สารบัญ
โควิด-19 Covid-19 Extensive Review and Update
Introduction
โควิด -19 เป็นโรคอุบัติใหม่ ที่เกิดจากการติดเชื้อโคโรน่าไวรัส ที่เรียกว่า SARS-CoV 2 ไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคทางเดินระบบหายใจรุนแรงเฉียบพลัน ตัวที่ 2 ตัวแรกคือ SARS ที่เราเคยมีการระบาดเมื่อสิบกว่าปีก่อน เชื้อไวรัสโคโรน่า หรือโควิด เริ่มเกิดที่เมืองอู่ฮั่น ในประเทศจีน[1]
เชื้อโคโรน่าไวรัส เป็น RNA ไวรัส ที่มีขนาดใหญ่ ขนาดตั้งแต่ 60-140 นาโนเมตร มีหนามแหลมรอบๆตัว คล้ายมงกุฎ จึงมีชื่อเรียกว่า โคโรน่า(ที่แปลว่ามงกุฎ) [3]ไวรัส SARS-CoV-2 มีสารพันธุกรรมเป็นอาร์เอ็นเอสายเดี่ยว ความยาวประมาณ 30,000 คู่เบส จาก รายงานผลลำดับเบสของสารพันธุกรรมอาร์เอ็นเอของเชื้อ 2019-nCoV ที่ได้จากผู้ป่วย พบว่าไวรัส SARSCoV-2 เป็นสมาชิกใหม่ในสกุล Betacoronavirus เช่นเดียวกับ SARS-CoV และ MERS-CoV และจีโนมมี ความใกล้เคียงกับ SARS-CoV (ร้อยละ 80) และ SARS-like bat CoV (ร้อยละ 88)
มีเหตุการณ์สองเหตุการณ์ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมาที่มีการแพร่เชื้อไวรัสเบตาโคโรน่าในสัตว์สู่มนุษย์ส่งผลให้เกิดโรครุนแรง เหตุการณ์แรก เกิดเมื่อ คศ. 2002-2003 เมื่อเบต้าโคโรน่าในค้างคาว ได้แพร่มากระจายในคน เกิดเป็นโรคที่เรียกว่า SARS หรือการติดเชื้อทางเดินหายใจรุนแรงเฉียบพลัน เป็นเชื้อ SARS-Cov 1ตัวแรก ในมณฑลกวางตุ้งประเทศจีน มีผู้ป่วย 8422 ราย และเสียชีวิต 916ราย (อัตราตาย 11%) [4]เคยมีการระบาดมายังประเทศไทย แต่หายไปโดยมีผู้ป่วยและเสียชีวิต 7และ 2 ราย ถัดจากนั้นเกือบปีถัดมา ในปี 2012 มีการระบาดของไวรัสที่เรียกว่า MERS หรือ Middle East Respiratory Virus เกิดระบาดจากอูฐในซาอุดิอาระเบีย มีผู้ป่วย 2494 ราย ผู้เสียชีวิต 858 ราย(อัตราตาย 34%)[5]
ไวรัสวิทยาของโคโรน่าไวรัส ล่าสุดขององค์การอนามัยโลก ในวารสาร Cell โดย นพ.ยง ภู่วรวรรณ กล่าวว่า Covid-19 ที่นอกเหนือจากอู่ฮั่น แพร่กระจายง่ายขึ้น เนื่องจากแต่เดิม ในจีนเป็น S และ L แต่เนื่องจากโคโรน่าเป็น RNA ไวรัสที่กลายพันธ์เร็ว ที่มาเมืองไทยเป็นสายพันธ์ย่อยจาก S ที่มีเฉพาะตำแหน่ง 829 บน spike เปลี่ยนโปรตีนเป็น Threonine และตอนนี้คาดว่าน่าจะหมดไปจากไทยแล้วตามการจบรอบการระบาดรอบแรก
ในขณะที่ L ไประบาดในยุโรป ได้กลายพันธ์เป็น G และ โดยสายพันธุ์ G มีการเปลี่ยนแปลงในตำแหน่ง 614 บนหนามแหลมที่ยื่นออกมา (spike) โดยเปลี่ยนแปลงจาก Aspartate (D) ไปเป็น Glycine (G) หรือเรียกว่าสายพันธุ์ G614 (D614G mutations) สายพันธุ์ G นี้แพร่กระจายได้ง่ายมาก ออกลูกหลานมาเป็น สายพันธุ์ GH และ GR ล่าสุด WHO จึงจัดแบ่ง(WHO-operated GISAID)[105] แบ่งกลุ่มไวรัสโควิด-19 เป็น 6 ชนิดย่อย คือ S, V, L, G, GH, GR
S: C8782T,T28144C includes NS8-L84S
L: C241,C3037,A23403,C8782,G11083,G25563,G26144,T28144,G28882 (WIV04-reference sequence)
V: G11083T,G26144T NSP6-L37F + NS3-G251V
G: C241T,C3037T,A23403G includes S-D614G
