ชนิดของโรคเบาหวาน

Classification of Diabetes Mellitus (American diabetes association classification 2016)

  1. เบาหวานชนิดที่ 1 – type 1 diabetes หรือเบาหวานที่พึ่งอินสุลิน เป็นเบาหวานที่บกพร่องในการสร้างอินสุลิน
  2. เบาหวานชนิดที่ 2 -type 2 diabetes หรือเบาหวานที่อินสุลินปกติ แต่มีปัญหาเรื่องการตอบสนองของร่างกายต่ออินสุลินไม่ดี (insulin resistance)
  3. เบาหวานในคนตั้งครรภ์ (Gestational Diabetes GDM)
  4. เบาหวานชนิดอื่นๆ เช่น MODY , LADA , FCPD, secondary DM คือเบาหวานที่เกิดจากการรับประทานยาบางอย่าง เช่นเสตียรอยด์ (glucoticoid induced DM) เป็นต้น

เบาหวานชนิดที่ 1 และ 2 นั้น เป็นโรคที่บางส่วนกรรมพันธ์ บางส่วนมาจากสิ่งแวดล้อม เราจะวินิจฉัยแยกจากกันคร่าวๆ โดย ชนิดที่ 1 ระดับอินสุลินต่ำ พบมีอาการในอายุน้อยกว่า โดยทั่วไปคือ 18 ปีลงไป น้ำหนักตัวผอม หรือปกติ อาจจะพบอาการเมื่อมีอาการน้ำตาลสูงมากจนเกิดปัญหาเช่น มีระดับกรดคีโตนในเลือดสูง พวกนี้ต้องใช้อินสุลินรักษา เพราะมีการบกพร่องของตับอ่อนในการสร้างอินสุลิน ส่วนเบาหวานชนิดที่2 นั้น เกิดในคนอายุมากกว่า ระดับอินสุลินปกติหรือสูง แต่ออกฤทธิ์ไม่ดีเพราะมีการดื้อต่ออินสุลินที่เรียกว่า insulin resistance ซึ่งเชื่อว่าเกิดจากไขมันที่สะสมมากกว่าปกติ พวกนี้จะนน.เกินมาตรฐาน อ้วนลงพุง ซึ่งก็คืออยู่ในกลุ่มโรคเมตาบอลิกนั่นเอง การแยกออกจากกันก็เพื่อการรักษาในระยะแรก อย่างไรก็ตามในคนไข้บางรายแยกออกจากกันยาก ทั้งขนาด น้ำหนักตัว ระยะเริ่มที่เป็น เป็นต้น การรักษาจึงขึ้นกับคนไข้เป็นรายๆไป

การวินิจฉัยโรคเบาหวาน

การวินิจฉัยใหม่ 2559 (ADC 2016) จะใช้การตรวจเลือดเป็นหลัก ร่วมกับอาการ การตรวจเลือดจะมี 3 แบบ แบบใดแบบหนึ่งได้แก่

  1. Fasting Plasma Glucose (FPG) ระดับน้ำตาลในพลาสมา มากกว่าหรือเท่ากับ 126 Mg/dl (7.0 mmol/l) ต้องอดอาหาร 8 ชม.เป็นอย่างต่ำ หรือ
  2. ระดับน้ำตาลในพลาสมา 2 ชม.หลังอาหาร หรือรับประทาน 75 gram ของกลูโคส (glucose tolerance test) มากกว่าหรือเท่ากับ 200 mg/dl(11.1 mmol/l) หรือ
  3. ระดับฮีโมโกลบิน A1C มากกว่า หรือเท่ากับ 6.5%(48 mmol/mol)จาก lab ที่เชื่อถือได้ หรือ
  4. ในคนไข้ที่มีอาการ ชัดเจน อาการของโรคเบาหวาน และเจาะตรวจน้ำตาลระหว่างวัน ได้ มากกว่าหรือเท่ากับ 200 mg/dl

โรคเบาหวานชนิดที่ 1

ข้อมูลจากเว็บเก่า thaihealth

เบาหวานชนิดที่1 โรคเบาหวานในคนไม่อ้วน แถมเป็นตั้งแต่เด็ก

ประมาณ 5-10%ของโรคเบาหวาน เกิดในคนอายุน้อย หรือผอมด้วย เรียกว่า เบาหวานชนิดพึ่งอินสุลิน หรือเบาหวานชนิด1 (insulin dependent diabetes or IDDN or diabetes type1)

