โรคเบาหวานแบบแปลก LADA และ FCPD

โรคเบาหวานเป็นโรคทางเมตาบอลิค ที่มีความซับซ้อน หลากหลาย จนกระทั่งปัจจุบันก็ยังมีการค้นพบ โรคเบาหวานที่มีความแปลกๆอยู่เรื่อย วันนี้จะเสนอเรื่องของเบาหวานที่มีความแปลกจากชนิดที่เราคุ้นเคยกันครับ

Latent Autoimmune Diabetes of the adult (LADA)
จัดอยู่ในกลุ่ม ออโต้อิมมูน พบได้ประมาณ 4-14 ของประชากร ที่เป็น type2 DM พบมากในยุโรป การวินิจฉัย คือ คนที่มีเบาหวานในอายุมากกว่า 18 ปี แต่เป็นเบาหวานแบบพึ่งอินสุลิน (type 1) รวมถึงตรวจพบ diabetes associate antibodies (DAA) นอกจากนี้ คนเป็นเบาหวานแบบนี้มักพบว่าไม่อ้วนมาก มักมีแนวโน้มที่จะต้องรักษาด้วยอินสุลินเร็วกว่า type2 DM
ลักษณะที่ใช้แยกโรคออกจาก type 2 DM คือการตรวจพบ islet cells antibodies , GAD antibodies ,(ant- GAD), ZnT8 , และ IA-2 ครับ

การวินิจฉัย LADA

  1. เบาหวานในผู้ใหญ่ที่เกิดหลังอายุ 18(30) ปี ที่มี
  2. ตรวจพบ islet cells antibodies , GAD antibodies ,(ant- GAD)
  3. ในช่วงแรกอาจใช้ยาเม็ดรักษาเบาหวานได้ แต่ในที่สุดอาจต้องใช้อินสุลินเนื่องจากเบต้าเซลล์ของตับอ่อนเสื่อม
    การรักษา มักใช้ อินสุลิน ร่วมด้วยกับยากิน แต่ส่วนใหญ่ จะเหมือนกับ type1 dm

Fibro calculous Pancreatic Diabetes (FCPD)
พบในเขตร้อน เขตอินเดีย ลักษณะตามชื่อโรคคือพบว่ามีผังผืด และหินปูนเกาะ บริเวณตับอ่อน ผู้ป่วยมักผอม เจอในคนยากจนเศรษฐานะไม่ดี มีลักษณะขาดอาหาร มีลักษณะ 3 ประการที่ใช้แยกโรคคือ
1. ปวดท้อง จุก ปวดรุนแรงที่ลิ้นปี่เป็นระยะๆ อาจมีร้าวไปหลัง อาการจะดีขึ้นหรือหายไปเมื่อเวลาผ่านไป หรือเมื่อเป็นเบาหวานไปแล้ว
2. อุจจาระมีคล้ายไขมัน เพราะตับอ่อนทำงานบกพร่อง (chronic pancreatitis)
3. เป็นเบาหวาน
การรักษา โดยใช้ อินสุลินเช่นกัน
ปัจจุบัน เราค้นพบว่า มียีนในการก่อให้เกิดโรค FCPD นี้คือ Serine Protease Inhibitor Kagal type 1 (SPNK1) และยีนอื่นๆบางตัว เช่น CTSB , MTHFR เป็นต้น นอกจากนี้ พยาธิกำเนิดของมันยังพบร่วมกับการขาดแร่ธาตุ trace elementบางตัว หรือ oxidative stress
ส่วนสมมุติฐานในอดีต เช่นการขาดอาหาร มี protein – energy malnutrition มีข้อค้าน คือพบได้ทุกเศรษฐานะแล้วในปัจจุบัน จึงเชื่อว่า ภาวะขาดอาหารเกิดจากตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง (chronic pancreatitis )มากกว่า
แต่ก่อนเชื่อว่า กินมันสำปะหลังมากๆ จะเป็นเบาหวานนั้น มีการค้นพบใหม่ๆ คือ การบริโภค Cassava(Manioc esculenta )=มันสำปะหลังนั้น เราพบว่า ในผู้ป่วยที่มีภาวะทุพโภชนาการ ทำให้ขาดกรดอมิโนที่มีซัลเฟอร์อยู่(sulphur containing aminoacid) ทำให้ไม่สามารถกำจัดไซยาไนด์ ซึ่งเป็นผลผลิตของ linamarin , lotuastralin ที่เป็นไกลโคไซด์ ในมันสำปะหลัง ก่อให้เกิดไซยาไนด์คั่ง และตับอ่อนอักเสบตามมา แต่เราพบว่า ถ้าไม่ขาดอมิโนแอซิดดังกล่าว กินมันสำปะหลังอย่างไรก็ไม่เป็นเบาหวาน สมมุติฐานนี้ปัจจุบันเลยไม่เชื่อกันแล้วครับ คือมันจะเป็นเฉพาะคนที่บกพร่องในการสลายไซยาไนด์ คนปกติ ไม่มีปัญหา

อ้างอิง

LADA https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6021307/

เนื้อหาทั้งหมดใน