GH: C241T,C3037T,A23403G,G25563T includes S-D614G + NS3-Q57H
GR: C241T,C3037T,A23403G,G28882A includes S-D614G + N-G204R
การแพร่ระบาดของสายพันธ์ G โดย D614Gจะง่ายกว่ามาก เพราะจะมีเชื้อในลำคอมากขึ้น ปริมาณไวรัสในลำคอมากกว่า แต่ไม่ได้ทำให้โรครุนแรงขึ้น
Origin and Spread of COVID-19 [1, 2, 6]
ในเดือนธันวาคม 2019 มีรายงานการติดเชื้อในปอด ในผู้ป่วยอู่ฮั่นเมืองหลวงของมณฑลหูเป่ยและศูนย์กลางการขนส่งที่สำคัญของจีน เริ่มการระบาดโรคปอดบวมรุนแรงโดยไม่ทราบสาเหตุ หลายกรณีจากการติดตามพบว่ามีการสัมผัสผ่านตลาดอาหารทะเลขายส่งหวาหนาน ทางการส่งหน่วยเฝ้าระวัง (เกิดขึ้นหลังจากการระบาดของโรคซาร์ส)ตัวอย่างแล็บได้ถูกส่งไปยังห้องปฏิบัติการอ้างอิงสำหรับการตรวจวินิจฉัยสาเหตุ ในวันที่ 31 ธันวาคม 2019 จีนแจ้งเตือนการระบาดของโรคนี้ต่อองค์การอนามัยโลกและในวันที่ 1 มกราคมตลาดอาหารทะเลหวาหนานถูกสั่งปิด เมื่อวันที่ 7 มกราคมไวรัสถูกระบุว่าเป็น coronavirus มีความคล้ายคลึงกับ bat coronavirusมากกว่า 95% และมากกว่า 70% เทียบกับ SARS- CoV
มีการตรวจสอบว่าพบเชื้อในตลาด เป็นการยืนยันว่าเชื้อมาจากตลาดหัวหนานจริง นอกจากนั้น การระบาดคนสู่คนเริ่มขึ้นหลังจากนั้น ทำให้ผู้ป่วยทวีเพิ่มอย่างมาก โดยเฉพาะในการเดินทางในช่วงปีใหม่ ได้ทำให้เชื้อกระจายออกไปอย่างกว้างขวาง ทั้งที่จีน และทั่วโลก(เริ่มจากไทย,ญี่ปุ่น ,ฮ่องกง,ใต้หวัน และเกาหลีใต้) เมื่อวันที่ 11 มค. 2020 ก็มีรายงานการเสียชีวิตรายแรก ในวันที่ 20 มค. มีบุคลากรทางการแพทย์ป่วยด้วยโรคนี้ ต่อมา เมื่อถึงวันที่ 23 มค. ผู้ว่าการของอู่ฮั่น ก็ได้ปิดล๊อคดาวน์(Completely Lockdown) เมืองทั้งเมือง ที่มีประชากร 11 ล้านคน อย่างเป็นทางการ หลังจากนั้น ก็มีการขยายการปิดเมืองออกไปในมณฑลหูเป่ย รวมถึงมณฑลอื่นๆ
มีการรายงานถึงการระบาดนอกจีนที่แพร่ออกไป [9] ทำให้ ต้องมีการปิดสนามบินหลายแห่งที่คนจีนนิยมเดินทาง มีการตรวจสอบโรคและพบว่า มีการระบาดจากผู้ที่ไม่มีอาการออกไปด้วย ดังนั้น จึงมีการกักบริเวณผู้ที่เดินทางมาจากสถานที่เสี่ยง รวมถึงประเทศไทย เป็นเวลา 14 วัน
จำนวนผู้ป่วยยังสูงแบบทวีในอัตราสองเท่าในทุก 1.8 วัน (doubling time) ในวันที่ 12 กพ. จีนได้รวมการตรวจแบบเอ็กซเรย์ และผู้ที่มีอาการเข้าไปด้วย ทำให้ในวันนั้นวันเดียว มีเคสสงสัยเพิ่มถึง 15000 คน[6]
ประวัติการระบาดในไทย เริ่มจากวันที่ 13 มกราคม 2020 มีผู้ป่วยยืนยันรายแรกที่ไทย และเป็นผู้ป่วยยืนยันรายแรกนอกประเทศจีน เป็นหญิงชาวจีน อายุ 61 ปี มีถิ่นฐานที่อู่ฮั่น ไม่เคยเดินทางไปตลาดอาหารทะเลหวาหนาน แต่เคยไปที่ตลาดอื่นแทน เธอมีอาการเจ็บคอ มีไข้ มีอาการหนาวสะท้าน และปวดศีรษะ ในวันที่ 5 มกราคม และได้เดินทางกับครอบครัว และกลุ่มทัวร์จากนครอู่ฮั่นมายังท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ในวันที่ 8 มกราคม โดยเธอถูกตรวจพบด้วยกล้องตรวจจับความร้อน และถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลในวันเดียวกัน 4 วันให้หลัง จากการใช้ RT-PCR ผลการทดสอบหาไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่นั้นผลเป็นบวก มีการรายงานเคสเพิ่ม จนถึงเดือนกุมภาพันธ์ รวม 19 ราย ต่อมา มีการนำเครื่องบินไปรับผู้ที่ติดอยู่ที่เมืองอู่ฮั่นมาเพิ่ม ยอดรวมเป็น 42 ราย 1มีนาคม มีผู้เสียชีวิตรายแรก เป็นชายไทยอายุ 35 ปี ต่อมา จึงมีคำสั่งปิดสถานที่ที่มีคนมารวมตัวกัน ในกทม.และปริมณฑลเมื่อ 18-31 มีนาคม
