spirochete

syphilis ซิฟิลิส

Syphilis ซิฟิลิส โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ที่เราคุ้นเคยกันดีเพราะเป็นโรคที่เกิดและได้ยินมาตั้งแต่โบราณ เป็นโรคที่เกิดในบุคคลดังหลายคน  การติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และเกิดผลข้างเคียงต่อสุขภาพได้มากมาย

ซิฟิลิสจำแนกเป็น 4 ระยะ คือ primary , secondary , latent และ tertiary ของไทยคงเรียกเป็น ระยะแรก ระยะที่สองหรือเข้าข้อออกดอก ระยะแฝง และระยะสาม 

ซิฟิลิสติดต่อและแพร่กระจายอย่างไร

การติดต่อจะเกิดจากการไปสัมผัสผู้ที่มีแผลซิฟิลิสโดยตรง ในขณะมีเพศสัมพันธ์ โดยแผลอาจจะอยู่ที่อวัยเพศ ผิวหนัง หรือที่ปาก ซิฟิลิส สามารถติดต่อจากแม่ไปยังลูกได้ด้วย 

syphilis
ลักษณะแผลซิฟิลิส

เชื้อซิฟิลิส

ซิฟิลิสเป็นเชื้อแบคทีเรีย ชนิดสไปโรขีต (มีการบิดเป็นเกลียว) ซึ่งสามารถส่องเห็นทางกล้องจุลทรรศน์ได้ โดยการป้ายจากแผล

spirochete
syphilis ที่มา britannica.com

ระยะต่างๆของซิฟิลิส

  1. ซิฟิลิส ระยะที่ 1: เมื่อได้รับเชื้อเข้าร่างกายหลังจาก 1-2 สัปดาห์จะเกิดเป็นตุ่ม เล็กๆ และขยายออกจนเกิดเป็นแผลที่มีลักษณะเป็นแผลลักษณะสะอาด ขอบแผล เรียบและแข็ง ไม่เจ็บ เรียกว่า chancre แผลอาจเกิดที่อวัยวะเพศ ทวารหนัก หรือ ปากก็ได้ แตกต่างจากแผลริมอ่อนหรือเริ่มที่มักมีอาการเจ็บ เพศหญิงอาจเกิดแผลใน ช่องคลอดทำให้มองไม่เห็นร่วมกับไม่มีอาการเจ็บเป็นเหตุให้แพร่เชื้อสู่คู่นอนได้ง่าย ใน ขณะที่กลุ่มชายรักชายอาจทำให้เกิดแผลที่รอบทวารหนักและพบว่ามีอาการเจ็บ ทำให้ สับสนกับโรคอื่น เช่น anal fissure ได้ ผู้ป่วยบางรายอาจมีหลายแผลโดยเฉพาะใน รายที่มีการติดเชื้อเอชไอวีร่วมด้วย เชื้อจะเข้าไปอยู่ที่ต่อมน้ำเหลืองบริเวณข้างเคียง ส่ง ผลให้มีต่อมน้ำเหลืองที่ขาหนีบโต เมื่อปล่อยทิ้งไว้แผลสามารถหายเองได้โดยไม่ต้อง รักษา