แม้ว่า โรคเบาหวานที่เราเจอส่วนใหญ่ 90% จะเป็นชนิดที่2 หรือเบาหวานชนิดที่ไม่พึ่งอินสุลิน ที่มักเจอในคนอายุมากกว่าในช่วงวัยกลางคน และ มักมีความอ้วนหรือนน.ตัวเกิน แต่มีเบาหวานอีกชนิดหนึ่ง ที่มความสำคัญไม่แพ้กัน และบางครั้งเจอตั้งแต่อายุน้อย คือเบาหวานชนิดพึ่งอินสุลิน หรือ ชนิด1
ปกติ ร่างกายมนุษย์ จะมี ฮอร์โมน อินสุลิน ซึ่งสร้างจากตับอ่อน ทำหน้าที่นำน้ำตาลที่ได้จากการดูดซึมอาหาร และเข้ามาในกระแสเลือด ไปสร้างเป็นพลังงาน หรือเก็บเอาไว้ในตับ กล้ามเนื้อ หรือเปลี่ยนเป็นไขมัน ในคนไข้เบาหวานชนิด2 มีความบกพร่องของการทำงานของอินสุลิน ซึ่งส่วนใหญ่คือไม่สามารถนำน้ำตาลในเลือดไปใช้ได้(ด้วยเหตุผลหลายอย่างเช่น ตัวรับอินสุลินผิดปกติ อ้วนมากเกินไป เป็นต้น) ทำให้น้ำตาลในกระแสเลือดสูงขึ้น แต่จะไม่ขาดอินสุลินแถมอาจจะมีอินสุลินเกินด้วยซ้ำ ซึ่งต่างจากคนไข้เบาหวานชนิดที่1 ซึ่งเกิดจากการที่ร่างกายไม่สามารถสร้างอินสุลินจากตับอ่อนได้ ทำให้ร่างกายขาดอินสุลิน น้ำตาลในกระแสเลือดจะสูง แต่เอาไปใช้สร้างกล้ามเนื้อ ไขมันไม่ได้ ดังนั้น พวกนี้จะผอมและต้องการอินสุลิน
เบาหวานชนิดที่ 1 สามารถเกิดได้ตั้งแต่อายุยังน้อย ๆ ประมาณ 1 ใน 500 คนของเด็กๆในสหรัฐ เป็นเบาหวานชนิดนี้ ซึ่งจำเป็นต้องให้การรักษาด้วยอินสุลินแบบฉีด และการศึกษาแก่พวกเขาเพื่อจะได้ปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้อง เกี่ยวกับอาหาร การฉีดอินสุลิน และการตรวจเลือดอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้ยังต้องสอนวิธีสังเกตอาการที่แตกต่างกันของภาวะน้ำตาลเกิน และภาวะขาดน้ำตาล(hypoglycemia)และวิธีป้องกันหรือรักษาผลข้างเคียงอื่นๆ
อาการและอาการแสดง
คนที่เป็นเบาหวานชนิด1มักไม่ค่อยทราบว่าตนเองมีแนวโน้มจะเป็น จนกระทั่งเมื่อระดับอินสุลินลดลงและน้ำตาลในกระแสเลือดเพิ่มขึ้น ซึ่งมักจะมีอาการคล้าย ๆ ไข้ปวดเมื่อย ตามมาด้วยอาการ
กระหายน้ำบ่อย ปัสสาวะมาก โดยเฉพาะต้องลุกมาปัสสาวะกลางคืน บางครั้งปัสสาวะมีมดตอม
หิวมาก หิวบ่อย เนื่องจากการขาดอินสุลิน ทำให้ถึงแม้จะกินมาก จนระดับน้ำตาลในเลือดสูง แต่ร่างกายนำน้ำตาลไปใช้ไม่ได้เนื่องจากขาดอินสุลิน ที่เป็นเสมือนตัวเร่งกิริยาเผาผลาญอาหารให้ได้พลังงาน
นน.ลด ถึงแม้กินมาก
ตามัว เนื่องจากการที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูง ทำให้สมดุลของน้ำและเลนส์ผิดปกติ
เพลียเมื่อย หงุดหงิด เนื่องจากเซลต่างๆของร่างกายโดยเฉพาะกล้ามเนื้อและสมองขาดพลังงาน
นอกจากนี้ การทำลายของต่อม islet cells ในตับอ่อน ซึ่งเป็นที่สร้างอินสุลิน อาจจะเกิดจากโรคที่เกี่ยวกับภูมิคุ้มกันเกิน และมีภูมิคุ้มกันมาทำลายเซลเหล่านี้ โรคภูมิคุ้มกันเกินนอกจากจะทำลายเซลที่สร้างอินสุลินแล้ว ยังทำลายเซลที่อื่น ๆ ด้วยเช่น ต่อมธัยรอยด์ เซลประสาท เซลเยื่อบุข้อ ดังนั้น บางครั้งเราจะพบโรคพวกนี้อยู่ร่วม ๆ กันได้ เช่นมีทั้งเบาหวาน ปวดข้อและคอพอก เป็นต้น
สาเหตุและปัจจัยเสี่ยง
แม้ว่าสาเหตุที่แน่นอนจะยังไม่ทราบ เราพบว่ามีปัจจัยเสี่ยงอยู่หลายประการ ได้แก่
ประวัติครอบครัว
เชื้อชาติ เผ่าพันธ์ เราพบในชาวยุโรปผิวขาว เช่น อเมริกัน ฟินแลนด์ สวีเดน มากกว่าปกติ
ภาวะขาดอาหาร การกินอาหารบางอย่าง ทำให้เกิดการทำลายตับอ่อน อัลกอฮอล์ นิ่วในตับอ่อน
ดังนั้น แม้ว่าโรคนี้จะพบน้อย แต่เป็นอันตรายไม่ยิ่งหย่อนกว่าเบาหวานที่เรารู้จัก โดยผลจะเกิดเมื่อประมาณ10 ปีขึ้นไปถ้าเราไม่ตรวจพบ ดังนั้น ถ้าลูกหลานหรือตัวคุณเอง มีอาการที่กล่าวข้างต้น อย่าลืมพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและรักษาแต่เนิ่น ๆ เสีย

