มะเร็งปากมดลูก เกิดจากการติดเชื้อ เอชพีวี (HPV human papilloma virus) เรื้อรังกระตุ้นการสร้างเซลผิดปกติ และกลายเป็นมะเร็ง ปัจจุบันเราสามารถป้องกันได้โดยการฉีดวัคซีนป้องกัน เอชพีวี ซึ่งจะได้ผลดีถ้าฉีดตั้งแต่อายุน้อย กรมควบคุมโรค ร่วมกับ สปสช.จึงเร่งจัดหาวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกเพื่อฉีดฟรี ให้เด็กนักเรียนตั้งแต่ ป 5 ในปี 2560 – 5/7/2017
สปสช.จับมือกรมควบคุมโรค เร่งจัดหาวัคซีนเอชพีวี 4 แสนโด๊ส เริ่มฉีดกลุ่มเป้าหมาย นร.หญิงชั้น ป.5 ทั่วประเทศใน ก.ค. 2560 มุ่งลดความเสี่ยงจากโรคมะเร็งปากมดลูก 2017 ที่ไหน และเมื่อไร จะนำเสนอต่อไป
7 พ.ค. 2560 นพ.ศักดิ์ชัย กาญจนวัฒนา เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า ในปีงบประมาณ พ.ศ.2560 คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) โดยความเห็นชอบจากรัฐบาล ได้จัดงบประมาณจำนวนหนึ่งสำหรับการจัดหาวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกหรือวัคซีนเอชพีวี (HPV) เพื่อฉีดให้กับกลุ่มเป้าหมายนักเรียนหญิงชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภายหลังเมื่อคณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติเห็นชอบและให้บรรจุวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกในรายการบัญชียาหลักแห่งชาติแล้ว รัฐบาลโดยนายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้พิจารณาอนุมัติงบกลางรายการเงินสำรองจ่ายฯ ผ่านทางกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เพื่อจัดหาวัคซีนเอชพีวีเพิ่มเติมฉีดให้ครอบคลุมนักเรียนหญิง ป.5 ทั้งหมด ซึ่งเป็นวัยเหมาะสมที่สุดในการรับวัคซีนนี้ หลังเป็นสาเหตุการตายอันดับ 1 และสาเหตุการป่วยเป็นอันดับ 2 ในหญิงไทย พร้อมกำหนดเป็นสิทธิประโยชน์บัตรทองปี 2561
สอดคล้องกับคำแนะนำองค์การอนามัยโลก ทั้งนี้เพื่อให้บริการป้องกันโรคดำเนินไปอย่างครอบคลุม ไม่เพียงแต่ช่วยลดการเจ็บป่วยแต่ยังลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลให้กับประเทศได้
“คาดว่าจะให้บริการวัคซีนเอชพีวีเข็มแรกในช่วงเปิดเทอม ประมาณเดือนกรกฎาคม 2560 และเข็มที่ 2 ในเทอมสองห่างจากเข็มแรก 6 เดือน ทั้งนี้ ในปีงบประมาณ 2561 บอร์ด สปสช.โดยมี นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รมว.สาธารณสุข เป็นประธานได้เห็นชอบให้วัคซีนมะเร็งปากมดลูกเป็นสิทธิประโยชน์สำหรับเด็กหญิงชั้น ป.5 พร้อมอนุมัติงบประมาณสำหรับการจัดซื้อให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด เพื่อนำไปสู่การลดอัตราเจ็บป่วยและเสียชีวิตจากมะเร็งปากมดลูกในหญิงไทย” เลขาธิการ สปสช.กล่าว
นพ.ศักดิ์ชัย กล่าวว่า ที่ผ่านมากรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข และ สปสช.ได้ร่วมกันจัดหาวัคซีนเอชพีวีเพื่อฉีดให้กับกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 400,000 คน งบประมาณรวมกว่า 144 ล้านบาท โดยในส่วนของ สปสช.ดำเนินการจัดหาวัคซีน 226,660 โด๊ส งบประมาณภายใต้กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 85 ล้านบาท และกรมควบคุมโรคดำเนินการจัดหาวัคซีน 173,340 โด๊ส งบประมาณ 58.9 ล้านบาท ขณะนี้ทั้งสองหน่วยงานร่วมมือกันสื่อสารไปยังหน่วยบริการ และประชาสัมพันธ์ให้กลุ่มเป้าหมายรับวัคซีนและผู้ปกครองเพื่อรับทราบข้อมูลการรับวัคซีนเอชพีวี
ทั้งนี้ มะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ 2 ในหญิงไทยรองจากมะเร็งเต้านม โดยข้อมูลปี 2553-2555 ของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ พบว่าอุบัติการณ์มะเร็งปากมดลูกเฉลี่ยอยู่ที่ 14.4 ต่อแสนประชากรหญิง หรือ 6,426 รายต่อปี ทั้งยังเป็นสาเหตุการเสียชีวิตสูงเป็นอันดับ 1 ในหญิงไทย สาเหตุเกิดจากเชื้อเอชพีวี หรือ Human Papilloma virus ซึ่งติดต่อผ่านทางเพศสัมพันธ์ ทำให้เกิดการติดเชื้อบริเวณปากมดลูกเรื้อรังและเซลล์บริเวณปากมดลูกเจริญผิดปกติ โดยเฉพาะในสายพันธุ์ 16 และ 18 ซึ่งเป็นสายพันธุ์ก่อให้เกิดมะเร็งปากมดลูกในหญิงไทยสูงถึงร้อยละ 70 การให้วัคซีนเอชพีวีในเด็กซึ่งปกติเป็นวัยที่ยังไม่มีเพศสัมพันธ์ สามารถช่วยลดความเสี่ยงได้ อย่างไรก็ตาม ยังมีเชื้อเอชพีวีสายพันธุ์อื่นทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูกด้วย ดังนั้นการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัยร่วมกับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเป็นระยะ ยังมีความจำเป็นในการป้องกัน
อัพเดต อาการ การรักษา โรคไข้เลือดออก หรือ ไข้เดงกี่ (Dengue fever ) รวมถึง ไข้เลือดออกเดงกี่ Dengue Hemorrhagic fever เป็นโรคไข้จากไวรัส…
วัคซีนไข้หวัดใหญ่ 2023-2024 องค์การอนามัยโลก For trivalent vaccines for use in the 2023-2024 northern hemisphere influenza season,…
Thaihealth เปิดโซนสุขภาพเด็ก แนะนำบทความจาก Thaihealth Old News ครับ (more…)
ฮีทสโตรก heatstroke ภาวะที่ร่างกายมีอุณหภูมิสูงเกินปกติและควบคุมไม่ได้ โดยทั่วไปคือภาวะที่ร่างกายมีอุณหภูมิแกนกลาง (core temperature) มากกว่า 40 องศาเซลเซียส ก่อให้เกิดอันตรายต่ออวัยวะต่างๆอย่างเฉียบพลัน ถือเป็นภาวะที่ต้องรักษาเร่งด่วน (more…)
อาการวิงเวียนศีรษะ เวียนหัวเฉียบพลัน เคสผู้ป่วยวิงเวียนนี้ อายุรแพทย์จะต้องได้เจอทุกวัน อาจจะวันละหลายๆครั้ง หลากหลายอาการ คนไข้จะบอกเล่า ตั้งแต่ อาการต่างๆ เช่น อยู่ๆก็เหมือนบ้านหมุน ทรงตัวไม่ได้ อันนี้อาการมาก เวียนเซ เป็นตอนขยับศีรษะ…
April 2023 updates to the International Classification of Diseases, 10th Revision, Clinical Modification (ICD-10-CM) system…