ภาวะไข้เฉียบพลัน AFI Acute Febrile Illness
ภาวะไข้ Fever
จุดเริ่มต้นของการวัดไข้ในคนไม่แน่ชัด แต่หลักฐานที่เก่าแก่ที่สุดคือ 1-2ศตวรรษก่อนคริสต์กาล จนกระทั่งปี 1868 จึงมีการระบุอุณหภูมิคนปกติที่ 37 องศาเซลเซียส คำจำกัดความของไข้ คือ มีอุณหภูมิร่างกายเช้า ที่มากกว่า 37.2 c (98.9 F) และอุณหภูมิช่วงเย็น มากกว่า 37.7 c(99.9 F)
ภาวะไข้เฉียบพลัน Acute Febrile illness
ภาวะไข้เฉียบพลัน Acute Febrile illness หรือ Acute Febrile Syndrome หมายถึงภาวะไข้ รวมถึงอาการร่วม ซึ่งได้แก่ อาการปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตัว หรือปวดตามข้อ ที่เป็นแบบเฉียบพลัน ภายในช่วง 1-2 สัปดาห์ ที่ยังไม่ระบุสาเหตุ หรือยังหาสาเหตุไม่พบ ที่เกิดในช่วง 1-2 สัปดาห์
กึ่งเฉียบพลัน หมายถึง 14-21 วัน
ไข้เรื้อรัง หมายถึงมากกว่า 21 วัน
ภาวะไข้เฉียบพลัน Acute febrile Illness มีได้จากหลายสาเหตุ ได้แก่
- ภาวะที่ไม่ใช่การติดเชื้อ เช่น
- เส้นเลือดอุดตัน deep venous thrombosis (DVT)
- pulmonary embolism (Pulmonary Thromboembolism PTE)
- alcohol or drug withdrawal
- post op fever ไข้หลังผ่าตัด
- ไข้จากยา drug fever
- ก้อนเนื้องอก มะเร็ง Cancer Fever มะเร็งที่มีไข้บ่อยๆคือมะเร็งตับ (HCC Hepatocellular Carcinoma)
- ตับแข็ง Liver Cirrhosis
- การได้รับเลือด Blood Reaction
- ตับอ่อน ถุงน้ำดี หรือลำไส้อักเสบแบบไม่ติดเชื้อ Pancreatitis , Biliary infection , Gastroenteritis or Colitis.
- ข้ออักเสบจากเก๊าท์ Gouty Arthritis
- เส้นเลือดอุดตันในสมอง เลือดออกในสมอง Stroke , Cerebral Hemorrhages
- อื่นๆ เช่น สารหรือสิ่งแปลกปลอมในร่างกายเกิดปฏิกิริยา
- มีการติดเชื้อในร่างกาย
- ติดเชื้อเฉพาะที่ จะมีอาการบ่งถึงการติดเชื้ออวัยวะนั้นๆ เช่น เจ็บคอ ไอ ปวดท้อง ถ่ายเหลว ฯลฯ
- ไอ อาจมีติดเชื้อในปอด
- เหนื่อยและมีจุดเลือดออกในเยื่อบุตา ใต้เล็บ (Embolic phenomenon ) เสียงฟู่ที่หัวใจ อาจเป็น การติดเชื้อที่ลิ้นหัวใจ Bacterial Endocarditis
- ปวดท้อง ถ่ายเหลว หรือไม่เหลว อาจมีติดเชื้อที่ระบบทางเดินอาหาร ลำไส้ ลำไส้ใหญ่ ปวดใต้ชายโครงขวา อาจมีติดเชื้อ หรือฝีที่ตับ หรือมะเร็งที่ตับก็ได้
- ใต้ผิวหนัง แขน ขา กล้ามเนื้อ อาจมีเส้นเลือดดำอักเสบ หรือกล้ามเนื้ออักเสบ หรือหนองในกล้ามเนื้อ
- ติดเชื้อหลายตำแหน่ง
- ติดเชื้อสแตฟิโลคอคคัสหลายที่ (Disseminated Staphylococcus Infection ) ปอด ข้อ ผิวหนัง สมอง
- โกโนเรีย หรือหนองในแบบแพร่กระจาย (Disseminated Gonococcosis) ติดเชื้อท่อปัสสาวะ ข้อ ผิวหนัง เยื่อหุ้มตับ
- เมลิออยโดสิส Mellioidosis เชื้อชนิดหนึ่งที่เจอมากในไทย เป็นหนองหลายๆจุดทั่วร่างกายเช่น ม้าม ตับ ปอด สมอง ข้อ
- ติดเชื้อหลายระบบ แต่อาจไม่เจอเชื้อก่อโรค เช่น ไข้ฉี่หนู โรคฉี่หนู(Leptospirosis) ไข้รากสาด (typhoid , scrub typhus , murine typhus) ไวรัสต่างๆที่อาการเป็นแบบทั่วร่างกาย เช่น ไข้เลือดออก (Dengue Fever) หรือไข้ปวดข้อยุงลาย ชิคุนกุนย่า (Chikungunya) เชื้อมาเลเรีย (malaria)
- วัณโรค (tuberculosis) ซึ่งอาจเป็นที่ปอด ที่กระดูก หรือที่ต่อมน้ำเหลือง
- ฝีในที่ต่างๆ เป็นได้ทุกที่ บางครั้งอาการมีแต่ไข้ เช่นฝีที่ตับ ม้าม ฝีคัณฑสูตร (perianal abscess)
- ติดเชื้อเฉพาะที่ จะมีอาการบ่งถึงการติดเชื้ออวัยวะนั้นๆ เช่น เจ็บคอ ไอ ปวดท้อง ถ่ายเหลว ฯลฯ
สิ่งที่ต้องคำนึงถึงเวลาพบคนไข้ ที่ต้องระบุ
- ภาวะภูมิคุ้มกันคนไข้ ถ้ามีเอดส์ เบาหวาน เชื้ออาจต้องดูครอบคลุมกว้างและเจาะจงกว่า
- ระยะฟักตัวของโรค
- ถิ่นที่อยู่ และประวัติการเดินทาง
- พิจารณาตามสถิติ ถิ่นที่อยู่ ช่วงเวลา ประวัติสัมผัสโรค
- การตรวจร่างกาย
- การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
กรุณาสละเวลาโหวตให้กับบทความ ขอบคุณครับ