เกลื้อน , pityriasis versicolor

โรคเกลื้อน (Pityriasis versicolor)
เกิดจากเชื้อ Malassezia furfur (Pityrosporum orbiculare, P. ovale) ซึ่งเป็น lipophilic yeast และพบเป็น normal flora ในรูขุมขน โดยปกติเชื้อจะอยู่ในรูปของ yeast form การจะเกิดโรคเกลื้อนขึ้นหรือไม่จึงขึ้นกับ precipitating factor ที่สำคัญคือ ผิวหนังมัน, มีเหงื่อออกมาก, มีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ, อยู่ในที่อากาศร้อนชื่นเป็นต้น ภาวะเหล่านี้จะกระตุ้นทำให้เชื้อเจริญเติบโตเปลี่ยนเป็น hypha form ซึ่งเป็น pathogen

ลักษณะผื่นผิวหนังเป็นผื่นราบสีจางกว่าผิวหนังปกติมีขอบเขตชัดเจนและมีขุยบาง ๆ(ในบางรายผื่นอาจมีสีแดงหรือสีเทาคล้ายมีขี้เถ้าได้) ผื่นจะเริ่มเกิดรอบ ๆ รูขุมขนก่อน แล้วจึงขยายมารวมกันเป็นปื้นใหญ่ คนไข้มักไม่มีอาการ ผื่นมักเป็นบริเวณที่มีต่อมไขมันหนาแน่น เช่น บริเวณหน้าอก, หลัง, ต้นแขน ในเด็กอาจพบที่หน้าได้
การวินิจฉัย จากลักษณะทาง clinic
ส่องดูด้วย Wood ‘s lamp ผื่นจะเรืองแสงเป็นสี Golden yellow
Lab :- ขูดขุยมาย้อมด้วยน้ำยา KOH จะพบshort septate hyphae และ round หรือ oval yeasts
:- Scotch tape technic : ใช้ Scotch tape แปะที่ผื่นเพื่อให้ติดเอา scale ออกมา แล้วหยดดูด้วยสี methylene blue จะพบลักษณะตัวเชื้อเช่นเดียวกับการทำ KOH ติดสีฟ้าทำให้เห็นชัดขึ้น
การวินิจฉันแยกโรค
1. Pityriasis alba มักเป็นวงขาวขอบเขตไม่ชัดเจน ชอบเป็นบริเวณใบหน้าหรือบริเวณที่โดนแดด
2. Vitiligo ผื่นขอบเขตชัดเจน ด่างขาวเหมือนกระดาษไม่มีขุย
การรักษา
1. Topical agent : ควรแนะนำให้คนไข้ทายาที่บริเวณตัว, แขนและขา (ถึงแค่หัวเข่า) ให้ทั่วถึง ถึงแม้จะเป็นผื่นอยู่เพียงแค่หย่อมเดียว
– 20% Sod.thiosulfate ทาวันละ 2 ครั้งหลังอาบน้ำเช้า-เย็น เป็นเวลา 2 สัปดาห์
– 50% Propylene glycol ทาวันละ 2 ครั้งหลังอาบน้ำเช้า-เย็น เป็นเวลา 2 สัปดาห์
– Zinc pyrithione shampoo ใช้ทาผื่นทิ้งไว้ 15 นาทีแล้วล้างออกทุกวันนาน 2 สัปดาห์
– 2.5 % Seleniumsulfide shampoo (Selsun) ใช้ทาผื่นทิ้งไว้ 15 นาทีแล้วล้างออกทุกวันนาน 2 สัปดาห์
– Topical imidazole cream ทาวันละ 2 ครั้งนาน 2 สัปดาห์ ไม่นิยมใช้เพราะราคาแพง เนื่องจากต้องทาเป็นบริเวณกว้าง