25 มีนาคม ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน และตั้ง ศบค (ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า2019)ปัจจุบัน 14 กรกฎาคม 2020ผู้ติดเชื้อรายใหม่จากต่างประเทศ (State quarantine) 7 ราย ผู้ติดเชื้อสะสม 3,227 ราย คิดเป็นอัตราป่วย(ติดเชื้อ) 4.85 ต่อแสนประชากร (ถ้าไม่รวมกลุ่มกักกัน อัตราป่วยอยู่ที่ 4.32 ต่อแสนประชากร)คิดเป็นติดเชื้อในประเทศ 75.74% มาจากต่างประเทศ 24.26% ผู้ติดเชื้ออายุน้อยที่สุดคือ 1 เดือน และอายุมากที่สุด 97 ปีผู้ติดเชื้อรักษาหายแล้ว 3,091 ราย อัตราหาย 95.79% มีผู้ติดเชื้อเสียชีวิต 58 ราย อัตราติดเชื้อตาย 1.80% คิดเป็นอัตราตาย 0.08 ต่อแสนประชากร ในจำนวนผู้ติดเชื้อ 3,227 ราย เป็นผู้มีอาการ (ผู้ป่วย) 73.66% และผู้ติดเชื้อที่ไม่มีอาการ 26.34%
เราเชื่อว่าการระบาดในไทยรอบแรก (wave1)จบลงแล้ว และเชื่อว่า การระบาดรอบต่อไปมีขึ้นอย่างแน่นอน โดยเชื้อสายพันธ์ G ที่แพร่กระจายเร็วกว่า
Epidemiology and Pathogenesis [10, 11]
การติดต่อ มีการติดเชื้อได้ในทุกกลุ่มอายุตั้งแต่ เด็กทารกจนอายุ 90 กว่า การติดต่อส่วนใหญ่ ผ่านทางละอองฝอย (droplets)ที่ติดต่อกันในระยะ1-2เมตร สามารถติดต่อได้ตั้งแต่ 1-3 วันก่อนมีอาการ จนถึง 14 วัน การปล่อยเชื้อจะมากสุดตอนที่มีอาการ มีเชื้อมากในโพรงจมูกมากกว่าในลำคอ การติดต่อในระยะที่ไกลกว่าละอองฝอย หรือ Airborne Infection พบในสภาวะพิเศษเช่น ไอจามแรง ตะโกนดังหรือในที่ปิด หรือมีการพ่นยา (เชื่อว่าการติดเชื้อในไทยในสนามมวยก็อาจเป็นเช่นนั้น ..ผู้แปล) ข้อมูลจากการวิจัย พบว่า การจามส่งละอองไปด้วยความเร็ว 100-200ไมล์ต่อ ชม. และส่งละอองไปมากถึง 2-6ล้านล้านตัว ผู้ป่วยบางรายทำตัวเป็นผู้แพร่เชื้ออย่างมากพิเศษ (super spreader)หมายถึงแพร่กระจายไปยังคนจำนวนมากเช่นในรายที่อยู่ใน ชาวUK ในสิงคโปร์ ,ชาวเกาหลีใต้ ,ผู้ป่วยในสนามมวยเวทีลุมพินี
วิธีอื่นๆของการติดเชื้อ เช่น การติดทางปัสสาวะอุจจาระ พบว่าเป็นทฤษฎี[6]ไม่พบรายจริง ไม่พบการแพร่ผ่านรก ไปยังบุตรในขณะที่เขียนนี้[14]แต่พบการติดจากแม่ไปยังลูกระหว่างการคลอดได้
การติดเชื้อที่จะไม่กล่าวถึงไม่ได้คือ การที่ละอองฝอยออกมาติดตามสิ่งแวดล้อม (นี่เป็นสาเหตุของการแนะนำการล้างมือบ่อยๆ และอย่าล้วงแคะแกะเกาใบหน้า)มีวิจัยหนึ่งในสหรัฐอเมริกา พบว่า เชื้อโควิด-19 ภายนอกร่างกายคนจะมีชีวิตแปรผกผันกับอุณหภูมิ นั่นคือ อากาศร้อนจะตายเร็ว แต่บนผิวหนังคนเรา จะอยู่ได้นาน 14 วันที่ 4 องศาC 96 ชั่วโมงที่ 22 องศาC และ 8 ชม. ที่ 37 องศาC บนธนบัตร จะอยู่ได้นาน 14 วันที่ 4 องศาC 8 ชั่วโมงที่ 22 องศาC และ 4 ชม. ที่ 37 องศาC บนเสื้อผ้า จะอยู่ได้นาน 96 ชั่วโมงที่ 4 องศาC 4 ชั่วโมงที่ 22 องศาC และ ไม่พบทันทีที่ตรวจที่ 37 องศาC
