สารบัญ

ภาวะไข้เฉียบพลันAFI acute febrile illness โรค อาการ สาเหตุ AFI

อ่านเพิ่มเติม ไข้ พยาธิสภาพ ของ AFI ทำไมถึงเกิดไข้? fever thermoregulatory center

AFI ภาวะไข้เฉียบพลัน Acute Febrile illness

คืออะไร?

ภาวะไข้เฉียบพลันAFI Acute Febrile illness หรือ Acute Febrile Syndrome หมายถึงภาวะไข้ รวมถึงอาการร่วม ซึ่งได้แก่ อาการปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตัว หรือปวดตามข้อ ที่เป็นแบบเฉียบพลัน ภายในช่วง 1-2 สัปดาห์ ที่ยังไม่ระบุสาเหตุ หรือยังหาสาเหตุไม่พบ  ที่เกิดในช่วง 1-2 สัปดาห์

กึ่งเฉียบพลัน หมายถึง 14-21 วัน

ไข้เรื้อรัง หมายถึงมากกว่า 21 วัน

ภาวะไข้ Fever

จุดเริ่มต้นของการวัดไข้ในคนไม่แน่ชัด แต่หลักฐานที่เก่าแก่ที่สุดคือ 1-2ศตวรรษก่อนคริสต์กาล จนกระทั่งปี 1868 จึงมีการระบุอุณหภูมิคนปกติที่ 37 องศาเซลเซียส คำจำกัดความของไข้ คือ มีอุณหภูมิร่างกายเช้า ที่มากกว่า  37.2 c (98.9 F) และอุณหภูมิช่วงเย็น มากกว่า 37.7 c(99.9 F)

AFI ภาวะไข้เฉียบพลัน Acute febrile Illness เกิดจากโรคอะไรได้บ้าง?

  1. ภาวะที่ไม่ใช่การติดเชื้อ เช่น

    1. เส้นเลือดอุดตัน deep venous thrombosis (DVT)
    2. pulmonary embolism (Pulmonary Thromboembolism PTE)
    3. alcohol or drug withdrawal
    4. post op fever ไข้หลังผ่าตัด
    5. ไข้จากยา drug fever
    6. ก้อนเนื้องอก มะเร็ง Cancer Fever มะเร็งที่มีไข้บ่อยๆคือมะเร็งตับ (HCC Hepatocellular Carcinoma)
    7. ตับแข็ง Liver Cirrhosis
    8. การได้รับเลือด Blood Reaction
    9. ตับอ่อน ถุงน้ำดี หรือลำไส้อักเสบแบบไม่ติดเชื้อ Pancreatitis , Biliary infection , Gastroenteritis or Colitis.
    10. ข้ออักเสบจากเก๊าท์ Gouty Arthritis
    11. เส้นเลือดอุดตันในสมอง เลือดออกในสมอง Stroke , Cerebral Hemorrhages
    12. อื่นๆ เช่น สารหรือสิ่งแปลกปลอมในร่างกายเกิดปฏิกิริยา
  2. ภาวะมีการติดเชื้อในร่างกาย

