สารบัญ

อัพเดต อาการ การรักษา

โรคไข้เลือดออก หรือ ไข้เดงกี่ (Dengue fever ) รวมถึง ไข้เลือดออกเดงกี่ Dengue Hemorrhagic fever เป็นโรคไข้จากไวรัส ที่แพร่โดยยุงที่กระจายมากที่สุดในโลก สาเหตุ โรคนี้เกิดจากไวรัสเดงกี่ (Dengue Virus ) ซึ่งอยู่ในกลุ่ม flaviviridae มี 4 สายพันธ์หลัก (serotype)โดยมียุงลาย Aedes aegypti (ยุงลายบ้าน)และAedes albopictus เป็นตัวแพร่กระจายเชื้อ  

Read more: ไข้เลือดออก 2566

ไข้เดงกี่ที่รุนแรง(DSS)มีความเสี่ยงสูงต่อการเสียชีวิตเมื่อไม่ได้รับการจัดการอย่างเหมาะสม ได้รับการยอมรับครั้งแรกในปี 1950 ในช่วงการระบาดในประเทศฟิลิปปินส์และประเทศไทย ทุกวันนี้ ไข้จากไวรัสเดงกี่ส่งผลกระทบต่อประเทศส่วนใหญ่ในเอเชียและละตินอเมริกาและกลายเป็นสาเหตุสำคัญของการรักษาในโรงพยาบาลและการเสียชีวิตของเด็กและผู้ใหญ่ในภูมิภาคเหล่านี้  ปัจจุบันไม่มีวิธีรักษาเฉพาะ แต่มีวัคซีนป้องกัน (Dengue Vaccine)

ไข้เลือดออก ระยะฟักตัว

ระยะฟักตัวระหว่างเริ่มติดเชื้อจนมีอาการ 3-14 วัน (Incubation period)

อาการเป็นอย่างไร

ในคนที่ได้รับเชื้อเป็นครั้งแรก โดยเฉพาะเด็ก ส่วนใหญ่จะอาการน้อย (80%) หรือแทบไม่มีอาการ อาการที่พบบ่อยสุด คือ ไข้ ซึ่งส่วนใหญ่จะไข้สูงลอย คนไข้มักให้ประวัติว่า เป็นไข้ที่ไม่มีอาการทางระบบหายใจอื่นๆ มีปวดเมื่อยตัว ในบางรายปวดในกระดูกมาก ไข้มักจะสูงลอย ทานยาไข้ลงแต่ก็ขึ้นใหม่ โดยเฉพาะในคนที่มีติดเชื้อซ้ำ (ไข้เลือดออกเมื่อติดเชื้อซ้ำจะรุนแรงมากขึ้น ซึ่งเป็นเหตุผลว่าการฉีดวัคซีนจะมีประโยชน์ ซึ่งจะกล่าวต่อไป) ในจำนวนคนไข้ทั้งหมด 5% จะเป็นผู้ที่มีอาการรุนแรง

อาการของการติดเชื้อซ้ำ แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะไข้ ระยะวิกฤต และระยะฟื้นตัว ระยะไข้สูง จะมีไข้สูงลอย ไม่ยอมลง หน้าแดง ปวดหัว เมื่อย ดื่มน้ำบ่อย มักมีอาเจียน เบื่ออาหาร มักไม่ค่อยมีอาการหวัด คัดจมูก ไอ หรือเจ็บคอ แต่บางคนก็มี อาจมีท้องเสีย หรือท้องผูกราว ๆ 3 วันจะมีผื่นขึ้นตามตัว จุดเลือดออกเล็ก ๆ ตามหน้า ซอกรักแร้ แขน ขา เลือดออกตามไรฟัน เลือดกำเดา อาจมีปวดท้องในช่วงนี้ ระยะนี้กินเวลา 2-7 วัน ในผู้ใหญ่อาจกินเวลานาน

ระยะวิกฤต หรือระยะช๊อค เป็นระยะหลังจากไข้ลง 24-48 ชม. มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญคือ

