โนโรไวรัส Norovirus ไวรัสที่ทำให้เกิดท้องเสีย เป็น RNA virusสายเดี่ยว ซึ่งสามารถแบ่งเป็น 5 กลุ่ม (genogroup) ตาม major capsid protein โดยที่ genogroup II (II) เป็นเชื้อกลุ่มหลักที่ทำให้เกิดปัญหาทั่วโลก Norovirus สามารถติดต่อได้ทั้ง จาก บุคคลสู่บุคคลโดยการสัมผัสโดยตรง และ จากการปนเปื้อนของอุจจาระจากการรับประทานอาหารและน้ำที่ ปนเปื้อนนอกจากนี้ยังอาจติดต่อจากการสัมผัสละอองอาเจียนของผู้ป่วยได้อีกด้วย อีกสาเหตุที่ทำให้ โนโรไวรัส Norovirus สามารถติดต่อและเกิดการระบาดได้ง่ายก็คือการที่มี ความสามารถในการติดเชื้อสูง ปริมาณสารก่อเชื้อไม่ต้องมาก (อย่างน้อย 18 viral particles) สำหรับโรคอุจจาระร่วง ในผู้ที่เดินทางนั้น Norovirus พบว่าเป็นสาเหตุได้สูงถึง 12-15%ของท้องเสียจากการเดิมทาง (traveler’s diarrhea) จากการศึกษาในผู้ป่วย ที่มีอาการท้องเสียหลังกลับจากการท่องเที่ยว ไม่เพียงแต่การบริโภคอาหารที่ปนเปื้อน เท่านั้น ไวรัสยังติดโดยเดินทางโดยเครื่องบินหรือเรือสำราญได้อีกด้วยถึงแม้จะมีการทำความสะอาดอย่างดีก็ตาม
เนื่องมาจาก โนโวไวรัส สามารถปนเปื้อนอยู่ในสภาพแวดล้อมได้นาน โดยที่ความสามารถในการติดเชื้อไม่ได้ลดลงโดยจากการศึกษาพบว่า ไวรัสสามารถ อยู่บนพื้นผิวของวัตถุและในน้ำนานถึง 2 สัปดาห์และมากกว่า 2 เดือนตามลำดับ
ยังไม่ทราบกลไกการเกิดโรคที่ชัดเจน แต่จาก การศึกษาทาง พยาธิวิทยาระดับเซลล์ พบว่ามีการเปลี่ยนแปลง ได้แก่ มีการที่ขนบนผิวเซลล์มีขนาดเล็กและสั้นลง (blunt and shortening of microvilli, ) crypt cells hyperplasia รวมถึง enterocytes apoptosis หลังจากเกิดการติดเชื้อ จากการเปลี่ยนแปลงระดับเซลล์ดังกล่าวทำให้การสร้าง เอนไซม์ต่างๆบริเวณขนเซลล์ ลดลงและเกิดภาวะดูดซึมผิดปกติชั่วคราว (transient malabsorption) ของ D-xylose ไขมันและ lactose ทำให้เกิดมีภาวะอุจจาระร่วง ตามมา โดยการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะกลับสู่สภาพปกติภายในเวลา 2 สัปดาห์ จากการศึกษาในปัจจุบันไม่พบว่ามีการสร้าง enterotoxin ในการติดเชื้อ Norovirus ดังนั้นกลไกที่ทำให้ผู้ติดเชื้อมีอาการคลื่นไส้อาเจียนจึงยังไม่ทราบชัดเจน ผู้ป่วยที่ ติดเชื้อไวรัสจะมีอาการภายใน 1-2 วันหลังจากได้รับเชื้อโดยมีอาการเด่น คือ คลื่นไส้ อาเจียนร่วมกับท้องเสียแบบเป็นน้ำโดยที่ไม่มีเลือดปนร่วมกับมีปวดมวนท้องและไข้ต่ำๆ อาการทั้งหมดสามารถหายได้เองภายใน 48-72 ชั่วโมง อย่างไรก็ตาม Norovirus สามารถก่อให้เกิดโรคท้องเสียที่รุนแรงได้โดยมักพบในผู้ป่วยสูงอายุหรือมีภูมิคุ้มกันผิดปกติ
การรักษา โนโรไวรัส Norovirus รักษาแบบประคับประคอง รักษาตามอาการ เช่นยาแก้ปวดท้อง คลื่นไส้อาเจียน พยายามอย่าให้ร่างกายขาดน้ำและเกลือแร่ ให้น้ำเกลือ และป้องกันโรคแทรกซ้อนอื่นๆ ปกติจะอาการดีขึ้นภายใน 1-2 สัปดาห์
ผื่นแพ้ยา Stevens Johnsons syndrome ถ้าหากจะลองไล่รายชื่อโรคที่แพทย์ไม่ต้องการจะเจอในชีวิตหนึ่ง โรคแพ้ยาชนิดรุนแรง สตีเวนส์ จอห์นสัน Stevens johnsons syndrome (SJS) และ TENS (Toxic epidermal…
ฝุ่นpm2.5กับการออกกำลังกาย เชื่อว่าช่วงหลังๆ ในหน้าหนาว หลายคนกำลังประสบกับปัญหา ภัยจากฝุ่นควันจิ๋ว PM 2.5 ซึ่งเป็นฝุ่นที่มีขนาดเล็ก และสามารถทำอันตรายต่อสุขภาพได้ หลายท่านที่เป็นนักกีฬา หรือต้องออกกำลังกายกลางแจ้งคงกังวลว่า เราจะสามารถออกกำลังได้ไหม ในสถานการณ์อย่างไรบ้าง ต้องใช้หน้ากากไหม และมีหน้ากากป้องกันฝุ่น…
10 อันดับโรคมะเร็งที่พบบ่อยในประเทศไทย 1. มะเร็งตับและท่อน้ำดี (Liver and Bile Duct Cancer) เป็นมะเร็งที่พบบ่อยที่สุดในประเทศไทย และมีอัตราการเสียชีวิตสูงที่สุด (20.3%) 2.มะเร็งปอด (Lung Cancer)…
มะเร็งในอายุน้อยลง ผลวิจัยระบุ โรคมะเร็งที่เกิดในวัยหนุ่มสาว — รวมถึงมะเร็งเต้านม ลำไส้ใหญ่ หลอดอาหาร ไต ตับ และตับอ่อน — เพิ่มขึ้นอย่างมากทั่วโลก โดยแนวโน้มนี้เริ่มขึ้นประมาณปี 1990 ไม่ต้องแปลกใจถ้าจะมีข่าวมะเร็งในคนอายุน้อยลงเรื่อยๆ…
ปอดบวมจากไข้หวัดใหญ่(ปอดอักเสบจากไข้หวัดใหญ่ ) Influenza Pneumonia
Influenza A and B ICD 10 Influenza of any strains Use same ICD10 Influenza with…