    1. ติดเชื้อเฉพาะที่ จะมีอาการบ่งถึงการติดเชื้ออวัยวะนั้นๆ เช่น เจ็บคอ ไอ ปวดท้อง ถ่ายเหลว ฯลฯ
      • ไอ อาจมีติดเชื้อในปอด
      • เหนื่อยและมีจุดเลือดออกในเยื่อบุตา ใต้เล็บ (Embolic phenomenon ) เสียงฟู่ที่หัวใจ อาจเป็น การติดเชื้อที่ลิ้นหัวใจ Bacterial Endocarditis
      • ปวดท้อง ถ่ายเหลว หรือไม่เหลว อาจมีติดเชื้อที่ระบบทางเดินอาหาร ลำไส้ ลำไส้ใหญ่ ปวดใต้ชายโครงขวา อาจมีติดเชื้อ หรือฝีที่ตับ หรือมะเร็งที่ตับก็ได้
      • ใต้ผิวหนัง แขน ขา กล้ามเนื้อ อาจมีเส้นเลือดดำอักเสบ หรือกล้ามเนื้ออักเสบ หรือหนองในกล้ามเนื้อ
    2. ติดเชื้อหลายตำแหน่ง
      • ติดเชื้อสแตฟิโลคอคคัสหลายที่ (Disseminated Staphylococcus Infection ) ปอด ข้อ ผิวหนัง สมอง
      • โกโนเรีย หรือหนองในแบบแพร่กระจาย (Disseminated Gonococcosis) ติดเชื้อท่อปัสสาวะ ข้อ ผิวหนัง เยื่อหุ้มตับ
      • เมลิออยโดสิส Mellioidosis เชื้อชนิดหนึ่งที่เจอมากในไทย เป็นหนองหลายๆจุดทั่วร่างกายเช่น ม้าม ตับ ปอด สมอง ข้อ
    3. ติดเชื้อหลายระบบ แต่อาจไม่เจอเชื้อก่อโรค เช่น ไข้ฉี่หนู โรคฉี่หนู(Leptospirosis) ไข้รากสาด (typhoid , scrub typhus , murine typhus) ไวรัสต่างๆที่อาการเป็นแบบทั่วร่างกาย เช่น ไข้เลือดออก (Dengue Fever) หรือไข้ปวดข้อยุงลาย ชิคุนกุนย่า (Chikungunya) เชื้อมาเลเรีย (malaria)
    4. วัณโรค (tuberculosis) ซึ่งอาจเป็นที่ปอด ที่กระดูก หรือที่ต่อมน้ำเหลือง
    5. ฝีในที่ต่างๆ เป็นได้ทุกที่ บางครั้งอาการมีแต่ไข้ เช่นฝีที่ตับ ม้าม ฝีคัณฑสูตร (perianal abscess)

AFI การวิเคราะห์หาสาเหตุ

สิ่งที่เป็นหัวใจหลักในการหาสาเหตุในคนไข้ที่มาด้วยไข้ไม่ทราบสาเหตุนั้น อย่างแรก คือการซักประวัติที่ดี

ประวัติคนไข้ที่ต้องซัก ครอบคลุมถึง ตั้งแต่ต้น Onset, duration, location, character, aggravating/alleviating factors, radiation, timing, severity (OLDCARTS) of symptoms. 

