Share

สารบัญ

Zika Virus คืออะไร review ซิก้าไวรัส 2023-2025

ข้อมูลอ้างอิง New England Journal of Medicine และ WHO review page.

Zika Virus การค้นพบ

เมื่อปี 1947 ได้มีการแยกเชื้อไวรัสใหม่ขึ้นมา จากลิงวอก (rhesus Marcaque)จากป่าที่เรียกว่า Zika Forest ในประเทศยูกันดา

Zika Virus จัดในกลุ่ม Flavivirus (family flaviviridae) การแพร่กระจายโดยยุงลายอเมริกัน Aedes Africanus ในตอนแรกที่พบเชื้อในยูกันดา พบว่า มีการติดเชื้อในคนแล้ว(พบแอนติบอดี้ถึง 6%) แต่เนื่องด้วยตอนนั้นยังไม่มีรายงานการเป็นโรคชัดเจน จึงยังไม่ประกาศว่าเป็นไวรัสอันตราย ทว่า หลังจากนั้นถึง 70 ปี จึงมีการประกาศว่ามีการระบาดไปยังบราซิล และกระจายรวดเร็วไปยังอเมริกาใต้ และพบว่ามีการพิการของทารกที่แม่ติดเชื้อนี้ (Microcephaly) เนื่องจากโรคนี้เป็นหนึ่งในโรคติดเชื้อที่ทำให้เกิดการพิการในทารกแรกเกิดรุนแรง ( เด็กจะเกิดมามีกระโหลกและสมองเล็ก microcephaly) ทำให้องค์การอนามัยโลก ประกาศเป็นภาวะฉุกเฉินเร่งด่วนทันที

ระบาดวิทยา

พบแรกเริ่มที่ยูกันดา ต่อมาระบาดไปยังอเมริกาใต้ กลาง มีรายงานการค้นพบที่เอเชีย ไทย เวียดนาม ฟิลลิปปินส์ มาเลเซีย อินโดนิเซีย กัมพูชา แอฟริกา อียิปต์ อินเดีย ต่อมาแพร่กระจายไปยังหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก

การติดต่อของ Zika

เริ่มจากลิง และมีพาหะคือยุงลาย และในที่สุด มีการแพร่กระจายจากคน -ยุงลาย-คน

ยุงที่นำ คือยุงลาย Aedes aegypti และ Aedes albopictus. ซึ่งเป็นยุงที่ออกหากินและกัดคนในเวลากลางวัน

ล่าสุดพบว่า เชื้อ zika สามารถแพร่กระจายผ่านรกได้

Nonmosquito Transmission

Substantial evidence now indicates that Zika virus can be transmitted from the mother to the fetus during pregnancy. Zika virus RNA has been identified in the amniotic fluid of mothers whose fetuses had cerebral abnormalities detected by ultrasonography

ข้อเท็จจริงที่สำคัญ

  • ไวรัสซิกาแพร่กระจายโดยยุงลายเป็นหลัก ซึ่งจะกัดบ่อยมากในเวลากลางวัน
  • คนส่วนใหญ่ที่ติดเชื้อไวรัสซิกาจะไม่มีอาการ แต่ผู้ที่มีอาการมักมีอาการผื่นขึ้น ไข้ เยื่อบุตาอักเสบ ปวดกล้ามเนื้อและข้อ อ่อนเพลีย และปวดศีรษะ ซึ่งจะคงอยู่ประมาณ 2-7 วัน
  • การติดเชื้อไวรัสซิกาในระหว่างตั้งครรภ์อาจทำให้ทารกเกิดมาพร้อมกับภาวะศีรษะเล็ก (Microcephaly)และความผิดปกติแต่กำเนิดอื่นๆ รวมถึงการคลอดก่อนกำหนดและการแท้งบุตรได้
  • การติดเชื้อไวรัสซิกาเกี่ยวข้องกับโรค Guillain Barres โรคเส้นประสาทอักเสบและโรคไขสันหลังอักเสบในผู้ใหญ่และเด็ก
  • ในเดือนกุมภาพันธ์ 2559 องค์การอนามัยโลก (WHO)ประกาศภาวะศีรษะเล็กที่เกี่ยวข้องกับไวรัสซิกาเป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ (PHEIC) และยืนยันความเชื่อมโยงเชิงสาเหตุระหว่างไวรัสซิกาและความผิดปกติแต่กำเนิด
  • แม้ว่าจำนวนผู้ป่วยโรคไวรัสซิกาจะลดลงตั้งแต่ปี 2560 เป็นต้นมาทั่วโลก แต่การแพร่ระบาดยังคงอยู่ในระดับต่ำในหลายประเทศในทวีปอเมริกาและภูมิภาคอื่น

อาการ

คนส่วนใหญ่ที่ติดเชื้อไวรัสซิกาจะไม่มีอาการ ผู้ที่ติดเชื้อไวรัสซิกามักจะเริ่มมีอาการภายใน 3–14 วันหลังจากได้รับเชื้อ อาการจะเป็น Acute Febrile Illness (AFI)