การรั่วของพลาสมา(น้ำเหลือง)ซึ่งนำไปสู่ภาวะช็อก

  • ระดับ Hematocrit (HCT)เพิ่มขึ้นทันทีก่อนเกิดภาวะช็อก และคงระดับในช่วงที่มีการรั่วของพลาสมา/ระยะช็อก
  • มีน้ารั่วไปในช่องปอดและช่องท้อง เช่นในตับ มีตับโตกดเจ็บ
  • โปรตีนอัลบูมินในเลือดต่ำ
  • ความดันในเลือดดำต่ำ
  • pulse pressure แคบ

มักจะเกิดในวันที่ 3-7 ในระยะนี้ เด็กไข้ลง แต่แทนที่อาการจะดี พบว่า อาเจียนมาก ปวดท้อง ซึม กระสับกระส่าย ตัวเย็น เหงื่อออก ปัสสาวะเข้ม ออกน้อย ชีพจรเต้นเบาเร็ว ความดันต่ำ ถ้าไม่รีบรักษาจะช๊อคและเสียชีวิตได้ ภายใน 1-2 วัน นอกจากนี้ ผู้ป่วยจะมีเลือดออกตามที่ต่าง ๆ เช่น จ้ำตามผิวหนัง อาเจียน ถ่าย เลือดกำเดา ประจำเดือนเป็นเลือดมาก ระยะนี้จะกินเวลา 2-3 วันและจะเข้าสู่ระยะต่อไป

ระยะฟื้นตัว (recovery phase)

อาการจะดีขึ้น อาการแรกที่บ่งว่าหายคือ จะเริ่มอยากกินอาหาร ชีพจรจะช้า pulse pressure กว้าง HCT คงที่ มีผื่นของการหาย ที่เป็นแดงสลับขาวแผ่ตามแขนขา (confluent rash) ระยะนี้ ตัวใช้เวลา 2-3 วัน แต่อาจมีอาการอ่อนเพลียต่อไปอีกเป็นสัปดาห์

การรักษา ไม่มียาเฉพาะ รักษาตามอาการ พยายามให้เด็กดื่มน้ำมาก ๆ หรือน้ำเกลือแร่ ถ้ามีความสงสัย ว่าไข้ยังสูง มีตัวแดง เกิดในหน้าฝน ต้องรีบนำไปเทสต์ทันที

ห้ามให้เด็กรับประทานยา แอสไพริน หรือยาแก้อักเสบอื่น ๆ เพราะอาจทำให้เลือดออกในกระเพาะได้ ถ้าไข้ไม่ลง ให้เช็ดตัว และให้พาราเซตามอล ในกรณีที่ไข้ไม่ยอมลง ให้หมั่นเช็ดตัว อย่าให้พาราเซตามอลเกินขนาด

Dengue Shock Syndrome (DSS)

Dengue shock syndrome (DSS) คือภาวะที่มีเกล็ดเลือดต่ำ และมีการรั่วของพลาสมาออกไปมากจนมีภาวะช็อกเกิดขึ้น ซึ่งการรั่วของพลาสม่า หรือน้ำเหลืองออกจากเส้นเลือด ถือเป็นลักษณะเฉพาะของไข้เดงกี่ และสามารถตรวจพบได้จากการที่มีระดับ Hematocrit สูงขึ้น มี pulse pressure แคบ มีน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด และช่องท้อง

Expanded dengue syndrome


ภาวะนี้พบได้ไม่บ่อย ประมาณ 3-5% ของผู้ป่วย มีอาการร่วมทางระบบอื่น เช่น ตับ ไต สมอง หัวใจ

