เมื่อสองสัปดาห์ก่อน ได้ไปประชุมที่ฮ่องกงเกี่ยวกับการรักษาเชื้อดื้อยาที่ฮ่องกงครับ
ผมพบว่า ปัจจุบัน เราเจอสิ่งหนึ่งที่น่าสะพรึงกลัวอย่างมาก คือ การที่เชื้อแบคทีเรียดื้อยาจนไม่สามารถหายาปฏิชีวนะใดๆมาสู้มันได้! นี่คือเรื่องจริง เราต้องไปงัดเอายาสมัยเก่าๆมาลองสู้ สักพัก เชื้อก็พัฒนาตนเองจนเอาชนะยาดังกล่าวนั้นได้ แม้จะยังไม่แพร่กระจาย แต่นับเป็นสิ่งหนึ่งที่น่ากลัวต่อมนุษย์
ดูคลิป
ดูคลิปไม่ได้ ดูที่นี่ original clip

เอาเป็นว่า ปีที่ผ่านมา มีการเสียชีวิตด้วยการติดเชื้อประมาณ7 แสนรายต่อปี และเชื่อว่า ถ้ายังไม่สามารถสร้างยาปฏิชีวนะใหม่ๆ จะมีคนตายปีละประมาณ 10 ล้านคนครับ พอๆกับมะเร็ง และจะแซงมะเร็งต่อไปอีก
แล้วล่าสุด โลกก็ฮือฮา เมื่อ นักวิจัยสาวสวยดีกรีระดับนักศึกษา ปริญญาเอก Shu Lam อายุเพียง 25 ปี ชาวมาเลเซีย ที่กำลังศึกษาทำปริญญานิพนธ์ที่ มหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ออสเตรเลีย ก็ได้ทำสำเร็จล้ำหน้าไปอีกขั้น กับการสู้แบคทีเรียซูเปอร์บัคนั้น คราวนี้ เธอได้วิจัยสารสังเคราะห์โพลีเมอร์ ระดับนาโนขึ้นมาตัวหนึ่ง รูปร่างเป็นหลายแฉก มี16-32 แฉก โมเลกุลใหญ่ เอามาต่อๆกันเหมือนเลโก้
เธอกล่าวว่า โพลิเมอร์นั้น สามารถฆ่าแบคทีเรียได้ในหลายๆทาง โดยทางหนึ่งที่สำคัญคือ ทำให้ผนังเซลของมันแตกออก เซลแบคทีเรียจะเกิดภาวะเครียด และตายไปเอง
ผลงานของเธอ เพิ่งตีพิมพ์ในวารสาร Nature Microbiology ซึ่งทำให้นักวิทยาศาสตร์ฮือฮากันมากว่าจะพลิกโฉมวงการแพทย์ไปอีกขั้น
เธอสามารถเอาโพลิเมอร์ ไปฆ่าเชื้อได้ 6 ตัวในห้องทดลอง และอีก 1 ตัวในหนูทดลอง และที่น่ายินดีคือ แม้ว่าเชื้อจะพัฒนาไปกี่สายพันธ์ ก็ยังไม่ดื้อต่อโพลิเมอร์ของเธอ
เธอกล่าวว่า มันไม่มีผลต่อเซลของร่างกาย เพราะมีขนาดใหญ่กว่าจะเข้าไปในเซล คือประมาณ 10 nm ไม่เหมือนยาปฏิชีวนะ
เธอกล่าวว่า ตอนนี้เธอต้องเข้ามาดูทุกตี4 ว่าหนูทดลอง และเซลของเธอยังอยู่ดีไหม

A microscopic photo of a superbug being attacked by proteins developed my University of Melbourne researchers CREDIT: CATERS

เธอกล่าวว่า สิ่งสำคัญคือต้องทำการทดลองให้แน่ใจว่าปลอดภัยก่อนจะมาใช้ในมนุษย์
SuperBug Post Antibiotics Era

นึกถึงหนังไซไฟ ที่โลกผ่านยุคสงครามนิวเคลียร์ เหลือพระเอกอยู่กับสัตว์เลี้ยง และชนเผ่าซอมบี้
นั่นคือสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์ สะพรึงว่า ต่อไป เชื้อง่ายๆ อย่างเช่น เจ็บคอ โกโนเรีย จะไม่มียารักษา !
นั่นคือสิ่งที่ ด๊อกเตอร์ อเล็กซานเดอร์ เฟลมมิ่ง ผู้คิดค้น เพนนิซซิลลินในปี 1928 กล่าวไว้ว่า การใช้ผิดวัตถุประสงค์

