อาการท้องเสีย (diarrhea)

เชื่อว่าทุกคนคงเคยเป็นมาในช่วงชีวิตหนึ่ง หลายๆคนคงเคยประสบปัญหา เรื่องของท้องเสียนี้ เราลองมาดูกันว่าลึกๆแล้ว ทำไม หรือเหตุใด เราจึงมีอาการท้องเสีย

มาว่ากันด้วยว่า ท้องเสีย คืออะไรก่อนครับ อาการท้องเสีย หรือท้องร่วง หรือถ่ายเหลวมากผิดปกติ คือ อาการที่เรา ถ่ายอุจจาระมากกว่าปกติ ทั้งปริมาณ ความถี่ และความเหลว ส่วนใหญ่ คนปกติ ถ่ายวันละ 1-2 ครั้ง อุจจาระจะค่อนข้างเป็นก้อน กึ่งแข็งกึ่งเหลว ถ้ามากกว่านั้น หรือออกมาเป็นน้ำ ก็จะเรียกว่า ท้องเสีย

ท้องเสีย ส่วนใหญ่ เกิดจากการที่น้ำ ไม่ถูกดูดซึม ในลำไส้ใหญ่ ตามปกติ ซึ่งตามปกติ เวลาอุจจาระลงมาที่ลำไส้ใหญ่ ก็จะมีเวลาพัก เพื่อให้น้ำส่วนเกิน ถูกดูดซึมเข้าไป ทำให้อุจจาระแข็งขึ้น แต่บางครั้ง แม้ว่าการดูดซึมปกติ แต่การที่ลำไส้บีบเอาอุจจาระลงมาเร็วกว่าปกติ ก็ทำให้เกิดท้องเสียแบบหนึ่งได้ แม้ว่าอย่างอื่นจะปกติหมด

  • เวลาเจอคนไข้ท้องเสีย แพทย์มักถามความถี่ เป็นมากน้อยแค่ไหน กี่วัน และอาการอื่นๆร่วม เนื่องจาก ท้องเสีย แบ่งกว้างๆได้หลายแบบ ที่แตกต่างกันคือ
  1. แบ่งแบบตามระยะเวลาการเกิด เป็นแบบเฉียบพลัน หรือ ค่อนข้างเฉียบพลัน หรือเรื้อรัง (มากกว่า 2 อาทิตย์)
  2. แบ่งแบบสาเหตุ คือแบบมีสาเหตุ (pathologic) เช่น การติดเชื้อ การอักเสบ กับแบบ functional (ท้องเสียจากสาเหตุการเคลื่อนไหวลำไส้ผิดปกติ)
    ท้องเสียที่เจอบ่อยที่สุด คือแบบเฉียบพลัน และมีสาเหตุ รองลงมาคือแบบที่มีการเคลื่อนไหวผิดปกติ หรือที่หลายคนจัดในกลุ่มลำไส้แปรปรวน

สาเหตุใหญ่ๆของท้องเสีย

ในแง่ของการดูแลรักษาตนเอง สุขภาวะการขับถ่ายเป็นเรื่องสำคัญมาก แนะนำให้พยายามขับถ่าย และดูอุจจาระตนเองทุกวัน ในภาวะปกติ เวลาขับถ่าย อุจจาระจะเป็นก้อนคล้ายดินน้ำมัน ที่แตกตัวได้พอดีเวลาถ่ายลงมาในโถ มีสีออกไปทางน้ำตาล ไม่เข้ม ไม่อ่อน ไม่มีฟอง ไม่ดำ ไม่มีเลือดปน มีกากเส้นใย กำลังพอดี ไม่เหลวจนละลายไปในน้ำทันที ร่วมกับไม่มีอาการอื่นๆ เช่น ปวดท้อง ปวดเบ่ง เสียด คลื่นไส้

ท้องเสียเฉียบพลัน ถ้าเป็นชั่วคราว ถ่ายเป็นน้ำ ไม่มีอาการอื่นๆร่วม อาจจะเกิดจาก พิษของเสีย หรืออาหารบางอย่าง อย่างที่เรียกว่า travelers diarrhea แต่ถ้าเป็นนานกว่า 1 วัน มีอาการถ่ายเป็นมูก ปวดบิด ปวดเบ่ง ถ่ายแล้วถ่ายอีก อุจจาระเป็นน้ำ อาจจะเกิดจากการติดเชื้อภายในลำไส้ ซึ่งเชื้อ ก็มักเกิดจากการกินอาหารไม่สะอาด หรือใช้มือไม่สะอาดหยิบเข้าปาก แนะนำพบแพทย์ โดยเฉพาะ มีอาการบิด ถ่ายเป็นมูก หรือมูกปนเลือด มีไข้ ท้องอืดขึ้น บวมขึ้น ตัวตาเหลือง ปัสสาวะผิดปกติ ออกมาก ออกน้อย สีผิดปกติ รวมถึงสีของอุจจาระ

ท้องเสีย ที่ถ่ายออกมาเป็นเลือดสดๆ หรือสีดำสนิทเหมือนยางมะตอย เหม็นคาวๆ อาจจะเกิดจากการที่มีเลือดออกในกระเพาะ หรือลำไส้ แต่อาหารหรือยาบางอย่างอาจทำให้อุจจาระดำ แต่จะไม่เหม็นคาว หรือเหนียวแบบยางมะตอย

