัน สะเก็ดลอก หนา เป็นแผ่น ๆ บางครั้งมีแผล น้ำ เหลืองแห้งกรัง
การติดต่อของโรคเหา
เป็นการติดต่อทางการสัมผัสโดยตรง (direct contact) เช่น
การใช้หวี แปรง ร่วมกัน
การใช้หมวก ร่วมกัน
การใช้หมอน ที่นอนร่วมกัน
จากศีรษะคนหนึ่งไปที่ศีรษะอีกคนหนึ่งเพราะฉะนั้นจึงมักพบระบาดในโรงเรียน ได้บ่อย เพราะเด็กนักเรียนจะวิ่งเล่นใกล้ชิดกันมาก
การรักษา
การโกนผม จะช่วยได้มาก และสะดวกดี ไม่สิ้นเปลือง แต่เด็ก จะอายเพื่อนฝูง
การใช้หวีเสนียด คือ หวีซึ่งมีซี่ของหวีถี่มากใช้สางผมทำให้ทั้ง ตัวเหาและไข่เหา หลุดติดกับหวีออกมาได้
การใช้ยาฆ่าเหา ชื่อทางการค้าว่า จาคูติน (Jacutin) ใช้ทา ศีรษะ ทิ้งไว้ 12 ชั่วโมง ล้างออกใช้ทาติดต่อกัน 3 วัน
การใช้ยาปฏิชีวนะ ถ้าเกิดมีเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนเกิดขึ้น
ยากินกลุ่มแอนติฮีสตามีน ใช้กินเพื่อระงับอาการคัน
การป้องกัน
อย่าใช้ของร่วมกัน เช่น หวี แปรง หมวก ที่นอน หมอน เป็นต้น
ปลอกหมอน ควรซัก ตากแดด หรือใช้ต้มน้ำร้อน
การรักษา ควรรักษาทั่วทั้งบ้าน ทั้งโรงเรียน ที่มีการระบาดเกิด ขึ้น
10 อันดับความก้าวหน้าหรือ medical breakthrough ทางการแพทย์ ประจำปี 2550 เรื่องที่ 3 วัคซีนไข้หวัดนก ตัวแรก ออกแล้ว ในปี 2007 ความกังวลว่า…
หลายคนคงเคยมีคำถาม จะขลิบหนังหุ้มปลาย อย่างไร เมื่อไร และทำไม โดยเฉพาะผู้เป็นพ่อแม่ที่มีลูกชาย อาจจะเคยมีแพทย์แนะนำให้ ขลิบหนังหุ้มปลายตั้งแต่เด็กยังเล็กๆเลย ซึ่งแน่นอน ว่าต้องเกิดความกังวลในใจคุณแน่ๆ (more…)
ข้อมูลจาก health day และศูนย์ข้อมูลโรคไตของสหรัฐ ได้ให้คำแนะนำสำหรับป้องกันการติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะ เช่นกระเพาะปัสสาวะและไต ดังนี้ ดื่มน้ำวันละมากๆ ห้ามกลั้นปัสสาวะนานๆ อาบน้ำโดยใช้การตักอาบหรือฝักบัว ดีกว่าใช้อ่างอาบน้ำ (more…)
การปลูกฝังสมาธิในเด็ก เป็นการปูพื้นความสามารถในการเรียนรู้ให้เด็ก ผมมีบทความดีๆจาก ศูนย์จินตคณิต http://www.imaxbrain.com พัทยา ที่นำมาจากการสัมนาเรื่อง สมาธิ คือจุดเริ่มต้นของการเรียนรู้ที่ดี มาฝากครับ (more…)
ถ้าคุณมีปัญหาเรื่องปวดเมื่อยจากการทำงานหนัก หรือออกกำลังกายมากๆ เรามีวิธีการช่วย จาก national library of medicine:healthdays news. ให้กล้ามเนื้อได้พัก การปวดเมื่อยแสดงว่ามีปัญหาเรื่องการไม่ได้พัก นอนพัก อย่าออกกำลังกายหนัก อาจรับประทานยากลุ่มต้านอักเสบ เช่น…