ซิฟิลิส ระยะที่ 2: พบได้หลังจากระยะแรก 4-10 สัปดาห์ ช่วงนี้จะเป็นช่วงที่มี

เชื้ออยู่ในเลือดปริมาณมากที่สุด ผู้ป่วยมีผื่นตามลำตัว ผื่นตามฝ่ามือฝ่าเท้า อาจมีผื่น condylomata lata ผื่นในช่องปาก (mucous patch) ผมร่วง ต่อมน้ำเหลืองที่ขาหนีบ และที่ตำแหน่งอื่นๆโต ผื่นในชิฟิลิสระยะที่ 2 มักมีสีแดงหรือชมพูขนาดประมาณ 3 ถึง 10 มิลลิเมตร บางรายอาจลุกลามจนกลายเป็นลักษณะคล้ายตุ่มหนองเรียกว่า pustular syphilis บางรายอาจเกิดลักษณะเป็นผื่นขุยได้ จนดูคล้ายโรคสะเก็ดเงิน ผื่น มากขึ้นในลักษณะสมมาตรและอาจกระจายได้ทั่วตัวร่วมกับมักพบบริเวณฝ่ามือและฝ่าเท้า หรือบางรายอาจขึ้นเฉพาะที่ฝ่ามือและฝ่าเท้าอย่างเดียวก็ได้ ในรายที่มีรอยโรค บริเวณรูขุมขนอาจทำให้มีผมร่วงเป็นหย่อมๆ หรือมีลักษณะคิ้วหรือหนวดบางลงร่วม ด้วย ในบริเวณที่มีลักษณะชิ้นและอุ่นรอยโรคอาจขยายบริเวณกว้างและเชื่อมติด กันเกิดเป็นลักษณะที่เรียกว่า condyloma lata ต่อมน้ำเหลืองมักพบกระจายทั่วไป โดยมีลักษณะบวมแข็งเล็กน้อยไม่นุ่ม ผู้ป่วยอาจมีอาการไข้ต่ำๆ อ่อนเพลีย คลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ปวดข้อหรือปวดกล้ามเนื้อร่วย ด้วยได้ สามารถพบรอยโรคบริเวณลูกตาได้โดยเกิดได้ตั้งแต่กระจกตา ม่านตา วุ้นลูกตารวมไปถึงเส้นประสาทตา

Syphilis ผื่นในระยะสอง syphilis

ซิฟิลิส ระยะแฝง: หลังจากพ้นระยะที่ 2 เป็นเวลาหลายสัปดาห์ถึงหลาย เดือนจะเข้าสู่ระยะแฝง ซึ่งหมายถึงระยะที่สามารถตรวจพบโดยการตรวจทาง serology แต่ไม่มีอาการทางคลินิก สามารถอยู่ในระยะนี้ไปตลอดหรือก่อให้เกิดโรค อลูกสอดสด ระยะที่ 3 ซึ่งเกิดได้หนึ่งในสามของผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการรักษา ในระยะ สามารถเกิดโรคกลับเป็นซ้ำเข้าสู่ระยะที่ 2 ได้เช่นกันและสามารถเกิดการติดเชื้อ จากแม่สู่ลูกได้ มีการแบ่งซิฟิลิสระยะแฝงเป็นช่วงต้นและช่วงปลายโดยตัดที่เวลา ประมาณ 1 ปีหลังเกิดการติดเชื้อ

ซิฟิลิส ระยะที่ 3: มักมีการดำเนินโรคที่เป็นไปอย่างช้าๆ โดยเกิดการอักเสบ และทำลายอวัยวะที่เข้าไปเกี่ยวข้องซึ่งอาจแสดงอาการให้เห็นได้ตั้งแต่ 5 ถึง 30 ปีหลัง ติดเชื้อ ประกอบด้วย แผลซิฟิลิสระยะที่ 3 (benign gummatous syphilis) ซิฟิลิส ระบบหัวใจและหลอดเลือด (cardiovascular syphilis) และซิฟิลิสระบบประสาท (neurosyphilis) ซึ่งปัจจุบันแทบไม่พบซิฟิลิสระยะที่ 3 แล้ว

ซิฟิลิสระบบประสาท อาจพบได้ตั้งแต่ไม่มีอาการ หรือแสดงอาการแบบเยื่อหุ้ม สมองอักเสบ หรือเกิดความผิดปกติของเนื้อสมองทำให้เกิดอาการอ่อนแรงหรือเกิดเป็น tabes dorsalis ได้

Asymptomatic neurosyphilis หมายถึงตรวจพบความผิดปกติของน้ำไขสันหลังโดยที่ไม่มีอาการ สามารถตรวจพบได้ในผู้ป่วยถึง 30 ถึง 50% โดยเฉพาะใน ช่วง 12 ถึง 18 เดือนแรกหลังติดเชื้อ ผู้ที่ติดเชื้อเข้าสู่ระบบไขสันหลังโดยไม่เกิดอาการ มีการดำเนินโรค 3 รูปแบบ คือ หายเองโดยไม่ได้รับการรักษา คงสภาพอยู่ในน้ำไข สันหลังโดยไม่แสดงอาการต่อไป หรือท้ายสุดคือก่อให้เกิดอาการทางระบบประสาท

Share

Comments are closed.