2D48D193-2751-4D43-86EC-99F1BE183F90

ฮีทสโตรก heatstroke ภาวะที่ต้องระวังในหน้าร้อน

ฮีทสโตรก heatstroke

ภาวะที่ร่างกายมีอุณหภูมิสูงเกินปกติและควบคุมไม่ได้ โดยทั่วไปคือภาวะที่ร่างกายมีอุณหภูมิแกนกลาง (core temperature) มากกว่า 40 องศาเซลเซียส ก่อให้เกิดอันตรายต่ออวัยวะต่างๆอย่างเฉียบพลัน ถือเป็นภาวะที่ต้องรักษาเร่งด่วน

ภาวะนี้พบบ่อยในหน้าร้อน และมักเกิดจากการออกไปมีกิจกรรมในอากาศร้อน เช่นวิ่ง ทำงานตากแดด ในระยะเวลานาน ปกติร่างกายจะมีกลไกในการป้องกันอุณหภูมิสูงเกินพิกัด เช่น จะมีเหงื่อออก เพื่อระบายความร้อน แต่ถ้าอยู่ในภาวะร้อนนนานเกินไปจนกระทั่งร่างกายไม่สามารถควบคุมได้ ก็จะมีอาการและพยาธิสภาพเกิดขึ้น

อาการของฮีทสโตรก Symptoms of Heatstroke

  • อุณหภูมิภายในแกนกลางของร่างกายสูงเกิน มากกว่า 40 cโดยการวัดทางทวารหนัก
  • สับสน ซึม หรือชัก ทุรนทุราย พูดช้าๆไม่ชัด ถ้ามากอาจหมดสติ โคม่า
  • เมื่อจับผิวหนังจะร้อนแห้ง ไม่มีเหงื่อ แต่ในคนที่ผ่านการออกกำลังมีเหงื่อมากอาจสังเกตยาก เพราะจะมีเหงื่อด้วย
  • อาเจียน เวียน
  • ผิวหนังแดง หน้าแดง ตัวแดง
  • หายใจเร็ว อาจจะหายใจตื้นๆ
  • ชีพจรเต้นเร็ว
  • ปวดศีรษะ
IMG E6105

การดูแลรักษา

สิ่งสำคัญที่สุดในการรักษาภาวะ ช๊อคจากความร้อน ฮีทสโตรค Heatstroke management คือ การนึกถึงและตรวจวินิจฉัยได้ จากที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าพบผู้ที่เป็นลมหมดสติ มีตัวร้อน ไม่มีเหงื่อ (คนไข้บางคนอาจบอกแพทย์เองว่ารู้สึกแปลกๆ ไม่มีเหงื่อ แต่เพลีย อาเจียน เวียน) เพราะการรักษาที่ดีที่สุด คือการลดอุณหภูมิตัวให้ลงเร็วที่สุด .. ที่ดีสุดคือการจุ่มคนไข้ลงในน้ำเย็น หรือประคบด้วยน้ำแข็ง ถ้าหาได้ แต่ถ้าไม่ได้ ควรนำผู้ป่วยออกจากภาวะสิ่งแวดล้อมที่ร้อน นำเข้าที่ร่ม หรือที่เย็น ถอดเสื้อผ้าที่แน่นให้หลวม และพัดลมเป่า เอาผ้าชุบน้ำเช็ดและเป่าลม หรือพัดโบกถ้าไม่มีอะไรเลย ถ้ามีแหล่งน้ำ ให้พาเข้าใกล้แหล่งน้ำ เพื่อลดความร้อน โดยเร็วที่สุด สามารถทำได้หลายวิธี วิธีที่ปลอดภัยคือน้ำราดและพัดลมเป่า ให้ความร้อนออกไปกับไอแบบที่เราคุ้นกับการมีเหงื่อ (เนื่องจากคนไข้จะไม่มีกลไกเหงื่อออก เพื่อระบายนั่นเอง) ถ้าคลำชีพจรไม่ได้ ให้กู้ชีพ หรือช๊อค ให้ตามแพทย์หรือหน่วยกู้ชีพด่วน

ในกรณีพอรู้ตัว ไม่อาเจียนไม่สำลัก การให้ดื่มน้ำเพื่อเพิ่มการไหลเวียนเลือด แต่ต้องระวังถ้าซึม จะสำลักได้

Comments are closed.