โรคอ้วน หรือ obesity บางท่านอาจงงว่าจะทำให้เกิดปัญหาโรคไตได้อย่างไร เพราะจากที่รู้แพทย์ก็มักบอกว่า จะทำให้เกิดโรคทางเมตาบอลิคอื่นๆเช่นเบาหวาน หัวใจ ความดันโลหิตสูงเสียมากกว่า วันนี้เรามีคำตอบครับ
ปัจจุบันคนไทยเป็นโรคอ้วนมากขึ้น เนื่องจากวิถีชีวิตเราเองที่เปลี่ยนไป เช่นการรับประทานอาหารที่มีแป้ง ไขมัน สูง กินอาหารแบบทอด ฟาสต์ฟู๊ดนั่นแหละตัวดี เนื่องจากการใช้ชีวิตแบบสังคมเมือง ไม่มีเวลาทำอาหารเอง การกินก็มีเวลาจำกัด สังคมแบบเดี่ยวๆ เป็นต้น
เมื่ออ้วน ก็จะมีปัญหาตามมามากมาย เช่น โรคข้อและกระดูกจากการรับน้ำหนัก เบาหวาน ไขมันสูง ความดันสูง แต่ที่น่าสนใจที่เรามาพูดวันนี้คือ เราพบว่าคนที่อ้วนหรือน้ำหนักเกิน จะมีปัญหาโรคไตมากกว่าคนปกติถึง 2-7 เท่าทีเดียว ทำไมถึงเป็นแบบนั้น
เราพบว่า สาเหตุแรกคือทางอ้อมครับ มันอ้อมมาจากการที่อ้วนทำให้เกิดเบาหวานและความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคไตอยู่แล้ว
อีกปัจจัยคือ คนที่อ้วน จะมีของเสียที่ต้องกรองผ่านไตจำนวนมากกว่าปกติ รวมทั้งไข่ขาวหรืออัลบูมินมีโอกาสรั่วผ่านไตได้มากขึ้น ไตเมื่อทำงานหนักนานๆก็จะเสื่อมเร็ว เป็นไตวายแบบเรื้อรังได้ นอกจากนั้น ความอ้วนยังทำให้ผู้ป่วยที่เกิดโรคไตเฉียบพลัน เป็นหนัก รักษายากกว่าคนปกติ มีโอกาสเสียชีวิตเพิ่ม และมีแนวโน้มกลายเป็นโรคไตเสื่อมถาวรมากขึ้นด้วยครับ
เอาละครับ ทีนี้เราจะวินิจฉัยโรคอ้วนอย่างไร ก่อนอื่น ปูพื้นก่อนว่า อ้วนมีสองชนิด คืออ้วนทั้งตัว กับอ้วนลงพุง
อ้วนทั้งตัว ไขมันเพิ่มทั้งตัว แน่นอน จะมีการอ้วนลงพุงร่วมด้วย วินิจฉัยโดยการวัดไขมัน โดยเครื่องมือ หรือใช้การคำนวนดัชนีมวลกาย ก็พอจะบอกคร่าวๆได้ ดัชนีมวลกาย Body Mass Index (BMI) คือการคำนวณโดยใช้นำหนักเป็นกิโลกรัม หารด้วยกำลังสงของส่วนสูงที่เป็นเมตรครับ โดยปกติถ้าเกิน 23-24.9 จะถือว่าท้วม เริ่มอ้วน ถ้า 25-29.9 จะเป็นอ้วนแท้จริง ถ้ามากกว่านี้จะถือว่าอ้วนมากครับ
อ้วนลงพุง ไขมันจับบริเวณพุงและอวัยวะในท้อง มีความเสี่ยงเช่นเดียวกัน วัดโดยวัดรอบพุงครับ ในชายที่เกิน90 ซม. และหญิงที่เกิน 80 ซม. จะถือว่าอ้วนครับ
กรุณาสละเวลาให้คะแนนบทความนี้ครับ
Note: There is a rating embedded within this post, please visit this post to rate it.
ฝุ่นpm2.5กับการออกกำลังกาย เชื่อว่าช่วงหลังๆ ในหน้าหนาว หลายคนกำลังประสบกับปัญหา ภัยจากฝุ่นควันจิ๋ว PM 2.5 ซึ่งเป็นฝุ่นที่มีขนาดเล็ก และสามารถทำอันตรายต่อสุขภาพได้ หลายท่านที่เป็นนักกีฬา หรือต้องออกกำลังกายกลางแจ้งคงกังวลว่า เราจะสามารถออกกำลังได้ไหม ในสถานการณ์อย่างไรบ้าง ต้องใช้หน้ากากไหม และมีหน้ากากป้องกันฝุ่น…
10 อันดับโรคมะเร็งที่พบบ่อยในประเทศไทย 1. มะเร็งตับและท่อน้ำดี (Liver and Bile Duct Cancer) เป็นมะเร็งที่พบบ่อยที่สุดในประเทศไทย และมีอัตราการเสียชีวิตสูงที่สุด (20.3%) 2.มะเร็งปอด (Lung Cancer)…
มะเร็งในอายุน้อยลง ผลวิจัยระบุ โรคมะเร็งที่เกิดในวัยหนุ่มสาว — รวมถึงมะเร็งเต้านม ลำไส้ใหญ่ หลอดอาหาร ไต ตับ และตับอ่อน — เพิ่มขึ้นอย่างมากทั่วโลก โดยแนวโน้มนี้เริ่มขึ้นประมาณปี 1990 ไม่ต้องแปลกใจถ้าจะมีข่าวมะเร็งในคนอายุน้อยลงเรื่อยๆ…
ปอดบวมจากไข้หวัดใหญ่(ปอดอักเสบจากไข้หวัดใหญ่ ) Influenza Pneumonia เป็นภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรงจากการติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ และการรักษาจะเกี่ยวข้องกับทั้งการใช้ยาต้านไวรัสและการดูแลแบบประคับประคอง อาการของปอดบวมจากไข้หวัดใหญ่ อาการระบบทางเดินหายใจ :ไอ (มักมีเสมหะ อาจใส เหลือง เขียว หรือแม้กระทั่งเป็นเลือด)หายใจสั้นหรือหายใจลำบากเจ็บหน้าอก ซึ่งอาจแย่ลงเมื่อหายใจลึกหรือไออาการในระบบต่าง…
Influenza A and B ICD 10 Influenza of any strains Use same ICD10 Influenza with…
ไข้หวัดใหญ่(Influenza, Flu)อัพเดตข้อมูลจาก Thaihealth.net กรมควบคุมโรค และสมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย อัพเดต 1/2025 ไข้หวัดใหญ่ บทนำ โรคไข้หวัดใหญ่ หมายถึง โรคระบบทางเดินหายใจที่เกิดจากไวรัส influenza เฉียบพลัน ซึ่งถ้าเป็นโรคไข้หวัดใหญ่…