2. Systemic agent ใช้ในรายที่มี extensive lesion, ใช้ topical treatment ไม่ได้ผลหรือมี relapse
ยาที่นิยมใช้มากที่สุดคือ Ketoconazole เนื่องจากยาถูก excrete ได้ดีทาง sweat, มี MIC ต่อเชื้อต่ำกว่า และราคาถูกกว่า Azole ตัวอื่น
วิธีการใช้ยามีหลายแบบ
Single dose regimen: ขนาดที่ให้แตกต่างกันตั้งแต่ 400 mg- 800 mg ครั้งเดียว
Daily dose regimen: ขนาด 200 mg/d นาน 5-10 วัน
ไม่ว่าจะรักษาด้วยวิธีใด จะต้องแนะนำคนไข้เสมอว่าหลังรักษาถ้าได้ผล ขุยบาง ๆ จะหายไป แต่ผื่นที่มีสีจางกว่าผิวหนังปกตินั้นจะยัง persist อยู่ต่อไปได้อีกประมาณ 3-4 เดือน
3. Prophylactic treatment ใช้ในรายที่มีประวัติเป็นซ้ำบ่อย ๆ อาจให้
– Ketoconazole 200 mg/วัน ติดต่อกันนานเป็นเวลา 3 วัน ทุกเดือน
– Ketoconazole 400 mg. Single dose เดือนละครั้ง
– 1% selenium sulfide shampoo ฟอกตัวเดือนละครั้ง

CK

2535 แพทยศาสตร์บัณฑิต เกียรตินิยมอันดับ1 มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2539 วุฒิบัตร อายุรศาสตร์

Recent Posts

วัคซีนป้องกันไข้หวัดนก(2550)

10 อันดับความก้าวหน้าหรือ medical breakthrough ทางการแพทย์ ประจำปี 2550 เรื่องที่ 3 วัคซีนไข้หวัดนก ตัวแรก ออกแล้ว ในปี 2007 ความกังวลว่า…

8 years ago

ขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ ทำไม อย่างไร เมื่อไร

หลายคนคงเคยมีคำถาม จะขลิบหนังหุ้มปลาย อย่างไร เมื่อไร และทำไม โดยเฉพาะผู้เป็นพ่อแม่ที่มีลูกชาย อาจจะเคยมีแพทย์แนะนำให้ ขลิบหนังหุ้มปลายตั้งแต่เด็กยังเล็กๆเลย ซึ่งแน่นอน ว่าต้องเกิดความกังวลในใจคุณแน่ๆ (more…)

8 years ago

Health tip ป้องกันการเกิดกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

ข้อมูลจาก health day และศูนย์ข้อมูลโรคไตของสหรัฐ ได้ให้คำแนะนำสำหรับป้องกันการติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะ เช่นกระเพาะปัสสาวะและไต ดังนี้ ดื่มน้ำวันละมากๆ ห้ามกลั้นปัสสาวะนานๆ อาบน้ำโดยใช้การตักอาบหรือฝักบัว ดีกว่าใช้อ่างอาบน้ำ (more…)

8 years ago

สมาธิ จุดเริ่มต้นในการพัฒนาการเรียนของเด็ก

การปลูกฝังสมาธิในเด็ก เป็นการปูพื้นความสามารถในการเรียนรู้ให้เด็ก ผมมีบทความดีๆจาก ศูนย์จินตคณิต http://www.imaxbrain.com พัทยา ที่นำมาจากการสัมนาเรื่อง สมาธิ คือจุดเริ่มต้นของการเรียนรู้ที่ดี มาฝากครับ (more…)

8 years ago

ไข้หวัด

ไข้หวัด เกิดจากเชื้อไวรัสหวัด เด็กเล็ก ๆ อายุต่ำกว่า 6 เดือน เป็นหวัดน้อยกว่าเด็กโต ทั้งนี้เพราะ เด็กทารกช่วงวัยนั้น ได้รับภูมิต้านทาน เชื้อโรคหวัด ผ่านทางรก และเลือดของแม่ ตั้งแต่อยู่ในครรภ์…

8 years ago

เหา Pediculosis capitis

เหา (Pediculosis capitis) เหาเกิดจากเชื้อปาราสิต ชื่อว่า "Pediculus humanus" ซึ่งอาศัยอยู่บนหนังศีรษะ เส้นผม ขน ปาราสิตนี้จะคอยดูดเลือดกินเป็นอาหาร และวางไข่บนเส้นผม โดยหลั่งสารไคติน (chitin) หุ้มปลายหนึ่งของไข่…

8 years ago