โรคที่มากับน้ำท่วม หรือหน้าฝนอีกโรค ที่พบบ่อยๆตามทุ่งนา คือ โรคฉี่หนู หรือที่เรียกว่า เล็ปโตสไปโรสิส leptospirosis

สาเหตุ
เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชื่อเล็บโตสไปร่า (Leptospira interogans) เชื้อนี้สามารถพบได้ในสุนัข สุนัขจิ้งจอก สัตว์เลี้ยงในบ้าน แต่พบมากในหนูซึ่งสามารถแพร่เชื้อออกมาได้โดยที่ตัวมันไม่เป็นโรค
มักจะพบการระบาดในเดือนตุลาคม และพฤศจิกายน เนื่องจากเป็นฤดูฝนต่อหนาว มีน้ำขัง

การติดต่อ
สัตว์ที่นำเชื้อได้แก่ พวกสัตว์แทะ เช่น หนู โดยเฉพาะ หนูนา หนูพุก รองลงมาได้แก่ สุนัข วัว ควาย สัตว์พวกนี้เก็บเชื้อไวในไตเมื่อหนูปัสสาวะเชื้อจะอยู่ในน้ำหรือดิน เมื่อคนสัมผัสเชื้อซึ่งอาจจะเข้าทางแผล เยื่อบุในปากหรือตา บางรายงานระบุผิวหนังปกติเชื้อก็สามารถเข้าสู่ร่างกายได้
คนรับเชื้อได้ 2 วิธี
1.ทางตรง โดยการสัมผัสสัตว์ที่นำเชื้อ ระหว่างสัตว์ต่อสัตว์ หรือคนต่อคนโดยเพศสัมพันธ์
2.ทางอ้อม โดยเชื้อที่ปนในน้ำ ในดิน เข้าสู่คนทางผิวหนัง หรือเยื่อบุ ที่ตา ปาก จมูก
อาการที่สำคัญ
หลังจากได้รับเชื้อ 10-26 วันโดยเฉลี่ย 10 วันผู้ป่วยก็จะเกิดอาการของโรคซึ่งแบ่งได้เป็น 2 ระยะ
1.ระยะเชื้อเข้ากระแสเลือด เมื่อเชื้อเข้าร่างกายจะเข้าสู่กระแสเลือด ผู้ป่วยจะมีอาการดังนี้คือ
· ผู้ป่วยจะมีอาการปวดศีรษะทันที มักจะปวด บริเวณหน้าผาก หรือหลังตา บางรายปวดบริเวณขมับทั้งสองข้าง
· ปวดกล้ามเนื้อมากโดยเฉพาะบริเวณ ขา เอว เวลากด หรือจับจะปวดมาก
·ไข้สูงร่วมกับหนาวสั่น
อาการต่างๆอาจอยู่ได้ 4-7 วัน นอกจากอาการดังกล่าวผู้ป่วยจะมีอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน บางรายมีอาการถ่ายเหลว ปวดท้อง
การตรวจร่างกายในระยะนี้ที่สำคัญจะตรวจพบ ผู้ป่วยตาแดง มีน้ำตาหรือขี้ตาไหล คอแดง มีจ้ำเลือดตามผิวหนัง บางรายมีผื่นตามตัว
2.ระยะร่างกายสร้างภูมิ ระยะนี้ถ้าเจาะเลือดจะพบภูมิต่อเชื้อเพิ่ม ผู้ป่วยจะมีไข้ขึ้นใหม่ ปวดศีรษะ คอแข็งมีการอักเสบของเยื่อหุ้มสมอง
การวินิจฉัย
จากประวัติการสัมผัสโรค และตรวจร่างกายเมื่อแพทย์สงสัยแพทย์จะตรวจ
·CBC การตรวจเลือดทั่วไป จะพบว่าเม็ดเลือดขาวเพิ่ม บางรายเกร็ดเลือดต่ำ
·ตรวจปัสสาวะ พบเม็ดเลือดแดง ไข่ขาวในปัสสาวะรวมทั้งพบน้ำดี bilirubin ในปัสสาวะ
·ตรวจการทำงานของตับ พบการอักเสบของตับโดยจะมีค่า SGOT,SGPT สูงขึ้น
·ในรายที่รุนแรงการทำงานของไตจะเสื่อม ค่า Creatinin,BUN จะเพิ่มขึ้น
·การเพาะเชื้อจากเลือดสามารถเพาะได้ในระยะแรกของโรค
·การตรวจทางภูมิคุ้มกัน สามารถตรวจพบหลังการติดเชื้อ 2 สัปดาห์
การรักษา
·ควรให้ยา penicillin,tetracyclin,streptomycin,erythromycin เป็นยาที่ใช้ได้ผลในโรคนี้ และควรจะได้รับยาภายใน 4-7 วันหลังเกิดอาการของโรค
·การได้รับน้ำและเกลือแร่อย่างเพียงพอ