 

กรุณาสละเวลาให้คะแนนบทความนี้ครับ
Note: There is a rating embedded within this post, please visit this post to rate it.

CK

2535 แพทยศาสตร์บัณฑิต 2539 วุฒิบัตร อายุรศาสตร์ เป็นคนชอบขีดเขียน ชอบท้าทาย ทำงานเป็นหมอดีๆไม่ชอบ ชอบเป็น journalist /

Recent Posts

ไข้เลือดออก 2566

อัพเดต อาการ การรักษา โรคไข้เลือดออก หรือ ไข้เดงกี่ (Dengue fever ) รวมถึง ไข้เลือดออกเดงกี่ Dengue Hemorrhagic fever เป็นโรคไข้จากไวรัส…

1 year ago

วัคซีนไข้หวัดใหญ่ 2023-2024

วัคซีนไข้หวัดใหญ่ 2023-2024 องค์การอนามัยโลก For trivalent vaccines for use in the 2023-2024 northern hemisphere influenza season,…

2 years ago

สุขภาพเด็ก -Thaihealth

Thaihealth เปิดโซนสุขภาพเด็ก แนะนำบทความจาก Thaihealth Old News ครับ (more…)

2 years ago

ฮีทสโตรก heatstroke ภาวะที่ต้องระวังในหน้าร้อน

ฮีทสโตรก heatstroke ภาวะที่ร่างกายมีอุณหภูมิสูงเกินปกติและควบคุมไม่ได้ โดยทั่วไปคือภาวะที่ร่างกายมีอุณหภูมิแกนกลาง (core temperature) มากกว่า 40 องศาเซลเซียส ก่อให้เกิดอันตรายต่ออวัยวะต่างๆอย่างเฉียบพลัน ถือเป็นภาวะที่ต้องรักษาเร่งด่วน (more…)

2 years ago

อาการวิงเวียนเฉียบพลัน

อาการวิงเวียนศีรษะ เวียนหัวเฉียบพลัน เคสผู้ป่วยวิงเวียนนี้ อายุรแพทย์จะต้องได้เจอทุกวัน อาจจะวันละหลายๆครั้ง หลากหลายอาการ คนไข้จะบอกเล่า ตั้งแต่ อาการต่างๆ เช่น อยู่ๆก็เหมือนบ้านหมุน ทรงตัวไม่ได้ อันนี้อาการมาก เวียนเซ เป็นตอนขยับศีรษะ…

2 years ago

April 2023 Update for ICD 10-CM

April 2023 updates to the International Classification of Diseases, 10th Revision, Clinical Modification (ICD-10-CM) system…

2 years ago