ระยะการฟักของเชื้อ 2-14วัน (median 5 วัน)
การวิจัยหนึ่งในจีน พบว่า ผู้ติดเชื้อไม่มีอาการ 30-59%(ของไทย 23% ของเรือสำราญ 81%) จะมีการส่งต่อไปยังคนอื่นราวๆ 3.3%(อีกรายงานสูง6.4ถึง 14%) R0=0.3% ในขณะที่ R0 (BCR)รวมๆของเชื้อนี้ 2-6.47( 2.2) การสัมผัสผู้ติดเชื้อใกล้ชิดมากกว่า 5 ครั้ง ขึ้นไปใน 2 วัน มีความเสี่ยงเพิ่มถึง 29 เท่า
เมื่อเทียบ BCR กับ SARS และ Flu H1N1 ที่ 2 กับ 1.3 เราจึงพบว่า การแพร่กระจายของเชื้อนี้ ดีกว่า SARS[2]
Clinical Features [8, 15–18]
อาการทางคลินิค มีได้ตั้งแต่ ไม่มีอาการ จนถึงระบบหายใจล้มเหลว อวัยวะล้มเหลวเลยทีเดียว อาการส่วนใหญ่ที่เราพบคือไอ 60.92% ไข้ 52.71% เจ็บคอ 36.6% มีน้ำมูก 30.08% ปวดกล้ามเนื้อ 25.54มีเสมหะ 23.39% ปวดศีรษะ 20.57% หายใจลำบาก 10.9% ถ่ายเหลว 6.48% จมูกไม่ได้กลิ่น 3.16% ลิ้นไม่รับรส 1.39% และอื่นๆ 13.63%[99] มีงานวิจัยพบการไม่ได้กลิ่น ถึง 40-80%แต่ของไทยพบน้อยกว่านั้นมาก
อาการจะมาก ถ้ามีการหลั่งสารการอักเสบพวกIL2, IL7, IL10, GCSF, IP10, MCP1, MIP1A, and TNFα [15].โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ หรือมีโรคประจำตัว เวลาเฉลี่ยตั้งแต่เริ่มมีอาการจนถึงเหนื่อย ใช้ท่อหายใจคือ 5-8วัน และจะเริ่มดีขึ้นหลัง 2-3 สัปดาห์ ที่น่าสนใจคือ คนไข้ที่อู่ฮั่นจะอาการหนักกว่าที่อื่นๆ ที่น่าสนใจอีกประการคือโรคนี้ในเด็กหรืออายุน้อยจะมีอาการน้อยกว่า
อัตราเสียชีวิต 2.4% ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ
Diagnosis [21]
เชื้อไวรัส SARS-CoV-2 จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์อื่นๆ ที่ก่อโรคทางเดินหายใจใน คน เช่น สายพันธุ์ 229E, OC43, NL63 และ HKU-1 เป็นต้น ห้องปฏิบัติการจึงจำเป็นต้องเลือกวิธีตรวจยืนยัน ที่มีความไวและความจำเพาะสูงต่อเชื้อ SARS-CoV-2 ห้องปฏิบัติการของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ทั้งสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุขและศูนย์ วิทยาศาสตร์การแพทย์ในส่วนภูมิภาค ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคติดต่ออุบัติใหม่ สภากาชาดไทย และห้อง ปฏิบัติการเครือข่าย ได้แก่ สถาบันบำราศนราดูร โรงพยาบาลราชวิถีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล คณะ แพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ได้ให้บริการตรวจวิเคราะห์ ตัวอย่างผู้สงสัยติดเชื้อตามนิยามผู้ป่วยที่เข้าข่ายเฝ้าระวังโรคไวรัสโคโรนา 2019 ของกรมควบคุมโรค กระทรวง สาธารณสุข ซึ่งยึดแนวทางการตรวจวิเคราะห์ตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก และปรับเปลี่ยนให้ทันกับ เทคนิคใหม่ที่เพิ่มความไวและความจำเพาะต่อเชื้อ SARS-CoV-2 อย่างต่อเนื่อง
การตรวจยืนยันเชื้อ SARS-CoV-2 สามารถตรวจได้ 2 วิธีคือ
- วิธี Real-time RT-PCR ต่อยีนเป้าหมายที่แตกต่างกันหรือบริเวณเป้าหมายที่ต่างกันแม้จะเป็น ยีนเดียวกัน
