update

  • ไข้หวัดมะเขือเทศ โรคคล้ายมือเท้าปากที่ต้องระวัง

    ไข้หวัดมะเขือเทศ โรคคล้ายมือเท้าปากที่ต้องระวัง (tomato flu and HFMs) ปีนี้ ถือเป็นวิบากกรรมของชาวโลกเลย เรามีโควิด-19 ที่ระบาดข้ามมาหลายปี ต่อเนื่องด้วยฝีดาษลิง ที่รอเวลาปะทุ ถัดมาเมื่อกลางปีนี้เอง โลกก็รู้จักไข้หวัดและผื่นใหม่ ที่ชื่อเรียกไม่เป็นทางการว่า ไข้หวัดมะเขือเทศ (Tomato flu)เราลองมาดูว่า จะเหมือน หรือแตกต่างอย่างไร กับ ไข้มือเท้าปาก

  • ผู้หายป่วยจากโควิด พบเสี่ยงเป็นเบาหวาน โรคหัวใจ และเส้นเลือดอุดตันมากกว่าปกติหลายเท่า

    โควิด พบเสี่ยงเป็นเบาหวาน โรคหัวใจ และเส้นเลือดอุดตันมากกว่าปกติหลายเท่า การติดเชื้อไวรัสโควิด นอกจากจะทำให้เสี่ยงในช่วงเวลาที่เป็นแล้วยังพบว่า มีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด รวมถึงเพิ่มโอกาสเป็นเบาหวานมากกว่าปกติ การศึกษาในผู้ป่วยกลุ่มใหญ่ในอังกฤษ โดยรีวิวประวัติจากผู้ป่วยกว่า 4 แสนรายที่หายป่วยจากเชื้อไวรัสโควิด covid-19 โดยมหาวิทยาลัยคิงคอลเลจ จนถึงเดือน มค. 2022 ลงในวารสาร PLOS medicine พบว่า อัตราการพบผู้ป่วยเบาหวาน เพิ่ม 81% ในช่วงเกิดอาการ และคงเพิ่มอย่างต่อเนื่องแม้จะหายป่วยไปแล้วถึง 1-3 เดือน การติดเชื้อเฉียบพลันของไวรัสโควิด 19 ก่อให้เกิดอาการอุดตันของหลอดเลือด เพิ่มจากคนปกติ 6 เท่า โดยเฉพาะ การอุดกั้นของหลอดเลือดในปอดเพิ่มขึ้น 11 เท่า อัตราการเกิดการเต้นของหัวใจผิดปกติก็เพิ่ม เช่นเดียวกันกับ การอุดตันของหลอดเลือดดำส่วนอื่น การศึกษาจากแหล่งเพิ่มเติม พบ อัตราการเป็นโรคหัวใจหลอดเลือดและเบาหวาน ยังเพิ่มจนกระทั่ง 3 เดือนภายหลังจากหายจากโควิดแล้ว อย่างไรก็ตาม มีข้อวิจารณ์ว่า เรายังไม่สามารถสรุปได้อย่างเต็มปาก เพราะผู้ที่เป็นโควิด นอกจากจะมีปัจจัยเสี่ยงกว่าคนปกติ ยังเป็นผู้ที่มีแนวโน้มน้ำหนักเกิน ที่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อเบาหวานอยู่แล้วด้วย

  • โรคไข้ปวดข้อ ชิคุนกุนยา Chikungunya มากับยุงลาย -update

    โรคไข้ปวดข้อ ชิคุนกุนยา Chikungunya มากับยุงลาย -update 0 โรคประจำถิ่นของไทยและของหลายแห่งในโลก ที่มียุงลายเป็นพาหะ เช่นเดียวกับไข้เลือดออก Introduction ชิคุณกุนยา เกิดจากเชื้อไวรัส ชิคุนกุนยา Chikungunya virus (CHIKV) เป็น RNA ไวรัส สายเดี่ยว อยู่ใน genus alphavirus , family Togaviridae  พบครั้งแรกที่ประเทศแทนซาเนีย เมื่อ ปี 1953 มี 3 genotype ตามพื้นที่ คือWest African genotype, East/Central/South African (ECSA) genotype, and Asian genotype จากข้อมูลย้อนหลังไปเมื่อ 12 ปีที่ผ่านมา มีประชากรโลกป่วยมากกว่า 4 ล้านคน แม้ว่าจะมีคนป่วยมาก แต่องค์ความรู้เราลึกๆยังไม่ค่อยพัฒนามาก เท่าไข้เลือดออก ที่แพร่จากยุงลายเช่นกัน จากการศึกษาทางไวรัสวิทยา […]

  • ระวัง Covid-19 สายพันธ์ G D614Gในคนที่เคยเป็น Covid แล้ว ภูมิคุ้มกันเดิมไม่ได้ผล

    ระวัง Covid-19 สายพันธ์ G D614G mutationระบาดในคนที่เคยเป็น Covid แล้ว ภูมิคุ้มกันเดิมไม่ได้ผล รายงานจากผลการวิจัยในประเทศจีน ค้นพบความจริง ที่น่าตกใจว่า การที่เชื้อเปลี่ยนสายพันธ์ ทำให้ภูมิคุ้มกันเดิมไม่ได้ผล ดับความหวังของวัคซีนทีร่พัฒนาไปแล้วรุ่นแรกๆ ! D614G mutation เป็นการเปลี่ยนโปรตีนที่หนาม Spike จากบทความอัพเดตนี้ จากเดิม ที่สายพันธ์ L ระบาดในจีน ข้ามฝั่งไปอเมริกา และยุโรป กลายพันธ์ด้วยวิธีการนี้ เกิดเป็นสายพันธ์ GH และ GR ซึ่งพบว่า ก่อให้เกิดการระบาดง่ายกว่าเดิม เพราะเชื้อมาอยู่บริเวณทางเดินหายใจส่วนบนมากขึ้น ยิ่งกว่านั้น นักวิจัยชาวจีนยังพบว่า เมื่อเอาเลือดที่มีแอนติบอดี้ จากผู้ที่เคยติดโควิดรอบก่อน มาทำปฏิกิริยากับ โควิดสายพันธ์ใหม่ ปรากฎว่า ไม่สามารถป้องกันได้ ! สายพันธ์การระบาดใหม่ที่ว่า ได้มาจากการระบาดรอบใหม่ที่ตลาด Xinfadi ในปักกิ่ง ซึ่งเชื่อว่าติดมาจากปลาแซลม่อนแช่แข็งที่มาจากยุโรป ศ.ฮวง จาก Chongqing Medical University กล่าวว่า […]

Related lists

Hospital Lists