จากประสบการณ์การทำงานที่พัทยา พบว่าโรคนี้ ยังไม่หมดไปเลยและมีแนวโน้มที่จะคงที่หรือเพิ่มขึ้นตลอดเวลา แม้ว่าเราจะพยายามป้องกันและให้ความรู้กับหญิงบริการ แต่พบว่า อุบัติการของการพบโรคนี้ ในรพ.คือประมาณ 1-2%ของจำนวนผู้ป่วยนอกที่มา รพ. ยิ่งกว่านั้น เราพบว่า มีผู้ป่วยหนองในแท้ที่ได้รับยาปฏิชีวนะเอง มาพบด้วยเรื่องอาการแทรกซ้อนจากเชื้อดื้อยา เช่นติดเชื้อลามไปเข้าอัณฑะ (อัณฑะอักเสบ)หรือต่อมลูกหมาก
คลิกเพื่อดูวิดีโอ
โรคหนองในแท้ gonococcal urethritis เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบบ่อยโรคหนึ่ง มีระยะฟักตัวสั้นและแพร่กระจายได้รวดเร็วและยังก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายได้มากมาย เช่น การอักเสบในอุ้งเชิงกราน การตั้งครรภ์นอกมดลูก การเป็นหมัน เป็นต้น
สาเหตุของโรค เกิดจากเชื้อ Neisseria gonorrhoeae
รูปร่างของเชื้อ เป็นเชื้อแบคทีเรีย รูปร่างค่อนข้างกลม อยู่กันเป็นคู่หันด้านเว้าเข้าหากัน ดูคล้ายเมล็ดกาแฟหรือเมล็ดถั่ว ย้อมสีแกรมติดสีแดง เรียกว่า diplococci
การติดต่อ โดยทางเพศสัมพันธ์
ระยะฟักตัว ประมาณ 1 – 10 วัน ส่วนใหญ่ภายใน 5 วัน โดยทั่วไป เป็นภายใน 7 วันและใช้เป็นเกณฑ์ในการวิจฉัยแยกออกจาก หนองในเทียม ซึ่งจะใช้เวลาฟักตัวนานกว่า แต่ปัจจุบันพบว่า อาจไม่เป็นอย่างนั้นเสมอไป
อาการและอาการแสดง
ในผู้ป่วยชาย จะมีอาการปัสสาวะแสบขัดและมีหนองขุ่นข้นไหลจากท่อปัสสาวะ โดยมีประวัติเพศสัมพันธ์โดยไม่สวมถุงยางก่อนหน้านั้น ภายใน 1 อาทิตย์ อาจติดต่อทางออรั่ลเซ็กซ์ได้ถ้ามีเชื้อในลำคอหญิงบริการ ตอนแรกหนองอาจไม่ขุ่น แต่นานวันขึ้นจะขุ่นขึ้น แต่ถ้าไม่ได้รับการรักษา หนองอาจลดลงแต่ไปก่อให้เกิดการอักเสบลุกลาม ไปยังบริเวณใกล้เคียง ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ เช่น ต่อมลูกหมากอักเสบ อัณฑะอักเสบ เป็นต้น ซึ่งทำให้เป็นหมันได้ เท่าที่เคยเจอ หลายคนมีอาการแสบมาก แต่บางคนมีแต่หนองข้นออกมา ฝรั่งบางคนมาด้วยตาอักเสบก่อน ถามประวัติไปมาจึงทราบว่ามีหนองออกมาด้วย เชื้อนี้สามารถติดต่อทางเยื่อบุต่างๆได้ง่าย เช่นตา คอ
ในผู้ป่วยหญิง จะมีอาการตกขาว กลิ่นเหม็น ปัสสาวะแสบขัดจากการอักเสบที่ท่อปัสสาวะและปากมดลูก ถ้าไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องโรคก็จะลุกลามต่อไป ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ เช่น ต่อมบาร์โธลินอักเสบ เป็นฝีบวมโต การอักเสบในอุ้งเชิงกราน ปีกมดลูกอักเสบ การอุดตันของท่อรังไข่ ซึ่งทำให้เป็นหมันหรือตั้งครรภ์นอกมดลูกได้
ในทารกแรกเกิด เด็กเกิดใหม่อาจจะติดเชื้อหนองในจากมารดาได้ ถ้ามารดาเป็นโรคนี้อยู่ เชื้อโรคเข้าตาเด็ก ขณะเด็กคลอดผ่านทางช่องคลอด ทำให้ติดเชื้อเกิดอาการตาอักเสบมีหนอง หากรักษาไม่ทันจะทำให้เด็กตาบอดได้
การรักษา
สมัยก่อนการรักษาโดยการฉีดเพนนิซิลลินเข้ากล้าม หรือยากลุ่มเซฟาโลสปอริน ปัจจุบันใช้ เซฟาโลสปอรินฉีด มียากินกลุ่ม azithromycin และ Norfloxacin หรือ ciprofloxacin
