ยาใหม่รักษาไมเกรน new drugs for Migraine from FDA เป็น monoclonal Ab ต่อ CGRP

ผู้ที่เป็นปวดหัวจากไมเกรนบ่อยๆ คงจะทราบถึงความทุกข์ทรมาน ในการปวดศีรษะ อย่างที่ว่า อยากจะตัดหัว หรือหัวจะระเบิด (อันนี้หมอเข้าใจนะ เพราะเคยเป็น) เรามียาในกลุ่มต่างๆที่ใช้ในการรักษา มาตั้งนาน หลายตัวที่เคยเป็นยาใหม่เมื่อหลายปี เช่นยากลุ่ม Triptans (Sumatriptan = Imigran และ Eletriptan =Relpax) รวมถึงยาเก่า กลุ่ม Cafergot ที่คุ้นเคยกันมานาน

ยาในกลุ่มเก่า ปัญหาสำคัญคือ ผลข้างเคียง และประสิทธิภาพ อย่างเช่น ใครที่กิน Cafergotบ่อยๆคงทราบ มีใจสั่น มือสั่น อาเจียน  บางครั้งกินมากๆ ติดยา ใช้ปริมาณมากขึ้นๆ ต่อมา ยา ทำให้ปวดหัวเสียเอง

ข่าวดี คือ เมื่อไม่นานมานี้ องค์การอาหารและยา สหรัฐ (US FDA) ได้อนุมัติยากลุ่มใหม่เอี่ยม ที่แตกต่างจากตัวอื่นๆ เป็นยาในกลุ่ม ที่จำเพาะในกลไกที่เกี่ยวข้องของ CGRP (calcitonin gene-related peptide (จากบทความนี้ ความรู้ใหม่กลไกของการปวดหัวไมเกรน 2020) สาร CGRP มีระดับสูงขึ้นในคนที่มีอาการปวดหัวไมเกรน (ไมเกรนแอทแทค) ยาในกลุ่มนี้ จะมีกลไกยับยั้ง หรือบล็อกการทำงานของสารนี้ โดยมีผลข้างเคียงน้อยกว่า และใช้แค่เพียงเดือนละครั้งหรือสามเดือนครั้งเลยทีเดียว

ยาที่ว่า มี 3 ตัวคือ Aimovig (erenumab-aooe), Ajovy (fremanezumab-vfrm), และ Emgality (galcanezumab-gnlm)

มียาอีกตัวที่มีการวิจัยลงใน New England Journal of Medicine คือ Ubrogepant อีกตัวที่เป็นยากิน พบว่าได้ผลดีกว่ายาหลอกในการรักษาไมเกรนรุนแรง

กลไกของยากลุ่มนี้ คือเป็นแอนติบอดี้ (monoclonal antibody) IgG ไปจับกับ CGRP receptor (Erenumab-aooe) ส่วนอีกสองตัวหลัง เป็นแอนติบอดี้ ที่ไปแย่งที่ CGRP recertor ครับ

ยาในกลุ่มใหม่นี้ เข้าไปที่กลไกพื้นฐานการเกิดไมเกรนเลย โดยจับกับสารสื่อประสาทที่เป็นตัวขยายสัญญาณการเจ็บปวด ซึ่งพัฒนากว่ายาเดิมๆที่เป็นตัวเพิ่มระดับซีโรโทนิน เป็นการระงับความปวด แต่ไม่บล็อกการปวด

Share
Kijakarn Junda

Thaihealth team leader

Recent Posts

ฝุ่นpm2.5กับการออกกำลังกาย

ฝุ่นpm2.5กับการออกกำลังกาย เชื่อว่าช่วงหลังๆ ในหน้าหนาว หลายคนกำลังประสบกับปัญหา ภัยจากฝุ่นควันจิ๋ว PM 2.5 ซึ่งเป็นฝุ่นที่มีขนาดเล็ก และสามารถทำอันตรายต่อสุขภาพได้ หลายท่านที่เป็นนักกีฬา หรือต้องออกกำลังกายกลางแจ้งคงกังวลว่า เราจะสามารถออกกำลังได้ไหม ในสถานการณ์อย่างไรบ้าง ต้องใช้หน้ากากไหม และมีหน้ากากป้องกันฝุ่น…

1 week ago

top10มะเร็งที่พบมากในประเทศไทย

10 อันดับโรคมะเร็งที่พบบ่อยในประเทศไทย 1. มะเร็งตับและท่อน้ำดี (Liver and Bile Duct Cancer) เป็นมะเร็งที่พบบ่อยที่สุดในประเทศไทย และมีอัตราการเสียชีวิตสูงที่สุด (20.3%) 2.มะเร็งปอด (Lung Cancer)…

3 weeks ago

มะเร็งในอายุน้อยลง ผลวิจัยระบุ

มะเร็งในอายุน้อยลง ผลวิจัยระบุ โรคมะเร็งที่เกิดในวัยหนุ่มสาว — รวมถึงมะเร็งเต้านม ลำไส้ใหญ่ หลอดอาหาร ไต ตับ และตับอ่อน — เพิ่มขึ้นอย่างมากทั่วโลก โดยแนวโน้มนี้เริ่มขึ้นประมาณปี 1990 ไม่ต้องแปลกใจถ้าจะมีข่าวมะเร็งในคนอายุน้อยลงเรื่อยๆ…

3 weeks ago

ปอดบวมจากไข้หวัดใหญ่ (Influenza Pneumonia)

ปอดบวมจากไข้หวัดใหญ่(ปอดอักเสบจากไข้หวัดใหญ่ ) Influenza Pneumonia เป็นภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรงจากการติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ และการรักษาจะเกี่ยวข้องกับทั้งการใช้ยาต้านไวรัสและการดูแลแบบประคับประคอง อาการของปอดบวมจากไข้หวัดใหญ่ อาการระบบทางเดินหายใจ :ไอ (มักมีเสมหะ อาจใส เหลือง เขียว หรือแม้กระทั่งเป็นเลือด)หายใจสั้นหรือหายใจลำบากเจ็บหน้าอก ซึ่งอาจแย่ลงเมื่อหายใจลึกหรือไออาการในระบบต่าง…

3 weeks ago

Influenza A and B ICD 10

Influenza A and B ICD 10 Influenza of any strains Use same ICD10 Influenza with…

3 weeks ago

ไข้หวัดใหญ่(Influenza, Flu)

ไข้หวัดใหญ่(Influenza, Flu)อัพเดตข้อมูลจาก Thaihealth.net กรมควบคุมโรค และสมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย อัพเดต 1/2025 ไข้หวัดใหญ่ บทนำ โรคไข้หวัดใหญ่ หมายถึง โรคระบบทางเดินหายใจที่เกิดจากไวรัส influenza เฉียบพลัน ซึ่งถ้าเป็นโรคไข้หวัดใหญ่…

1 month ago