เชื้อ อีโคไล ชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Escherichia coli หรือ E.Coli เป็นเชื้อแบคทีเรียแกรมลบ (gram negative bacteria GNB) ที่มีความสำคัญในการเกิดโรคในทางเดินอาหาร อยู่ใน วงศ์ (family) Enterobacteriaceae ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นเชื้อแรมลบแบซิลไลที่ก่อให้เกิดโรคในระบบทางเดินอาหารได้แก่ Escherichia, Klebsiella, Proteus, Enterobacter , Serratia ,Citrobacter , Morganella , Prowidensia ,Edwardsiella จริงๆแล้วเชื้อ อีโคไล สามารถก่อให้เกิดโรคที่ต่างๆในอวัยวะต่างๆของร่างกายได้ แต่ที่เด่น คือในระบบทางเดินอาหาร
epidemiology
โดยปกติ ในคนปกติ เราจะไม่พบเชื้อ อีโคไล ในทางเดินอาหาร คนที่จะเกิดอาการ เกิดจากการได้รับเชื้อในปริมาณมากพอ เชื้ออีโคไลที่ก่อให้เกิดโรคทางเดินอาหาร แบ่งเป็นสายพันธ์(strains) หรือ pathotypes 6 ตัวด้วยกันคือ
Shiga toxin producing E.coli หรือ STEC หรือ enterohemorrhagic E.coli หรือ EHEC มีอาการคล้ายบิด อีโคไลพวกนี้ก่อให้เกิดอาการถ่ายปวดบิดและมีเลือดปน
Enteropathogenic E.coli หรือ EPEC
Enterotoxigenic E.coli ETEC
Enteroinvasive E.coli EIEC
Enteroaggregative E.coi EAEC
Diffusely adherent E.coli DAEC
การติดต่อ
ติดต่อโดยการได้รับเชื้อจากการกรับประทาน fecal oral route เชื้อปนเปื้อนในอาหาร หรือน้ำ โดยเฉพาะ กลุ่ม ETEC, STEC ,EIEC , EAEC , DAEC ส่วนการติดต่อโดยการสัมผัสคนสู่คน เกิดใน EPEC และ STEC
1. เชื้อ อีโคไล ชนิดสร้างชิก้า ท๊อกซิน Shiga toxin producing E.coli STEC หรือ EHEC
เชื้อชนิดนี้ เป็นเชื้อในกลุ่มซึ่งสามารถสร้างพิษ หรือ toxin ที่สามารถทำให้เกิดอาการ ลำไส้ใหญ่อักเสบแบบมีเลือดออก (hemorrhagic colitis) หรือ อาการที่เรียกว่า มีเม็ดเลือดแดงแตกและไตวาย Hemolytic Uremic syndrome (HUS) เชื้อนี้มีการระบาดเป็นระยะ เนื่องจากติดผ่านเนื้อ หรือผัก โดยเฉพาะเนื้อที่ปรุงไม่สุก และมีการระบาดในประเทศที่พัฒนาแล้ว เนื่องจากพฤติกรรมการรับประทาน โดยเฉพาะในกลุ่ม serotype O157:H7 เป็น serotype สำคัญ
เชื้อในกลุ่มนี้มีลักษณะสำคัญ หลายอย่าง อย่างแรกที่สำคัญคือ การสามารถสร้างพิษ หรือ toxin ที่เรียกว่า Shiga toxin Stx2 หรือ Stx1 (เหมือนเชื้อบิด Shigella ที่เรียกว่า Stx) ซึ่งเป็นลักษณะสำคัญในการก่อโรคของกลุ่มนี้เลยทีเดียว โดยเฉพาะ Stx2 ซึ่งมีความสัมพันธ์ในการก่อโรค HUS พิษแบบ Shiga toxins นี้ จัดอยู่ในกลุ่ม Ribosome-inactivating proteins (RIPs)
ลักษณะอื่น ที่สำคัญ เช่น การทนต่อกรด และความสามารถในการเกาะยึดกับผนังลำไส้หรือ adherance ซึ่งช่วยทำให้การก่อโรคของเชื้อนี้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เราค้นพบยีนหรือ จีโนมที่สร้างการเกาะยึดที่เรียกว่า Locus for enterocyte effacement (LEE) จริงๆแล้ว ยีนในตำแหน่ง LEE มีพบใน EPEC ด้วยเช่นกัน และก่อให้เกิดการจับยึดผนังลำไส้ และเชื้อในกลุ่ม STEC ที่มียีนตำแหน่ง LEE นี้ จัดเป็นอีกชื่อหนึ่งว่าเป็น Enterohemorrhagic E.coli EHEC
การแพร่ระบาดและการก่อโรค
อีโคไล พวกนี้ ระบาดในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว ในรูปแบบของอาหารสำเร็จ หรือแพคห่อ เช่นเนื้อ ผัก เชื้อเพียงแค่ น้อยกว่า 1000 CFU ก็สามารถก่อโรคได้ และเมื่อมีการระบาด ในสถานที่บางแห่งเช่น สถานรับเลี้ยงเด็ก ก็อาจก่อให้เกิดการระบาดต่อเป็น secondary infection ได้