CK

2535 แพทยศาสตร์บัณฑิต เกียรตินิยมอันดับ1 มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2539 วุฒิบัตร อายุรศาสตร์

Recent Posts

วัคซีนป้องกันไข้หวัดนก(2550)

10 อันดับความก้าวหน้าหรือ medical breakthrough ทางการแพทย์ ประจำปี 2550 เรื่องที่ 3 วัคซีนไข้หวัดนก ตัวแรก ออกแล้ว ในปี 2007 ความกังวลว่า…

8 years ago

ขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ ทำไม อย่างไร เมื่อไร

หลายคนคงเคยมีคำถาม จะขลิบหนังหุ้มปลาย อย่างไร เมื่อไร และทำไม โดยเฉพาะผู้เป็นพ่อแม่ที่มีลูกชาย อาจจะเคยมีแพทย์แนะนำให้ ขลิบหนังหุ้มปลายตั้งแต่เด็กยังเล็กๆเลย ซึ่งแน่นอน ว่าต้องเกิดความกังวลในใจคุณแน่ๆ (more…)

8 years ago

Health tip ป้องกันการเกิดกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

ข้อมูลจาก health day และศูนย์ข้อมูลโรคไตของสหรัฐ ได้ให้คำแนะนำสำหรับป้องกันการติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะ เช่นกระเพาะปัสสาวะและไต ดังนี้ ดื่มน้ำวันละมากๆ ห้ามกลั้นปัสสาวะนานๆ อาบน้ำโดยใช้การตักอาบหรือฝักบัว ดีกว่าใช้อ่างอาบน้ำ (more…)

8 years ago

สมาธิ จุดเริ่มต้นในการพัฒนาการเรียนของเด็ก

การปลูกฝังสมาธิในเด็ก เป็นการปูพื้นความสามารถในการเรียนรู้ให้เด็ก ผมมีบทความดีๆจาก ศูนย์จินตคณิต http://www.imaxbrain.com พัทยา ที่นำมาจากการสัมนาเรื่อง สมาธิ คือจุดเริ่มต้นของการเรียนรู้ที่ดี มาฝากครับ (more…)

8 years ago

ไข้หวัด

ไข้หวัด เกิดจากเชื้อไวรัสหวัด เด็กเล็ก ๆ อายุต่ำกว่า 6 เดือน เป็นหวัดน้อยกว่าเด็กโต ทั้งนี้เพราะ เด็กทารกช่วงวัยนั้น ได้รับภูมิต้านทาน เชื้อโรคหวัด ผ่านทางรก และเลือดของแม่ ตั้งแต่อยู่ในครรภ์…

8 years ago

เหา Pediculosis capitis

เหา (Pediculosis capitis) เหาเกิดจากเชื้อปาราสิต ชื่อว่า "Pediculus humanus" ซึ่งอาศัยอยู่บนหนังศีรษะ เส้นผม ขน ปาราสิตนี้จะคอยดูดเลือดกินเป็นอาหาร และวางไข่บนเส้นผม โดยหลั่งสารไคติน (chitin) หุ้มปลายหนึ่งของไข่…

8 years ago