สารบัญ

ไข้หวัดมะเขือเทศ โรคคล้ายมือเท้าปากที่ต้องระวัง (tomato flu and HFMs)

ปีนี้ ถือเป็นวิบากกรรมของชาวโลกเลย เรามีโควิด-19 ที่ระบาดข้ามมาหลายปี ต่อเนื่องด้วยฝีดาษลิง ที่รอเวลาปะทุ ถัดมาเมื่อกลางปีนี้เอง โลกก็รู้จักไข้หวัดและผื่นใหม่ ที่ชื่อเรียกไม่เป็นทางการว่า ไข้หวัดมะเขือเทศ (Tomato flu)เราลองมาดูว่า จะเหมือน หรือแตกต่างอย่างไร กับ ไข้มือเท้าปาก

ชื่อเรียกของมัน มาจากอาการที่เกิดขึ้น คือ มีตุ่มพองแดง ที่มีลักษณะและขนาดคล้ายมะเขือเทศนั่นเอง

การระบาดของไข้หวัดมะเขือเทศในอินเดีย ก่อให้เกิดความกังวลในผู้เชี่ยวชาญทั่วโลก

ไข้หวัดมะเขือเทศคืออะไร

มีรายงานการระบาด ที่เกิดในอินเดีย ด้วยโรคปริศนา ที่ทำให้เด็กมีอาการกว่า 100 ราย ลงในวารสารการแพทย์ Lancet เมื่อ พค.ที่ผ่านมา . จุดเริ่มต้น เกิดจากรายงานการระบาดในเด็ก ที่ผู้ป่วยมีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ ในรัฐKelara เมื่อ 6 พค. 2565 จากการรายงานพบวว่า โรคไม่ทำให้เกิดความเจ็บป่วนรุนแรงมากจนถึงชีวิต และหายเองได้

อาการและอาการแสดงของไข้หวัดมะเขือเทศ (symptoms of Tomato flu)

อาการในเด็ก (ส่วนใหญ่คือ อายุต่ำกว่า 5 ขวบ) มีอาการคล้ายกับ ชิคุนกุนย่า โดยมี อาการไข้สูง ปวดตัว ผื่น ปวดบริเวณข้อรุนแรง

อาการยังเหมือนการติดเชื้อไวรัสอื่นๆ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน เพลีย ท้องเสีย อาการขาดน้ำ ปวดบวมข้อ อาการยังคล้ายกับไข้เลือดออก

ผู้ป่วยจะมีผื่น และกลายเป็นตุ่มน้ำพองบริเวณมือ ซึ่งคล้ายกับมะเขือเทศ และอาการเหล่านี้จะดีขึ้นเรื่อยๆ เอง ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะหาย แต่ช่วงที่มีอาการก็จะทรมานจากการปวดข้อ ไข้ และแผลที่เกิดจากผื่น

การติดต่อของไข้หวัดมะเขือเทศ

เชื่อว่าเกิดจากการสัมผัสใกล้ชิดกัน มากกว่า จากการหายใจ เช่นการสัมผัส เสื้อผ้า และพื้นผิวสัมผัส เช่นเดียวกับ Monkeypox หรือ ฝีดาษลิง

ยังไม่มีหลักฐานการระบาดแบบ Airborne หรือ จากการแพร่กระจายทางการหายใจ และผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่า นอกจากกลุ่มเด็กแล้ว กลุ่มผู้สูงอายุ ยังอาจเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อเช่นกัน

สาเหตุของไข้หวัดมะเขือเทศ

Dr Robert Glatter แพทยืผู้เชี่ยวชาญยังไม่สามารถระบุได้ว่า เกิดจากไวรัสตัวไหน แต่เชื่อว่า น่าจะเป็น Varient หรือกลุ่มหนึ่ง ของไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคมือเท้าปาก (Hand Foot Mouth disease)

โดยผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่า ไข้หวัดมะเขือเทศ น่าจะเป็น โรคมือเท้าปากที่เกิดจากไวรัสตัวใหม่ ซึ่งอาจจะเป็น Enterovirus หรือ Coxsackie virus

ผู้เชี่ยวชาญหลายท่าน เตือนด้วยว่า ด้วยการระบาดแบบเดียวกับมือเท้าปาก และโลกยังไม่รู้จักมัน นั่นแสดงว่า โอกาศเกิดการระบาดไปทั่วโลกก็เป็นไปได้อย่างสูง

การรักษาไข้หวัดมะเขือเทศ

ขณะนี้ยังไม่มีการรักษาที่เฉพาะเจาะจง ยกเว้นรักษาตามอาการเท่านั้น เช่น ให้ยาลดไข้ ยาแก้ปวด รักษาแผล

การป้องกันและระบาดวิทยาของไข้หวัดมะเขือเทศ

ถึงแม้ยังไม่มีการระบาดออกนอกพื้นที่ แต่การระวังป้องกัน เทียบเท่ากับโควิด หรือฝีดาษลิงก็ยังจำเป็น และสิ่งที่เราทราบตอนนี้ยังน้อยมาก เกี่ยวกับการแพร่ระบาดในผู้ให็สูงอายุ หรือผู้ที่มีความเสี่ยงเช่น ภูมิคุ้มกันต่ำๆ

ไทยเฮลท์จะรีวิวและอัพเดตข่าวเป็นระยะๆ

CK

2535 แพทยศาสตร์บัณฑิต 2539 วุฒิบัตร อายุรศาสตร์ เป็นคนชอบขีดเขียน ชอบท้าทาย ทำงานเป็นหมอดีๆไม่ชอบ ชอบเป็น journalist /

Recent Posts

ไข้เลือดออก 2566

อัพเดต อาการ การรักษา โรคไข้เลือดออก หรือ ไข้เดงกี่ (Dengue fever ) รวมถึง ไข้เลือดออกเดงกี่ Dengue Hemorrhagic fever เป็นโรคไข้จากไวรัส…

10 months ago

วัคซีนไข้หวัดใหญ่ 2023-2024

วัคซีนไข้หวัดใหญ่ 2023-2024 องค์การอนามัยโลก For trivalent vaccines for use in the 2023-2024 northern hemisphere influenza season,…

1 year ago

สุขภาพเด็ก -Thaihealth

Thaihealth เปิดโซนสุขภาพเด็ก แนะนำบทความจาก Thaihealth Old News ครับ (more…)

1 year ago

ฮีทสโตรก heatstroke ภาวะที่ต้องระวังในหน้าร้อน

ฮีทสโตรก heatstroke ภาวะที่ร่างกายมีอุณหภูมิสูงเกินปกติและควบคุมไม่ได้ โดยทั่วไปคือภาวะที่ร่างกายมีอุณหภูมิแกนกลาง (core temperature) มากกว่า 40 องศาเซลเซียส ก่อให้เกิดอันตรายต่ออวัยวะต่างๆอย่างเฉียบพลัน ถือเป็นภาวะที่ต้องรักษาเร่งด่วน (more…)

1 year ago

อาการวิงเวียนเฉียบพลัน

อาการวิงเวียนศีรษะ เวียนหัวเฉียบพลัน เคสผู้ป่วยวิงเวียนนี้ อายุรแพทย์จะต้องได้เจอทุกวัน อาจจะวันละหลายๆครั้ง หลากหลายอาการ คนไข้จะบอกเล่า ตั้งแต่ อาการต่างๆ เช่น อยู่ๆก็เหมือนบ้านหมุน ทรงตัวไม่ได้ อันนี้อาการมาก เวียนเซ เป็นตอนขยับศีรษะ…

1 year ago

April 2023 Update for ICD 10-CM

April 2023 updates to the International Classification of Diseases, 10th Revision, Clinical Modification (ICD-10-CM) system…

1 year ago