- การตรวจลำดับนิวคลิโอไทด์ (Nucleotide sequencing ) ต่อ ORF-1b gene หรือ N gene
การตรวจอื่นๆค่อนข้างไม่เจาะจง เช่น การพบเม็ดเลือดขาวลิมป์โฟไซต์ต่ำ หรือการพบมีการติดเชื้อเป็นปื้นในปอดส่วนล่างสองข้าง เป็นต้น จะได้กล่าวต่อไปในรีวิวรายละเอียดทางคลินิคสำหรับบุคลากรทางการแพทย์
Treatment [21, 23]
การรักษาส่วนใหญ่ เป็นการรักษาแบบประคับประคอง เช่น การให้สารน้ำ อ๊อกซิเจน การใช้การช่วยหายใจ การป้องกันผลข้างเคียงอื่นๆหรือโรคแทรก ส่วนเสตียรอยด์ ในระยะสั้นๆยังเป็นที่ถกเถียงกันจนถึงขณะนี้ ตัวยาที่ได้รับการยืนยันจากทางการจีน และไทย คือ Favipiravir และในฝั่งอเมริกาและยุโรปคือ Remdesivir มีข้อจำกัดในการใช้ และจำนวนยาไม่เพียงพอถ้าเกิดการระบาดอย่างมาก
มีการวิจัยเปรียบเทียบยาสองตัวคือ Remdesivir กับ Favipiravir พบว่า อย่างหลังทำให้ผู้ป่วยอาการจากการตรวจเอ็กซเรย์ดีขึ้นเร็วกว่า และไวรัสหายไปจากร่างกายเร็วกว่าอย่างชัดเจน[100]
Prevention [21, 30]
ความสำคัญ ณ.ขณะที่เขียนนี้คือ เนื่องจากโรคนี้ยังไม่มีวัคซีน และการรักษาอย่างจริงจัง การป้องกัน จะเป็นหนทางเดียว ที่จะทำให้ สงวนรักษา ทรัพยากรในการรักษา ไว้ให้เพียงพอ เพราะถ้าการระบาดเกิดเร็ว แพร่กระจายไปมาก มีผู้ป่วยติดเชื้อจำนวนเพิ่มอย่างรวดเร็ว ก็จะทำให้ระบบสาธารณสุขที่เรามีจำกัด เช่นเตียง รพ. หรือห้องผู้ป่วยความดันลบที่เมืองไทยมีไม่เพียงพอ เกิดเต็มและล้น ก็จะทำให้ผู้ป่วยด้วยโรคอื่นๆเกิดปัญหาการรักษาตามไปด้วย การป้องกันและมาตรการที่เรามี เริ่มตั้งแต่ ป้องกันการเข้ามาของโรคจากนอกประเทศ ที่สนามบิน หรือจุดชายแดน ทั้งคนที่ป่วยและไม่ป่วย 100% ผ่านระบบการกักกันตัวให้พ้นระยะ 14วัน
การกักกันตนเองของผู้ที่ไม่มีอาการ หรือมีอาการน้อย หรือผู้ที่สงสัย หรือสัมผัสเชื้อ ในบ้าน (home quarantine)เป็นสิ่งจำเป็น
การแพร่กระจายไปยังบุคลากรแพทย์ เป็นสิ่งที่น่ากลัวที่สุด เพราะบุคลากรเหล่านั้นจะเป็น super spreader ได้ ดังนั้น ผู้ป่วยหรือผู้ไม่ป่วยเมื่อเข้า รพ.ต้องมีการแยกจากกัน ไม่ให้ปะปน โดยการจัดตั้ง ระบบห้องตรวจแยกสำหรับผู้ป่วยทางเดินหายใจ ความดันลบ และห้องผู้ป่วยรวมแบบ cohort ward บุคลากรสวมชุดป้องกันแบบเต็มชุด ทั้งหน้ากาก faceshield ถุงมือและชุด PPE ในการสกรีนโรคโดยระบบรถโมบายล์ หรือในชุมชนก็ต้องจัดระบบเดียวกัน
ในระดับประชาชนหรือชุมชน การมีนโยบายปิดล็อคเมืองในช่วงพีคของการระบาด และการรณรงค์ กินร้อน ช้อนใครช้อนมัน ล้างมือ และสวมหน้ากากอนามัย ทำให้ได้ผลเป็นอย่างดีมาก คำแนะนำที่ดีที่สุดในช่วงพีค ที่มี super spreader คือ อยู่บ้าน เลี่ยงสถานที่แออัด รักษาระยะห่าง ใส่หน้ากาก ล้วนมีที่มาที่ไปที่อ้างการวิจัยทั้งสิ้น ส่วนการล็อคเมือง ทำตามแบบอู่ฮั่น การมีเคอร์ฟิว กับพรบ.ฉุกเฉิน ไม่มีการอ้างอิงจากที่อื่นที่ใด
การทำความสะอาดผิวสัมผัส พื้น ห้อง ลูกบิด และอุปกรณ์ที่มีคนใช้สาธารณะ โดยใช้ แอลกอฮอล์ และหรือโซเดียม ไฮโปครอไรท์