There is the danger that the ignorant man may easily underdose himself and, by exposing his microbes to non-lethal quantities of the drug, make them resistant

การระบาดของธัยฟอยด์ในแอฟริกา และเชื้อวัณโรคดื้อยาใน 105 ประเทศยืนยันคำกล่าวนี้ได้ดี
และยิ่งไปกว่านั้น ยาปฏิชีวนะดีๆใหม่ๆ ออกมาน้อยลงเรื่อยๆ ในห้าสิบปีที่ผ่านมา ออกเพียงสองกลุ่มใหม่ๆ ในแง่ของบริษัทยา เชื่อว่า ยาพวกนี้ ให้ผลรีเทิร์นต่ำกว่ายาพวก รักษาเบาหวาน ไขมัน หัวใจ
ศาสตราจารย์ Greq Qiao ผู้ดูแลการวิจัยของเธอกล่าวว่า ผลงานของเธอ ถือเป็น scientific breakthrough ในรอบ20ปีเลยทีเดียว
อยากให้ลูกหลานไทยเป็นแบบเธอบ้างจัง ลูกๆพ่อ เอาบ้างไหม นพ.กิจการ จันทร์ดา

กรุณาสละเวลาให้คะแนนบทความนี้ครับ
Note: There is a rating embedded within this post, please visit this post to rate it.
Share
CK

2535 แพทยศาสตร์บัณฑิต 2539 วุฒิบัตร อายุรศาสตร์ เป็นคนชอบขีดเขียน ชอบท้าทาย ทำงานเป็นหมอดีๆไม่ชอบ ชอบเป็น journalist /

Recent Posts

ผื่นแพ้ยา Stevens Johnsons syndrome

ผื่นแพ้ยา Stevens Johnsons syndrome ถ้าหากจะลองไล่รายชื่อโรคที่แพทย์ไม่ต้องการจะเจอในชีวิตหนึ่ง โรคแพ้ยาชนิดรุนแรง สตีเวนส์ จอห์นสัน Stevens johnsons syndrome (SJS) และ TENS (Toxic epidermal…

1 month ago

ฝุ่นpm2.5กับการออกกำลังกาย

ฝุ่นpm2.5กับการออกกำลังกาย เชื่อว่าช่วงหลังๆ ในหน้าหนาว หลายคนกำลังประสบกับปัญหา ภัยจากฝุ่นควันจิ๋ว PM 2.5 ซึ่งเป็นฝุ่นที่มีขนาดเล็ก และสามารถทำอันตรายต่อสุขภาพได้ หลายท่านที่เป็นนักกีฬา หรือต้องออกกำลังกายกลางแจ้งคงกังวลว่า เราจะสามารถออกกำลังได้ไหม ในสถานการณ์อย่างไรบ้าง ต้องใช้หน้ากากไหม และมีหน้ากากป้องกันฝุ่น…

2 months ago

top10มะเร็งที่พบมากในประเทศไทย

10 อันดับโรคมะเร็งที่พบบ่อยในประเทศไทย 1. มะเร็งตับและท่อน้ำดี (Liver and Bile Duct Cancer) เป็นมะเร็งที่พบบ่อยที่สุดในประเทศไทย และมีอัตราการเสียชีวิตสูงที่สุด (20.3%) 2.มะเร็งปอด (Lung Cancer)…

2 months ago

มะเร็งในอายุน้อยลง ผลวิจัยระบุ

มะเร็งในอายุน้อยลง ผลวิจัยระบุ โรคมะเร็งที่เกิดในวัยหนุ่มสาว — รวมถึงมะเร็งเต้านม ลำไส้ใหญ่ หลอดอาหาร ไต ตับ และตับอ่อน — เพิ่มขึ้นอย่างมากทั่วโลก โดยแนวโน้มนี้เริ่มขึ้นประมาณปี 1990 ไม่ต้องแปลกใจถ้าจะมีข่าวมะเร็งในคนอายุน้อยลงเรื่อยๆ…

2 months ago

ปอดบวมจากไข้หวัดใหญ่ (Influenza Pneumonia)

ปอดบวมจากไข้หวัดใหญ่(ปอดอักเสบจากไข้หวัดใหญ่ ) Influenza Pneumonia

2 months ago

Influenza A and B ICD 10

Influenza A and B ICD 10 Influenza of any strains Use same ICD10 Influenza with…

2 months ago