เชื้อ O157 เป็นโรคที่รายงานเป็นอันดับ 4 ของโรคติดเชื้อแบคทีเรียในทางเดินอาหารของสหรัฐ (รองลงมาจาก Campylobacter , Salmonella , และ Shigella)
ระยะการฟักตัว 3-4 วันหลังจากได้รับเชื้อ มีอาการท้องเสีย ในตอนแรก ต่อมาจะมีอาการ STEC syndrome คือ ปวดท้องบิด ถ่ายเป็นมูกปนเลือด หรือเลือดสดๆใน 90% ของคนไข้ ปวดท้อง ตรวจอุจจาระมีเม็ดเลือดขาวปน แต่มักไม่ค่อยมีไข้
การวินิจฉัยแยกโรค ต้องระวังเชื้อเหล่านี้ให้อาการคล้ายๆกันคือ
shigella
Campylobacter
Clostridium difficile
Inflammatory bowel disease ที่ไม่ใช่จากการติดเชื้อ
อาการของโรค STEC จะหายเอง ใน 5-10 วัน
อาการข้างเคียง
อาการข้างเคียงแบบเม็ดเลือดแดงแตก และไตวาย HUS จะเกิดใน 2-14 วันหลังจากมีอาการท้องเสีย อีโคไลใน 2-8% ของคนไข้ โดยเฉพาะในกลุ่มคนอายุน้อย หรือคนแก่ๆ เกิดจากการที่ พิษ Stx กระจายเข้าไปในกระแสเลือด และเกาะกับเม็ดเลือด ไปยังเส้นเลือดเล็กๆของไต และสมอง เกิดลิ่มเลือดอุดตันเล็กๆ ไข้ เกร็ดเลือดต่ำ ไตวาย อาการทางสมอง เช่นชัก ซึม และอาจก่อให้เกิดอาการทางไตหรือสมองอย่างถาวร
การรักษา
การให้สารน้ำอย่างเหมาะสม และยาฆ่าเชื้อ มีประโยชน์อย่างมากในการรักษา อีโคไลหลีกเลี่ยงยาในกลุ่ม loperamide ที่ทำให้หยุดท้องเสีย
ยาฆ่าเชื้อ e.coli ในกลุ่ม quinolone พอเพียงสำหรับการรักษา เช่น ciprofloxacin ยาอื่นๆเช่น 3rd generation cepharosporin , amikacin ,
การป้องกันและทำลายเชื้อ
เชื้อนี้สามารถป้องกันได้โดย รับประทานอาหารทำสุก สะอาด การทำให้สุกโดยอุณหภูมิมากกว่า 70 องศาเซลเซียสนานกว่า 5 นาที แอลกอฮอล์ หรือยาฆ่าเชื้ออ่อน ก็ฆ่าได้ หมั่นล้างมือให้สะอาด และเมื่อสัมผัสผู้ที่ท้องเสีย อย่าลืมล้างมือให้สะอาด
ข้อมูล โดย นพ.กิจการ จันทร์ดา อายุรแพทย์
อ้างอิง HPIM
ไข้หวัดใหญ่(Influenza, Flu)อัพเดตข้อมูลจาก Thaihealth.net กรมควบคุมโรค และสมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย อัพเดต 1/2025 ไข้หวัดใหญ่ บทนำ โรคไข้หวัดใหญ่ หมายถึง โรคระบบทางเดินหายใจที่เกิดจากไวรัส influenza เฉียบพลัน ซึ่งถ้าเป็นโรคไข้หวัดใหญ่…
Enterovirus71กับโรคมือเท้าปากรุนแรงที่เสียชีวิตได้ มีข่าวการเสียชีวิตของเด็ก อายุ 3 ขวบที่ระยองจากการมีไข้ ผื่น และหัวใจวายเสียชีวิตในเวลาไม่กี่วัน และคาดว่า อาจเกิดจากเชื้อไวรัสตัวใดตัวหนึ่ง ซึ่งทางผู้โพสบอกว่า แพทย์ยังหาสาเหตุไม่พบ การที่เด็กไข้ ผื่น เสียชีวิตรวดเร็ว เป็นเชื้ออะไรได้บ้าง…
Zika Virus คืออะไร review ซิก้าไวรัส 2023-2025 ข้อมูลอ้างอิง New England Journal of Medicine และ WHO review…
Cabtreo ยารักษาสิวใหม่ 3 in 1 Cabtreo ได้รับอนุมัติจากองค์การอาหารและยา FDA เมื่อ ตค. 2023 เป็นยาทาภายนอก ที่มีส่วนผสมของ clindamycin antibiotics…
ไข้ พยาธิสภาพ ของ AFI ทำไมถึงเกิดไข้? ไช้ Fever คืออะไร ทำไมถึงเกิด มีหลายคนสงสัยว่าทำไมถึงเกิดไข้ และเราต้องไม่สับสนระหว่างคำว่า อุณหภูมิร่างกายสูง (Hyperthermia เช่นใน Heatstroke…
Syphilis ซิฟิลิส โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ที่เราคุ้นเคยกันดีเพราะเป็นโรคที่เกิดและได้ยินมาตั้งแต่โบราณ เป็นโรคที่เกิดในบุคคลดังหลายคน การติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และเกิดผลข้างเคียงต่อสุขภาพได้มากมาย ซิฟิลิสจำแนกเป็น 4 ระยะ คือ primary , secondary…