วารสาร Lancet [101]ลงรีวิวการศึกษาย้อนหลัง พบว่า การเว้นระยะห่างทางกายภาพ ห่างกันน้อยกว่า 1 เมตร เสี่ยง 12.8% ถ้าห่างเกิน 1 เมตร เสี่ยง 2.6% และเสี่ยงน้อยลง 2 เท่า ทุกเมตรที่ห่าง 1 เมตร การสวมหน้ากากอนามัย ถ้าไม่สวมจะเสี่ยง 17.4% ถ้าสวม จะเสี่ยง 3.1% ความแตกต่างไม่มากระหว่างหน้ากากผ้า กับ surgical mask แต่ดีขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญสำหรับ N-95 (จำไว้ว่า หน้ากากที่ดีที่สุด คือหน้ากากที่ใส่สบาย ใส่นานที่สุด โดยที่เราไม่ได้ไปจับต้องมัน )แต่ทั้งนี้ การที่หน้ากากป้องกันได้ดี ส่วนหนึ่งเชื่อว่า เพราะเวลาเราเห็นคนใส่หน้ากาก เราจะถอยห่างคนอื่น และเราเองก็ไม่ค่อยจับบริเวณหน้า ปากจมูกด้วย(ผู้แปล)การสวมหน้ากากบังหน้า (face shield) ถ้าไม่สวมจะเสี่ยง 16 % ถ้าสวม จะเสี่ยง5.5%
สรุปง่ายกว่านั้นคือ ถ้าไม่ใส่กันเลย พบผู้ติดเชื้อ ในระยะใกล้กว่า เมตร ติดได้ มากกว่า 10% ถ้าคนติดเชื้อสวมหน้ากาก คนไม่ติดไม่สวมโอกาสแพร่เชื้อ 5% ถ้าสวมทั้งคู่ เหลือ 1.5% ถ้าถอยห่างมากกว่า 2 เมตร ไม่ใส่ทั้งคู่ความเสี่ยงก็เหลือ 1.3%
มีเคสที่น่าสนใจจำนวนมาก รวมถึงเคสช่างตัดผมอันโด่งดัง (2 hair stylist in Missoury) และเคส (a man from China to Toronto) รวมถึงบทความของ PNAS สองเรื่อง ทำให้ CDC และ WHO ยืนยันว่า ทางเดียวที่จะควบคุมการระบาด คือการสวมใส่หน้ากาก และทำให้ปธน.ทรัมป์ ใส่หน้ากากออกงานเป็นครั้งแรก (15 กค)
มาตรการปิดเมือง มีผลเสียอย่างที่ทราบ จากการทำวิจัย คาดโดย statistic model พบว่า ถ้าปิดเมืองไปเรื่อยๆ โดยไม่สวมใส่หน้ากากจะมีคนติดเชื้อ มากกว่า การใส่หน้ากาก โดยไม่ปิดเมืองเสียอีก[103] (ในขณะที่ระบบเศรษฐกิจ จะเสียหายไปมากกว่านี้ ผู้เขียน)
1. Wang Chen, Horby Peter W, Hayden Frederick G, Gao George F. A novel coronavirus outbreak of global health concern. The Lancet. 2020;395(10223):470–473. doi: 10.1016/S0140-6736(20)30185-9. [PMC free article] [PubMed] [CrossRef] [Google Scholar] 2. Coronavirus Outbreak. Available at: https://www.worldometers.info/coronavirus/. Accessed 23 Feb 2020.
3. Richman DD, Whitley RJ, Hayden FG. Clinical Virology, 4th ed. Washington: ASM Press; 2016.
4. Chan-Yeung M, Xu RH. SARS: epidemiology. Respirology. 2003;8:S9–14. doi: 10.1046/j.1440-1843.2003.00518.x. [PMC free article] [PubMed] [CrossRef] [Google Scholar] 5. Middle East Respiratory Syndrome Coronavirus. Available at: https://www.who.int/emergencies/mers-cov/en/. Accessed 16 Feb 2020.
6. World Health Organization. Situation reports. Available at: https://www.who.int/emergencies/diseases/novel-coronavirus-2019/situation-reports/. Accessed 22 Feb 2020.
7. Xinhua. China’s CDC detects a large number of new coronaviruses in the South China seafood market in Wuhan. Available at: https://www.xinhuanet.com/2020-01/27/c_1125504355.htm. Accessed 20 Feb 2020.