ท้องเสียแบบเรื้อรัง หรือกึ่งๆ อันนี้จะวินิจฉัยได้ยากกว่า ต้องมาพบแพทย์ ตรวจร่างกาย ประวัติที่ต้องสังเกตุ และให้แก่แพทย์ คือ เป็นมานานเท่าไร วันละกี่ครั้ง ถ่ายตอนกลางคืนหรือไม่(สำคัญ) เกี่ยวข้องกับอะไรเป็นพิเศษ เช่น การกิน ความเครียด หรือยาบางอย่าง โรคอื่นๆที่เกี่ยวข้อง มีน้ำหนักลดไหม มีอาการปวดท้องไหม ประวัติยา สุรา บุหรี่ โรคที่เป็น อาการร่วมอื่นๆเช่น ไข้ คลื่นไส้ ไอ ปวดเมื่อย ผื่น ปวดตามข้อ ฯลฯ

โรคที่จะทำให้เกิดท้องเสียเรื้อรังได้

มีเยอะมาก เช่น

การติดเชื้อ วัณโรค เชื้ออื่นๆ
โรคของตับอ่อน การย่อย
การดูดซึมของลำไส้ผิดปกติ
มะเร็งของลำไส้
โรคลำไส้ใหญ่ หรือลำไส้เล็กอักเสบเรื้อรัง
ลำไส้ตีบ โรคของช่องท้อง เยื่อบุผนังช่องท้อง
ลำไส้เคลื่อนไหวผิดปกติ แพ้อาหารบางอย่าง เช่น แพ้นม ฯลฯ
ท้องเสียแบบเรื้อรัง ที่หาสาเหตุไม่พบ แต่เป็นเฉพาะบางคราว สัมพันธ์กับอาหารบางอย่าง หรือความเครียด มีอาการถ่ายเหลวบ้าง สลับปกติบ้าง ไม่มีอาการร่วมอื่นๆ หาสาเหตุไม่เจอ จากการตรวจทั้งร่างกาย และห้องปฏิบัติการ แพทย์มักจัดอยู่ในกลุ่มอาการลำไส้แปรปรวน หรือ functional diarrhea หรือ irritable bowel syndrome ซึ่งจะได้กล่าวต่อไป

กรุณาสละเวลาโหวตให้กับบทความ ขอบคุณครับ
Note: There is a rating embedded within this post, please visit this post to rate it.
Share
CK

2535 แพทยศาสตร์บัณฑิต 2539 วุฒิบัตร อายุรศาสตร์ เป็นคนชอบขีดเขียน ชอบท้าทาย ทำงานเป็นหมอดีๆไม่ชอบ ชอบเป็น journalist /

Recent Posts

ฝุ่นpm2.5กับการออกกำลังกาย

ฝุ่นpm2.5กับการออกกำลังกาย เชื่อว่าช่วงหลังๆ ในหน้าหนาว หลายคนกำลังประสบกับปัญหา ภัยจากฝุ่นควันจิ๋ว PM 2.5 ซึ่งเป็นฝุ่นที่มีขนาดเล็ก และสามารถทำอันตรายต่อสุขภาพได้ หลายท่านที่เป็นนักกีฬา หรือต้องออกกำลังกายกลางแจ้งคงกังวลว่า เราจะสามารถออกกำลังได้ไหม ในสถานการณ์อย่างไรบ้าง ต้องใช้หน้ากากไหม และมีหน้ากากป้องกันฝุ่น…

1 week ago

top10มะเร็งที่พบมากในประเทศไทย

10 อันดับโรคมะเร็งที่พบบ่อยในประเทศไทย 1. มะเร็งตับและท่อน้ำดี (Liver and Bile Duct Cancer) เป็นมะเร็งที่พบบ่อยที่สุดในประเทศไทย และมีอัตราการเสียชีวิตสูงที่สุด (20.3%) 2.มะเร็งปอด (Lung Cancer)…

3 weeks ago

มะเร็งในอายุน้อยลง ผลวิจัยระบุ

มะเร็งในอายุน้อยลง ผลวิจัยระบุ โรคมะเร็งที่เกิดในวัยหนุ่มสาว — รวมถึงมะเร็งเต้านม ลำไส้ใหญ่ หลอดอาหาร ไต ตับ และตับอ่อน — เพิ่มขึ้นอย่างมากทั่วโลก โดยแนวโน้มนี้เริ่มขึ้นประมาณปี 1990 ไม่ต้องแปลกใจถ้าจะมีข่าวมะเร็งในคนอายุน้อยลงเรื่อยๆ…

3 weeks ago

ปอดบวมจากไข้หวัดใหญ่ (Influenza Pneumonia)

ปอดบวมจากไข้หวัดใหญ่(ปอดอักเสบจากไข้หวัดใหญ่ ) Influenza Pneumonia เป็นภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรงจากการติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ และการรักษาจะเกี่ยวข้องกับทั้งการใช้ยาต้านไวรัสและการดูแลแบบประคับประคอง อาการของปอดบวมจากไข้หวัดใหญ่ อาการระบบทางเดินหายใจ :ไอ (มักมีเสมหะ อาจใส เหลือง เขียว หรือแม้กระทั่งเป็นเลือด)หายใจสั้นหรือหายใจลำบากเจ็บหน้าอก ซึ่งอาจแย่ลงเมื่อหายใจลึกหรือไออาการในระบบต่าง…

3 weeks ago

Influenza A and B ICD 10

Influenza A and B ICD 10 Influenza of any strains Use same ICD10 Influenza with…

3 weeks ago

ไข้หวัดใหญ่(Influenza, Flu)

ไข้หวัดใหญ่(Influenza, Flu)อัพเดตข้อมูลจาก Thaihealth.net กรมควบคุมโรค และสมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย อัพเดต 1/2025 ไข้หวัดใหญ่ บทนำ โรคไข้หวัดใหญ่ หมายถึง โรคระบบทางเดินหายใจที่เกิดจากไวรัส influenza เฉียบพลัน ซึ่งถ้าเป็นโรคไข้หวัดใหญ่…

1 month ago