  • Encephalopathy/encephalitis มีอาการทางสมอง เช่น เอะอะโวยวาย ซึมมากกว่า ปกติอาจ
    ตรวจพบมี reflex ไว, Babinski sign มี extensor plantar responseโดยมักจะมีสาเหตุมาจาก
    Electrolyte imbalance , hypoglycemia , Hepatic encephalopathy หรือ Intracranial bleeding
  • Hepatic failure จากการที่ผู้ป่ วยมีภาวะช็อกนาน หรือจากยา ที่พบได้คือ paracetamol
  • Renal failure เกิดจากprolonged shock, hepatorenal syndrome, hemoglobinuria
  • Dual infection คือการติดเชื้อไวรัส ร่วมกับการติดเชื้อแบคทีเรีย
  • โรคประจำตัว เช่น โลหิตจาง

อาการ และวิธีสังเกตอาการ การวินิจฉัย ไข้เลือดออก

WHO และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญคาดกันว่า ปี 2565 ถึง 2566 เราจะพบผู้ป่วยไข้เลือดออก และไข้เดงกี่รุนแรงเพิ่มขึ้น จากเมื่อเดือน มิย. 2565ที่ผ่านมา ผู้เขียน (นพ.กิจการ จันทร์ดา) พบว่า มีผู้ป่วยด้วยไข้จากไวรัสเดงกี่เริ่มเยอะขึ้น และมีอาการรุนแรง 2 รายที่มีอาการช๊อค การซักประวัติที่ดีเป็นสิ่งสำคัญมาก ต้องซักประวัติถึงจำนวนวันของไข้ อาการที่พบร่วมด้วย เช่น ปวดเมื่อย ท้องเสียที่มีได้ ส่วนใหญ่คนไข้จะไม่มีอาการทางระบบหายใจ แต่ก็มีได้ ประวัติคนใกล้ชิดเป็น ประวัติใกล้ชายป่า (ยุงช่วงหลังอยู่ในป่า ไม่จำเป็นต้องมีแหล่งน้ำนิ่ง) ประวัติท่องเที่ยวที่เดินทางมา

ประวัติการมีเลือดออก การทานยา ลักษณะของไข้ การอาเจียน ปวดท้อง เป็นลม เวียน การมีผื่นตามตัว หน้าแดง ตัวแดง เป็นต้น

การทำรัดแขน (ทูนิเกต์ เทส) เพื่อดูจุดเลือดออก ก็ยังจำเป็น แม้ว่าเราจะมีการตรวจเลือดที่ค่อนข้างได้ผลเร็ว เช่นการตรวจ Dengue NS1 AG หรือ Antibody (IgM , IgG) ก็ตาม ในเด็กที่มีไข้เกิน 2 วันควรต้องนัดมาตรวจเลือดและรัดแขนในช่วง 2-5 วันทุกวัน และเตือนถึงอาการเลือดออก เวียน อาเจียน เสมอ

Warning Signs อาการเตือน

แพทย์และนักสาธารณสุขต้องเตือนตนเองและผู้ป่วย หรือญาติ เกี่ยวกับอาการเตือนว่าอาจเป็นไข้เลือดออกดังนี้

  1. อาการไม่ดีขึ้น หรือแย่ลงก่อนถึงระยะไข้
    ลง (afebrile phase)หรือไข้ลงแล้วแต่ยังเหนื่อย
  2. อาเจียนตลอด /กินไม่ได้
  3. ปวดท้องมาก
  4. กระสับกระส่าย/ หรือมีท่าทางที่
    เปลี่ยนแปลงกะทันหัน
  5. มีภาวะเลือดออกเช่นเลือดกำเดาไหล, ถ่ายดำ ,
    ถ่ายเป็นเลือด , ประจำเดือนมามาก,
    ปัสสาวะสีคล้า หรือ ปัสสาวะเป็นเลือด
  6. เวียนศีรษะ(Giddiness)
  7. ซีด / มือเท้าเย็น
  8. ปัสสาวะน้อยลง /ไม่ปัสสาวะมา 4-6 ชม.