8. Huang C, Wang Y, Li X, Ren L, Zhao J, Hu Y, Zhang L, Fan G, Xu J, Gu X, Cheng Z, Yu T, Xia J, Wei Y, Wu W, Xie X, Yin W, Li H, Liu M, Xiao Y, Gao H, Guo L, Xie J, Wang G, Jiang R, Gao Z, Jin Q, Wang J, Cao B. Clinical features of patients infected with 2019 novel coronavirus in Wuhan, China. Lancet. 2020;395:497–506. doi: 10.1016/S0140-6736(20)30183-5. [PMC free article] [PubMed] [CrossRef] [Google Scholar] 9. Rothe Camilla, Schunk Mirjam, Sothmann Peter, Bretzel Gisela, Froeschl Guenter, Wallrauch Claudia, Zimmer Thorbjörn, Thiel Verena, Janke Christian, Guggemos Wolfgang, Seilmaier Michael, Drosten Christian, Vollmar Patrick, Zwirglmaier Katrin, Zange Sabine, Wölfel Roman, Hoelscher Michael. Transmission of 2019-nCoV Infection from an Asymptomatic Contact in Germany. New England Journal of Medicine. 2020;382(10):970–971. doi: 10.1056/NEJMc2001468. [PMC free article] [PubMed] [CrossRef] [Google Scholar] 10. Li Q, Guan X, Wu P, et al. Early transmission dynamics in Wuhan, China, of novel coronavirus-infected pneumonia. N Engl J Med. 2020. 10.1056/NEJMoa2001316. [PMC free article] [PubMed] 11. Cheng ZJ, Shan J. 2019 novel coronavirus: where we are and what we know. Infection. 2020:1–9. 10.1007/s15010-020-01401-y. [PMC free article] [PubMed] 12. Zou L, Ruan F, Huang M, et al. SARS-CoV-2 viral load in upper respiratory specimens of infected patients. N Engl J Med. 2020. 10.1056/NEJMc2001737. [PMC free article] [PubMed] 13. Kampf G, Todt D, Pfaender S, Steinmann E. Persistence of coronaviruses on inanimate surfaces and its inactivation with biocidal agents. J Hosp Infect. 2020 Feb 6. pii: S0195–6701(20)30046–3. [PMC free article] [PubMed] 14. Chen Huijun, Guo Juanjuan, Wang Chen, Luo Fan, Yu Xuechen, Zhang Wei, Li Jiafu, Zhao Dongchi, Xu Dan, Gong Qing, Liao Jing, Yang Huixia, Hou Wei, Zhang Yuanzhen. Clinical characteristics and intrauterine vertical transmission potential of COVID-19 infection in nine pregnant women: a retrospective review of medical records. The Lancet. 2020;395(10226):809–815. doi: 10.1016/S0140-6736(20)30360-3. [PMC free article] [PubMed] [CrossRef] [Google Scholar] 15. Chen N, Zhou M, Dong X, Qu J, Gong F, Han Y, Qiu Y, Wang J, Liu Y, Wei Y, Xia J, Yu T, Zhang X, Zhang L. Epidemiological and clinical characteristics of 99 cases of 2019 novel coronavirus pneumonia in Wuhan, China: a descriptive study. Lancet. 2020;395:507–513. doi: 10.1016/S0140-6736(20)30211-7. [PMC free article] [PubMed] [CrossRef] [Google Scholar] 16. Wang Dawei, Hu Bo, Hu Chang, Zhu Fangfang, Liu Xing, Zhang Jing, Wang Binbin, Xiang Hui, Cheng Zhenshun, Xiong Yong, Zhao Yan, Li Yirong, Wang Xinghuan, Peng Zhiyong. Clinical Characteristics of 138 Hospitalized Patients With 2019 Novel Coronavirus–Infected Pneumonia in Wuhan, China. JAMA. 2020;323(11):1061. doi: 10.1001/jama.2020.1585. [PMC free article] [PubMed] [CrossRef] [Google Scholar] 17. Xu XW, Wu XX, Jiang XG, et al. Clinical findings in a group of patients infected with the 2019 novel coronavirus (SARS-Cov-2) outside of Wuhan, China: retrospective case series. BMJ. 2020;368:m606. doi: 10.1136/bmj.m606. [PMC free article] [PubMed] [CrossRef] [Google Scholar] 18. Wang XF, Yuan J, Zheng YJ, et al. Clinical and epidemiological characteristics of 34 children with 2019 novel coronavirus infection in Shenzhen. [Article in Chinese]. Zhonghua Er Ke Za Zhi. 2020;58:E008. [PubMed] 19. Chen F, Liu ZS, Zhang FR, et al. First case of severe childhood novel coronavirus pneumonia in China. Zhonghua Er Ke Za Zhi. 2020;58:E005. [PubMed] [Google Scholar] 20. Zeng LK, Tao XW, Yuan WH, Wang J, Liu X, Liu ZS. First case of neonate infected with novel coronavirus pneumonia in China. Zhonghua Er Ke Za Zhi. 2020;58:E009. [PubMed] [Google Scholar] 21. Jin YH, Cai L, Cheng ZS, et al. A rapid advice guideline for the diagnosis and treatment of 2019 novel coronavirus [2019-nCoV] infected pneumonia [standard version] Mil Med Res. 2020;7:4. doi: 10.1186/s40779-020-0233-6. [PMC free article] [PubMed] [CrossRef] [Google Scholar] 22. Huang Peikai, Liu Tianzhu, Huang Lesheng, Liu Hailong, Lei Ming, Xu Wangdong, Hu Xiaolu, Chen Jun, Liu Bo. Use of Chest CT in Combination with Negative RT-PCR Assay for the 2019 Novel Coronavirus but High Clinical Suspicion. Radiology. 2020;295(1):22–23. doi: 10.1148/radiol.2020200330. [PMC free article] [PubMed] [CrossRef] [Google Scholar] 23. Chen Z-M, Fu J-F, Shu Q, et al. Diagnosis and treatment recommendations for pediatric respiratory infection caused by the 2019 novel coronavirus. World J Pediatr. 2020:1–7. 10.1007/s12519-020-00345-5.
