โรคความดันโลหิตสูง Hypertension (อัพเดต 2024) ถือเป็นโรคเรื้อรังโรคหนึ่งที่มีประวัติยาวนาน คู่กับการแพทย์ มีการปรับเปลี่ยนแนวทางปฏิบัติมาเรื่อยๆล่าสุดคือ 2024 หรือ 2567
ในปี 2024 เราได้อัพเดตคำแนะนำเกี่ยวกับภาวะความดันโลหิตสูง ตามไกด์ไลน์ของ ESC (ESH European Society of Hypertension ) และ AHA รวมถึงสมาคมโรคความดันโลหิตสูงของไทย แนวทางปฏิบัตใหม่นี้ จะเน้นเรื่องลดความดันลงให้อยู่ในเกณท์ที่ปกติที่สุดคือ 120-129
ชนิดของความดันโลหิตสูง แบ่งเป็นสองแบบคือ Essential Hypertension เป็นแบบหลัก(90%) คือความดันโลหิตสูงทั่วไปที่หาสาเหตุไม่เจอ กับ Secondary Hypertension คือมีสาเหตุให้เกิดความดัน (10%)
elevated blood pressure and hypertension
Office BP (mmHg)a | Home BP (mmHg) | Daytime ABPM (mmHg) | 24 h ABPM (mmHg) | Night-time ABPM (mmHg) | |
---|---|---|---|---|---|
Reference | |||||
Non-elevated BP | <120/70 | <120/70 | <120/70 | <115/65 | <110/60 |
Elevated BP | 120/70–<140/90 | 120/70–<135/85 | 120/70–<135/85 | 115/65–<130/80 | 110/60–<120/70 |
Hypertension | ≥140/90 | ≥135/85 | ≥135/85 | ≥130/80 | ≥120/70 |
ABPM, ambulatory blood pressure monitoring; BP, blood pressure.
An average HBPM of ≥135/85 mmHg (equivalent to an office BP of ≥140/90 mmHg) should be used to diagnose hypertension and an average systolic BP of 120–134 mmHg or diastolic BP of 70–84 mmHg should be used to diagnose elevated BP.
ควรใช้ค่า HBPM เฉลี่ย ≥135/85 mmHg (เทียบเท่ากับความดันโลหิตปกติที่ ≥140/90 mmHg) เพื่อวินิจฉัยความดันโลหิตสูง และควรใช้ค่าความดันโลหิตตัวบน (systolic)เฉลี่ย 120–134 mmHg หรือความดันโลหิตตัวล่าง (diuastolic)70–84 mmHg วินิจฉัยโรคความดันโลหิตสูง
ความดันโลหิตสูงแบบหาสาเหตุไม่พบนั้น พยาธิสรีรวิทยา พบว่าเกี่ยวข้องกับปัจจัยหลายอย่างทั้งร่างกาย เช่น พันธุกรรม ฮอร์โมน ไต ตับ หัวใจ ระบบสมองและประสาท สิ่งแวดล้อม เช่นอาหาร ความเค็ม หลายส่วนอาจมีเรื่องอิมมูนหรือภูมิคุ้มกันร่วม การควบคุมความดันเสียไปจากสาเหตุเหล่านี้ ทำให้ความดันขึ้น
ระบบหลอดเลือดเปรียบเสมือนน้ำในท่อน้ำ หลอดเลือดคือท่อ และนำเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ขนาดของหลอดเลือดก็จะเล็กลดหลั่นไปจนถึงอวัยวะต่างๆ ความดันเลือดเปรียบเสมือนความดันน้ำ เมื่อใดที่ความดันสูงในระยะเวลานานๆทำให้หลอดเลือดรับแรงดัน ทำให้เกิดหลอดเลือดแข็ง ตีบ หรือวัยวะที่รับเลือดเกิดการเสียหาย เช่นหลอดเลือดในตา ในไต หลอดเลือดโคโรน่ารี่ หลอดเลือดสมอง เป็นต้น
ตา : เกิดเส้นเลือดที่ตาตีบ หรือเกิด hypertensive retinopathy
สมอง : สมองฝ่อ (brain atrophy) เลือดออกเล็กๆ (silent microbleed) หรือเส้นเลือดใหญ่แตก (CVA bleeding)(cerebral hemorrhage)เส้นเลือดสมองตีบและอัมพาต (cerebral infarct) สมองเสื่อม (cognitive impairment) (vascular dementia)
เส้นเลือดแดงใหญ่ (ที่ช่องท้องหรืออก) : เส้นเลือดแดงโป่งพอง
เส้นเลือดแดงขนาดปานกลางที่อวัยวะต่างๆ : เส้นเลือดแข็งและตีบ (atherosclerosis) มีหินปูนเกาะผนัง
เส้นเลือดฝอยและการควบคุมการขยายหดตัวเส้นเลือดไม่ทำงาน : อวัยวะเพศไม่แข็งตัว ,เส้นเลือดหดขยายไม่ปกติ
ไต: ไตเสื่อม เส้นเลือดตีบที่ไต ไตรั่ว ไตวาย
หัวใจ: หัวใจโต หัวใจขาดเลือด หัวใจวาย
โพสต์หน้าเราจะมาว่ากันถึงวิธีการรักษาและยารักษากันครับ
Enterovirus71กับโรคมือเท้าปากรุนแรงที่เสียชีวิตได้ มีข่าวการเสียชีวิตของเด็ก อายุ 3 ขวบที่ระยองจากการมีไข้ ผื่น และหัวใจวายเสียชีวิตในเวลาไม่กี่วัน และคาดว่า อาจเกิดจากเชื้อไวรัสตัวใดตัวหนึ่ง ซึ่งทางผู้โพสบอกว่า แพทย์ยังหาสาเหตุไม่พบ การที่เด็กไข้ ผื่น เสียชีวิตรวดเร็ว เป็นเชื้ออะไรได้บ้าง…
Zika Virus คืออะไร review ซิก้าไวรัส 2023-2025 ข้อมูลอ้างอิง New England Journal of Medicine และ WHO review…
Cabtreo ยารักษาสิวใหม่ 3 in 1 Cabtreo ได้รับอนุมัติจากองค์การอาหารและยา FDA เมื่อ ตค. 2023 เป็นยาทาภายนอก ที่มีส่วนผสมของ clindamycin antibiotics…
ไข้ พยาธิสภาพ ของ AFI ทำไมถึงเกิดไข้? ไช้ Fever คืออะไร ทำไมถึงเกิด มีหลายคนสงสัยว่าทำไมถึงเกิดไข้ และเราต้องไม่สับสนระหว่างคำว่า อุณหภูมิร่างกายสูง (Hyperthermia เช่นใน Heatstroke…
Syphilis ซิฟิลิส โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ที่เราคุ้นเคยกันดีเพราะเป็นโรคที่เกิดและได้ยินมาตั้งแต่โบราณ เป็นโรคที่เกิดในบุคคลดังหลายคน การติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และเกิดผลข้างเคียงต่อสุขภาพได้มากมาย ซิฟิลิสจำแนกเป็น 4 ระยะ คือ primary , secondary…
โนโรไวรัส Norovirus ไวรัสที่ทำให้เกิดท้องเสีย เป็น RNA virusสายเดี่ยว ซึ่งสามารถแบ่งเป็น 5 กลุ่ม (genogroup) ตาม major capsid protein โดยที่…