เป็นการติดเชื้อที่ท่อปัสสาวะเหมือนกัน แต่ต่างกันที่เชื้อเป็นในกลุ่มอื่นที่ไม่ใช่ โกโนเรีย เช่น ที่พบบ่อยสุดคือ Chlamydia คลามัยเดีย ตัวอื่นๆก็เช่น Ureaplasma urealyticum, Mycoplasma และ Trichomonas
การติดต่อ
ทางเพศสัมพันธ์ เช่นกัน สามารถติดต่อผ่านทางออรัลเซกซ์ได้
อาการและอาการแสดง
ในชาย ส่วนใหญ่อาการจะเกิดล่าช้ากว่า หนองในแท้ คือประมาณ 1-3 อาทิตย์ หลังสัมผัสโรคหรือเพศศัมพันธ์ อาการแรกอาจจะแค่คันท่อปัสสาวะ หรือมีน้ำใสๆต่อมาข้นขึ้น ออกทางท่อปัสสาวะ หนองมักไม่ข้นเท่าหนองในแท้ แต่ปัจจุบันแยกยาก ที่สำคัญคือ สองโรคนี้ มักชอบเกิดพร้อมๆกัน คือมากกว่า20% ของคนไข้หนองในแท้ มักมีหนองในเทียมร่วมด้วย
ถ้าไม่รักษา อาการที่แสบขัดอาจลดลงแต่จะลุกลามไปอวัยวะอื่นเช่นอัณฑะ ต่อมลูกหมากได้
ในสตรี อาจไม่มีอาการอะไร มีตกขาวคัน ข้น ได้ ซึ่งทำให้ยากในการตรวจวินิจฉัยและรักษา
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ป้ายหนองจากท่อปัสสาวะ หรือช่องคลอดในสตรี เจอเชื้อที่ไม่ใช่ลักษณะของหนองในแท้หรือ อาจเจอเซลที่เรียกว่า clue cell
สิ่งที่ควรตรวจร่วมด้วย
ให้ตรวจเอดส์ และซิฟิลิสร่วมด้วย
การรักษา
ยารักษาบางตัวในกลุ่มของเซฟาโลสปอริน ที่รักษาหนองในแท้ จะไม่สามารถฆ่าหนองในเทียมได้ ดังนั้น ในคนที่หายากินเอง อาจมีปัญหาคืออาการไม่หายเพราะยังมีหนองในเทียมด้วย ยาปฏิชีวนะที่ได้ผลคือยากลุ่ม doxycyclin , azithromycin และยากลุ่ม ควิโนโลนใหม่ๆ อาจต้องใช้เวลารักษานาน เช่น 1 สัปดาห์ โดยเฉพาะเชื้อที่ดื้อ หรือมีการลุกลามเข้าไปที่อัณฑะ หรือต่อมลูกหมาก
การแยกโรคสองอันนี้ออกจากกัน ใช้ลักษณะอาการ ความเร็วในการเป็นโรคหลังสัมผัส และการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
Links:
CDC fact sheet for gonorrhea
Note: There is a rating embedded within this post, please visit this post to rate it.
โนโรไวรัส Norovirus ไวรัสที่ทำให้เกิดท้องเสีย เป็น RNA virusสายเดี่ยว ซึ่งสามารถแบ่งเป็น 5 กลุ่ม (genogroup) ตาม major capsid protein โดยที่…
โรคความดันโลหิตสูง Hypertension (อัพเดต 2024) ถือเป็นโรคเรื้อรังโรคหนึ่งที่มีประวัติยาวนาน คู่กับการแพทย์ มีการปรับเปลี่ยนแนวทางปฏิบัติมาเรื่อยๆล่าสุดคือ 2024 หรือ 2567
อัพเดต อาการ การรักษา โรคไข้เลือดออก หรือ ไข้เดงกี่ (Dengue fever ) รวมถึง ไข้เลือดออกเดงกี่ Dengue Hemorrhagic fever เป็นโรคไข้จากไวรัส…
วัคซีนไข้หวัดใหญ่ 2023-2024 องค์การอนามัยโลก For trivalent vaccines for use in the 2023-2024 northern hemisphere influenza season,…
Thaihealth เปิดโซนสุขภาพเด็ก แนะนำบทความจาก Thaihealth Old News ครับ
ฮีทสโตรก heatstroke ภาวะที่ร่างกายมีอุณหภูมิสูงเกินปกติและควบคุมไม่ได้ โดยทั่วไปคือภาวะที่ร่างกายมีอุณหภูมิแกนกลาง (core temperature) มากกว่า 40 องศาเซลเซียส ก่อให้เกิดอันตรายต่ออวัยวะต่างๆอย่างเฉียบพลัน ถือเป็นภาวะที่ต้องรักษาเร่งด่วน