24. Russell CD, Millar JE, Baillie JK. Clinical evidence does not support corticosteroid treatment for 2019-nCoV lung injury. Lancet. 2020;395:473–475. doi: 10.1016/S0140-6736(20)30317-2. [PMC free article] [PubMed] [CrossRef] [Google Scholar] 25. Zhao JP, Hu Y, Du RH, et al. Expert consensus on the use of corticosteroid in patients with 2019-nCoV pneumonia. Zhonghua Jie He He Hu Xi Za Zhi. 2020;43:E007. [PubMed] [Google Scholar] 26. WHO. Clinical management of severe acute respiratory infection when novel coronavirus [nCoV] infection is suspected. Available at: https://www.who.int/publications-detail/clinical-management-of-severe-acute-respiratory-infection-when-novelcoronavirus-[ncov]-infection-is-suspected. Accessed 9 Feb 2020.
27. Holshue Michelle L., DeBolt Chas, Lindquist Scott, Lofy Kathy H., Wiesman John, Bruce Hollianne, Spitters Christopher, Ericson Keith, Wilkerson Sara, Tural Ahmet, Diaz George, Cohn Amanda, Fox LeAnne, Patel Anita, Gerber Susan I., Kim Lindsay, Tong Suxiang, Lu Xiaoyan, Lindstrom Steve, Pallansch Mark A., Weldon William C., Biggs Holly M., Uyeki Timothy M., Pillai Satish K. First Case of 2019 Novel Coronavirus in the United States. New England Journal of Medicine. 2020;382(10):929–936. doi: 10.1056/NEJMoa2001191. [PMC free article] [PubMed] [CrossRef] [Google Scholar] 28. Zhang Lei, Liu Yunhui. Potential interventions for novel coronavirus in China: A systematic review. Journal of Medical Virology. 2020;92(5):479–490. doi: 10.1002/jmv.25707. [PMC free article] [PubMed] [CrossRef] [Google Scholar] 29. Multicenter Collaboration Group of Department of Science and Technology of Guangdong Province and Health Commission of Guangdong Province for Chloroquine in the Treatment of Novel Coronavirus Pneumonia. [Expert consensus on chloroquine phosphate for the treatment of novel coronavirus pneumonia]. [Article in Chinese] Zhonghua Jie He He Hu Xi Za Zhi. 2020;43:E019. [PubMed] 30. World Health Organization. Coronavirus disease [COVID-19] Technical Guidance: Infection Prevention and Control. Available at: https://www.who.int/emergencies/diseases/novel-coronavirus-2019/technical-guidance/infection-prevention-and-control. Accessed 20 Feb 2020.
31. Chang De, Xu Huiwen, Rebaza Andre, Sharma Lokesh, Dela Cruz Charles S. Protecting health-care workers from subclinical coronavirus infection. The Lancet Respiratory Medicine. 2020;8(3):e13. doi: 10.1016/S2213-2600(20)30066-7. [PMC free article] [PubMed] [CrossRef] [Google Scholar] 32. Li Jie, Li Jun (Justin), Xie Xiaoru, Cai Xiaomei, Huang Jian, Tian Xuemei, Zhu Hong. Game consumption and the 2019 novel coronavirus. The Lancet Infectious Diseases. 2020;20(3):275–276. doi: 10.1016/S1473-3099(20)30063-3. [PMC free article] [PubMed] [CrossRef] [Google Scholar] https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC7090728/
100.https://www.researchgate.net/publication/340000976_Experimental_Treatment_with_Favipiravir_for_COVID-19_An_Open-Label_Control_Study
101.https://www.thelancet.com/journals/lancet/article/PIIS0140-6736(20)31142-9/fulltext#%20
102.https://www.washingtonpost.com/health/2020/06/13/spate-new-research-supports-wearing-masks-control-coronavirus-spread/
103.https://arxiv.org/pdf/2004.13553.pdf
105.https://www.gisaid.org/references/statements-clarifications/clade-and-lineage-nomenclature-aids-in-genomic-epidemiology-of-active-hcov-19-viruses/