  • ภาวะภูมิคุ้มกันคนไข้ ถ้ามีเอดส์ เบาหวาน คนแก่ หรือมีโรคประจำตัว ที่ทำให้ภูมิคุ้มกันเปลี่ยน เชื้ออาจต้องดูครอบคลุมกว้างและเจาะจงกว่า
  • ระยะฟักตัวของโรค Onset การดำเนินของโรคไข้
  • อายุ เพศ ถิ่นที่อยู่ การทำงาน การสัมผัสเชื้อจากที่ทำงาน โรงเรียน บ้าน สุขอนามัยคนไข้ โรคติดเชื้อบางอย่างเป็นมากในเด็ก เป็นมากในผู้ใหญ่ เป็นในสถานที่แออัด หรือติดมาจากน้ำ (leptospirosis, แผลติดเชื้อจากน้ำ waterborne disease , น้ำทะเลvibrio ) ติดมาจากสัตว์ เช่นวัว สุกร (pig influenza)หรือสัตว์เลี้ยงเช่น แมว  (cat scratch disease) หรือมาจาก นก (bird flu ,Psittacosis)หรือ หนู (leptospirosis, กาฬโรค) ถิ่นที่อยู่ก็สำคัญเช่น ถ้ามาจากภาคกลาง ราชบุรี ที่เลี้ยงสุกรมากๆอาจเป็น streptococcosis , จากที่อากาศเย็นมากๆและอาการทางสมองเช่น meningococcus ใกล้ป่าละเมาะ อาจคิดถึง scrub typhus จากภาคอีสาน อาจคิดถึง mellioidosis จากภาคใต้ จากถิ่นแม่น้ำโขง อาจต้องนึกถึงปรสิตบางอย่าง พยาธิ
  • แพทเทิร์นของไข้ Character มีประโยชน์ในการแยกโรคการติดเชื้อบางอย่าง เช่น ไข้ต่ำๆ ไข้เวลากลางคืน ไข้สูงและมีอาการหนาวสั่น(การติดเชื้อแบคทีเรีย หรือมีฝี) ไข้หนาวสั่นมาก (ไข้จับสั่นหรือมาเลเรีย) ไข้วันเว้นวัน (ไข้จับสั่นหรือมาเลเรีย)ไข้สูงลอยตลอด (ไข้เลือดออก ชิกุนกุนย่า) ไข้สูงแต่ชีพจรไม่ขึ้น (ไทฟอยด์ )
  • อาการร่วม (associate symptoms) มีประโยชน์มากในการแยกโรค ไล่เรียงตั้งแต่ศีรษะจรดปลายเท้า จากผิวหนังไปจนถึงอวัยวะด้านใน เช่น ปวดหัว ถ้ามีคอตึง อาจต้องคิดถึงเยื่อหุ้มสมองอักเสบ อาเจียน ท้องเสีย ประวัติรับประทานอาหาร อาจต้องคิดถึงลำไส้อักเสบ (แบคทีเรีย ไวรัส ) มีผื่นขึ้นที่ไหน ทั้งตัว หรือที่ใดพิเศษ มีตุ่มเป็นหนองหรือสะเก็ดที่ใด(งูสวัด อีสุกอีใส) มีฝี หนอง มีก้อนหรือต่อมน้ำเหลืองไหม อาการเบื่ออาหาร ปากขม จมูกไม่ได้กลิ่น ไอ จามน้ำมูก เสมหะ ปวดตามตัว ปวดหัว ตาแดง น้ำตาไหลเคืองตา ขี้ตา น้ำมูกเสมหะสีอะไร ปวดท้อง ที่ใด ปวดตลอดหรือปวดเป็นพักๆ มีอาเจียนร่วมไหม ปวดหลัง ปวดเอว แขนขาชา อ่อนแรง หรือปวดตามข้อไหน ปวดทุกข้อหรือข้อใดพิเศษ ปัสสาวะแสบขัด หรือมีหนอง ประวัติประจำเดือน เลือดออกที่ใด บางครั้ง ไข้จากฝีที่ภายในตัวคนไข้ก็เป็นสาเหตุที่พบได้ เช่นฝีที่ตับ ที่ไต อาการทางระบบประสาท ที่ต้องซักคือ ชา อ่อนแรง เห็นภาพซ้อน ปากเบี้ยว หูไม่ได้ยิน เดินเซ เวียน พูดไม่ชัดหรือไม่ได้
  • ถิ่นที่อยู่ และประวัติการเดินทาง โรคบางโรค เป็นเฉพาะบางถิ่นฐาน เช่น ไข้เลือดออก ชิกุนกุนย่า ไวรัสทางฝั่งอเมริกา เมดิเตอเรเนียน แอฟริกา ซึ่งจะกล่าวต่อไป
  • พิจารณาตามสถิติ ถิ่นที่อยู่ ช่วงเวลา ประวัติสัมผัสโรค
  • การตรวจร่างกาย ครบทุกระบบ ตามประวัติ
  • การตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น ตรวจเลือด CBC ดูเม็ดเลือดขาว การสวอปดูเชื้อในโพรงจมูก การเอ็กซเรย์ ตรวจปัสสาวะ อุจจาระ ตรวจภูมิคุ้มกัน HIV VDRL ตรวจการทำงานตับ ไต เอ็กซเรย์พิเศษ เมื่อสงสัยในโรคใดโรคหนึ่งก็จะมีการตรวจเฉพาะ ซึ่งจะกล่าวในโรคต่างๆต่อไป