The incubation period for Zika virus is unknown, but if it is similar to that of other mosquito-borne flaviviruses, it is expected to be generally less than 1 week โดยอาการจะมีอาการไม่รุนแรง เช่น ผื่นขึ้น มีไข้ เยื่อบุตาอักเสบ ปวดกล้ามเนื้อและข้อ อ่อนเพลีย และปวดศีรษะ และมักจะคงอยู่ประมาณ 2–7 วัน

macular or papular rash (90% of patients), ผื่น

fever (65%), ไข้ มักเป็นไข้ต่ำๆ

arthritis or arthralgia (65%), ปวดตามข้อ

nonpurulent conjunctivitis (55%), เยื่อบุตาอักเสบ

myalgia (48%), ปวดกล้ามเนื้อ

headache (45%), ปวดศีรษะ

retro-orbital pain (39%), ปวดกระบอกตา

edema (19%), บวมตามตัว

vomiting (10%). อาเจียน

ผื่น maculopapular rash

อาการเหล่านี้มักเกิดขึ้นกับโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสซิกาและไวรัสอื่นๆ ดังนั้นการวินิจฉัยการติดเชื้อไวรัสซิกาจึงต้องได้รับการตรวจจากห้องปฏิบัติการ

การวินิจฉัย

diagnosis of Zika virus infection are the detection of viral nucleic acid by RT-PCR and the detection of IgM antibodies by IgM-capture enzyme-linked immunosorbent assay (MAC-ELISA).

การรักษา

ยังไม่มีการรักษาเฉพาะสำหรับการติดเชื้อหรือโรคไวรัสซิกา

ผู้ที่มีอาการเช่นผื่น ไข้ หรือปวดข้อ ควรพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำ และรักษาอาการด้วยยาลดไข้และ/หรือยาแก้ปวด ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์จนกว่าจะแยกแยะการติดเชื้อไวรัสเดงกีออกได้เนื่องจากมีความเสี่ยงต่อเลือดออก หากอาการแย่ลง ผู้ป่วยควรไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาและคำแนะนำ

สตรีมีครรภ์ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีการแพร่ระบาดของไวรัสซิกาหรือผู้ที่มีอาการติดเชื้อไวรัสซิกาควรไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจทางห้องปฏิบัติการ การให้ข้อมูล การให้คำปรึกษา และการดูแลทางคลินิกอื่นๆ  

การป้องกัน

ยังไม่มีวัคซีนสำหรับป้องกันหรือรักษาการติดเชื้อไวรัสซิกา การพัฒนาวัคซีนป้องกันไวรัสซิกายังคงเป็นหัวข้อวิจัยที่อยู่ระหว่างดำเนินการ

CK

2535 แพทยศาสตร์บัณฑิต 2539 วุฒิบัตร อายุรศาสตร์ เป็นคนชอบขีดเขียน ชอบท้าทาย ทำงานเป็นหมอดีๆไม่ชอบ ชอบเป็น journalist /

Recent Posts

Cabtreo ยารักษาสิวใหม่ 3 in 1

Cabtreo ยารักษาสิวใหม่ 3 in 1 Cabtreo ได้รับอนุมัติจากองค์การอาหารและยา FDA เมื่อ ตค. 2023 เป็นยาทาภายนอก ที่มีส่วนผสมของ clindamycin antibiotics…

4 days ago

ไข้ พยาธิสภาพ ของ AFI ทำไมถึงเกิดไข้?

ไข้ พยาธิสภาพ ของ AFI ทำไมถึงเกิดไข้? ไช้ Fever คืออะไร ทำไมถึงเกิด มีหลายคนสงสัยว่าทำไมถึงเกิดไข้ และเราต้องไม่สับสนระหว่างคำว่า อุณหภูมิร่างกายสูง (Hyperthermia เช่นใน Heatstroke…

2 weeks ago

syphilis ซิฟิลิส

Syphilis ซิฟิลิส โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ที่เราคุ้นเคยกันดีเพราะเป็นโรคที่เกิดและได้ยินมาตั้งแต่โบราณ เป็นโรคที่เกิดในบุคคลดังหลายคน  การติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และเกิดผลข้างเคียงต่อสุขภาพได้มากมาย ซิฟิลิสจำแนกเป็น 4 ระยะ คือ primary , secondary…

2 weeks ago

โนโรไวรัส Norovirus ไวรัสที่ทำให้เกิดท้องเสีย

โนโรไวรัส Norovirus ไวรัสที่ทำให้เกิดท้องเสีย เป็น RNA virusสายเดี่ยว ซึ่งสามารถแบ่งเป็น 5 กลุ่ม (genogroup) ตาม major capsid protein โดยที่…

3 weeks ago

ความดันโลหิตสูง

โรคความดันโลหิตสูง Hypertension (อัพเดต 2024) ถือเป็นโรคเรื้อรังโรคหนึ่งที่มีประวัติยาวนาน คู่กับการแพทย์ มีการปรับเปลี่ยนแนวทางปฏิบัติมาเรื่อยๆล่าสุดคือ 2024 หรือ 2567

4 weeks ago

ไข้เลือดออก 2566

อัพเดต อาการ การรักษา โรคไข้เลือดออก หรือ ไข้เดงกี่ (Dengue fever ) รวมถึง ไข้เลือดออกเดงกี่ Dengue Hemorrhagic fever เป็นโรคไข้จากไวรัส…

1 year ago