อาการเหล่านี้คือต้องมาพบแพทย์ทันที

Tourniquet test ทูนิเกต์ (การรัดแขน)


การทำ ทูนิเกต์ tourniquet test จะช่วยในการวินิจฉัยโรคไข้จากไวรัสกลุ่มเดงกี่ในระยะแรกเป็นอย่างดีควรทำในผู้ป่วยทุกรายที่สงสัยการติดเชื้อไข้เลือดออก วงกลมที่ข้อพับแขนขนาด 1 นิ้ว นำเครื่องวัดความดันแบบแมน่วล วัดและบีบค้างไว้ที่ความดันกึ่งกลางระหว่าง systolic และ diastolic เช่น ถ้าคนไข้มีความดัน 120/80 ก็รัดที่ 100 ค้างไว้ 5 นาที และอ่านผล ถ้ามีจุดเลือดออกมากกว่า 10 จุดต่อวง 1 ตารางนิ้ว ถือว่าเป็นผลบวก

การรักษา อัพเดตในเว็บบอร์ด ดูการรักษา df/dhf/dss ที่นี่

อ้างอิง

Share
CK

2535 แพทยศาสตร์บัณฑิต 2539 วุฒิบัตร อายุรศาสตร์ เป็นคนชอบขีดเขียน ชอบท้าทาย ทำงานเป็นหมอดีๆไม่ชอบ ชอบเป็น journalist /

Share
Published by
CK

Recent Posts

ไข้หวัดใหญ่(Influenza, Flu)

ไข้หวัดใหญ่(Influenza, Flu)อัพเดตข้อมูลจาก Thaihealth.net กรมควบคุมโรค และสมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย อัพเดต 1/2025 ไข้หวัดใหญ่ บทนำ โรคไข้หวัดใหญ่ หมายถึง โรคระบบทางเดินหายใจที่เกิดจากไวรัส influenza เฉียบพลัน ซึ่งถ้าเป็นโรคไข้หวัดใหญ่…

2 weeks ago

Enterovirus71กับโรคมือเท้าปากรุนแรงที่เสียชีวิตได้

Enterovirus71กับโรคมือเท้าปากรุนแรงที่เสียชีวิตได้ มีข่าวการเสียชีวิตของเด็ก อายุ 3 ขวบที่ระยองจากการมีไข้ ผื่น และหัวใจวายเสียชีวิตในเวลาไม่กี่วัน และคาดว่า อาจเกิดจากเชื้อไวรัสตัวใดตัวหนึ่ง ซึ่งทางผู้โพสบอกว่า แพทย์ยังหาสาเหตุไม่พบ การที่เด็กไข้ ผื่น เสียชีวิตรวดเร็ว เป็นเชื้ออะไรได้บ้าง…

3 weeks ago

Zika Virus คือ ? review ซิก้าไวรัส

Zika Virus คืออะไร review ซิก้าไวรัส 2023-2025 ข้อมูลอ้างอิง New England Journal of Medicine และ WHO review…

3 weeks ago

Cabtreo ยารักษาสิวใหม่ 3 in 1

Cabtreo ยารักษาสิวใหม่ 3 in 1 Cabtreo ได้รับอนุมัติจากองค์การอาหารและยา FDA เมื่อ ตค. 2023 เป็นยาทาภายนอก ที่มีส่วนผสมของ clindamycin antibiotics…

3 weeks ago

ไข้ พยาธิสภาพ ของ AFI ทำไมถึงเกิดไข้?

ไข้ พยาธิสภาพ ของ AFI ทำไมถึงเกิดไข้? ไช้ Fever คืออะไร ทำไมถึงเกิด มีหลายคนสงสัยว่าทำไมถึงเกิดไข้ และเราต้องไม่สับสนระหว่างคำว่า อุณหภูมิร่างกายสูง (Hyperthermia เช่นใน Heatstroke…

1 month ago

syphilis ซิฟิลิส

Syphilis ซิฟิลิส โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ที่เราคุ้นเคยกันดีเพราะเป็นโรคที่เกิดและได้ยินมาตั้งแต่โบราณ เป็นโรคที่เกิดในบุคคลดังหลายคน  การติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และเกิดผลข้างเคียงต่อสุขภาพได้มากมาย ซิฟิลิสจำแนกเป็น 4 ระยะ คือ primary , secondary…

1 month ago