ในกรณีมีประวัติเดินทางไปในสถานที่ต่างๆ ต้องคำนึงถึงไข้ที่เกิดกับการติดเชื้อจากสถานที่นั้นๆด้วย  เช่น

จากประสบการณ์ การซักประวัติ ตรวจร่างกายที่ดี เพื่อส่งการวิเคราะห์ที่เหมาะสมสามารถวินิจฉัยได้มากกว่า 90% ของคนไข้

Note: There is a rating embedded within this post, please visit this post to rate it.
Share
CK

2535 แพทยศาสตร์บัณฑิต 2539 วุฒิบัตร อายุรศาสตร์ เป็นคนชอบขีดเขียน ชอบท้าทาย ทำงานเป็นหมอดีๆไม่ชอบ ชอบเป็น journalist /

Recent Posts

ไข้หวัดใหญ่(Influenza, Flu)

ไข้หวัดใหญ่(Influenza, Flu)อัพเดตข้อมูลจาก Thaihealth.net กรมควบคุมโรค และสมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย อัพเดต 1/2025 ไข้หวัดใหญ่ บทนำ โรคไข้หวัดใหญ่ หมายถึง โรคระบบทางเดินหายใจที่เกิดจากไวรัส influenza เฉียบพลัน ซึ่งถ้าเป็นโรคไข้หวัดใหญ่…

2 weeks ago

Enterovirus71กับโรคมือเท้าปากรุนแรงที่เสียชีวิตได้

Enterovirus71กับโรคมือเท้าปากรุนแรงที่เสียชีวิตได้ มีข่าวการเสียชีวิตของเด็ก อายุ 3 ขวบที่ระยองจากการมีไข้ ผื่น และหัวใจวายเสียชีวิตในเวลาไม่กี่วัน และคาดว่า อาจเกิดจากเชื้อไวรัสตัวใดตัวหนึ่ง ซึ่งทางผู้โพสบอกว่า แพทย์ยังหาสาเหตุไม่พบ การที่เด็กไข้ ผื่น เสียชีวิตรวดเร็ว เป็นเชื้ออะไรได้บ้าง…

3 weeks ago

Zika Virus คือ ? review ซิก้าไวรัส

Zika Virus คืออะไร review ซิก้าไวรัส 2023-2025 ข้อมูลอ้างอิง New England Journal of Medicine และ WHO review…

3 weeks ago

Cabtreo ยารักษาสิวใหม่ 3 in 1

Cabtreo ยารักษาสิวใหม่ 3 in 1 Cabtreo ได้รับอนุมัติจากองค์การอาหารและยา FDA เมื่อ ตค. 2023 เป็นยาทาภายนอก ที่มีส่วนผสมของ clindamycin antibiotics…

3 weeks ago

ไข้ พยาธิสภาพ ของ AFI ทำไมถึงเกิดไข้?

ไข้ พยาธิสภาพ ของ AFI ทำไมถึงเกิดไข้? ไช้ Fever คืออะไร ทำไมถึงเกิด มีหลายคนสงสัยว่าทำไมถึงเกิดไข้ และเราต้องไม่สับสนระหว่างคำว่า อุณหภูมิร่างกายสูง (Hyperthermia เช่นใน Heatstroke…

1 month ago

syphilis ซิฟิลิส

Syphilis ซิฟิลิส โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ที่เราคุ้นเคยกันดีเพราะเป็นโรคที่เกิดและได้ยินมาตั้งแต่โบราณ เป็นโรคที่เกิดในบุคคลดังหลายคน  การติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และเกิดผลข้างเคียงต่อสุขภาพได้มากมาย ซิฟิลิสจำแนกเป็น 4 ระยะ คือ primary , secondary…

1 month ago