สารบัญ

พาหะไวรัสตับอักเสบบี คือ? วันนี้เรามาทำความรู้จักกัน

เราคงเคยได้ยินว่า คนคนนั้นบริจาคเลือดไม่ได้เพราะเป็นพาหะ ไวรัสตับอักเสบบี เด็กรุ่นใหม่คงเกิดอาการงงเล็กน้อย เพราะยิ่งนานไป เราจะเจอคนที่เป็นพาหะนี้น้อยลงเรื่อยๆ เพราะประเทศไทยมีการรณรงค์ ให้มีการฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบบีมาหลายสิบปี ตั้งแต่ 2535 ตั้งเป้า 100% ทำให้เด็กที่ติดไวรัสบีตั้งแต่เด็กมีจำนวนลดน้อยลงมาก

แต่ถ้าพูดถึงเมื่อสมัยสักสี่ห้าสิบปีก่อน ในประเทศไทยและแถบเอเชีย เราจะพบว่า อุบัติการ การมีเชื้อไวรัสบีโดยไม่มีอาการ หรือก็คือพาหะไวรัสนั้น อุบัติการณ์สูงมาก ข้อมูลจาก อ.ชุติมา ประมูลสินทรัพย์ ในวารสาร South Asean J Trop. Med. ตีพิมพ์เมื่อปี 1986 (2529 ปีที่ผมเข้ามหาวิทยาลัย) คือ 37 ปีที่แล้ว เราพบว่า คนไทยถึง 5 ล้านคน (10% ของประชากรเลย) เป็นพาหะของโรคตับอักเสบบี ! ซึ่งสูงมาก ในช่วงนั้น ประชากรเด็กเกิดใหม่ปีละ 1 ล้านคน คิดดูว่าจะมีพาหะเกิดมากเพียงใด บางแห่งมีพาหะสูงถึง 40% ของประชากร ทำไมถึงสูงขนาดนั้น เนื่องจากเราพบว่า เด็กที่เกิดจากมารดาที่มีเชื้อไวรัสบี จะส่งผ่านไปติดเด็กถึง 3 ใน 4 คนหรือ 75% เลยทีเดียว ซึ่งสูงมาก ในสมัยนั้นยังไม่มีวัคซีน หรือยาที่ได้ผล ยิ่งไปกว่านั้น เนื่องจากบางแห่งการตรวจยังไม่ได้พัฒนา ทำให้มีการแพร่ของเชื้อไปยังผู้ป่วยที่ได้รับเลือด และแพทย์ พยาบาล บุคลากรที่ได้รับสัมผัสเลือดด้วย ข้อมูลจากเมื่อ 30กว่าปีที่แล้ว พบว่า ทำให้อุบัติการณ์ของการเป็นตับแข็ง ( Liver Cirrhosis) และมะเร็งตับ(HCC Hepatocellular Carcinoma) สูงเป็นอันดับต้นๆของสาเหตุการตายของคนไทย และต่อเนื่องมาตลอดเพราะพาหะเหล่านั้น ก็จะมีอายุราวๆ 40-60 ปีในปัจจุบันนี้ โดยเราพบว่า ในผู้ป่วยมะเร็งตับ 35-75% มีไวรัสตับอักเสบบี (ปัจจุบันมีไวรัสตับอักเสบซี Hepatitis C มาเป็นตัวเด่นด้วย)

แต่ภายหลังจากปี 2535 เป็นต้นมา ประเทศไทยเริ่มรณรงค์ฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบบี (Hepatitis B Vaccine)ให้กับเด็กแรกเกิดทุกคน ทำให้อุบัติการของการเป็นโรคนี้ และพาหะลดน้อยลงมาก เด็กยุคหลังๆ อาจไม่เคยได้ยินคำว่าไวรัสตับอักเสบบีเลยก็เป็นได้ เหมือนที่เราเคยจัดการฝีดาษลงจนหมดราบคาบ

มาถึงข้อมูลปัจจุบันบ้าง เราพบว่า อุบัติการณ์ของพาหะทั่วโลกอยู่ในช่วง 240-350ล้านคน ในสหรัฐอยู่ช่วง 0.1-0.5%

พาหะของไวรัสตับอักเสบบี HepatitisB carrier คืออะไร

ในความหมายง่าย ๆ พาหะ คือไม่มีอาการ หมายถึงคนที่มีเชื้อ และสามารถส่งผ่านเชื้อไวรัสตับอักเสบบีไปยังผู้อื่นได้โดยไม่มีอาการ และโดยที่ไวรัสนั้นอาจจะยังแพร่หรือเจริญเพิ่มในตัวผู้เป็นพาหะนั้นๆได้ และยังเพิ่มความเสี่ยงของโรคตับแข็งและมะเร็งตับด้วย

การติดต่อของไวรัสตับอักเสบบี

พาหะนำโรคไวรัสตับอักเสบบี จะยังสามารถแพร่กระจายเชื้อไปยังผู้อื่นได้โดย

  • การมีเพศสัมพันธ์ร่วมกัน
  • การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน
  • คลอดจากมารดาที่มีเชื้อ
  • การสัมผัสน้ำลาย หรือสารคัดหลั่งอื่นๆ
  • การใช้สิ่งของเช่นมีดโกน หรือแปรงสีฟันร่วมกัน
  • อุบัติเหตุโดนเข็มทิ่ม
  • การให้เลือด

ผลของการมีเชื้อไวรัสตับอักเสบบีในร่างกาย

ถึงแม้ ผู้ที่เป็นพาหะของไวรัสตับอักเสบบี จะไม่มีอาการ แต่ก็เหมือนเชื้อไวรัสพวก งูสวัด หรือ เริม ที่มีโอกาสที่เชื้อจะอยู่ๆก็เพิ่มปริมาณก่อให้เกิดอาการได้ (resurgence) ได้ ผลของการมีเชื้อจะก่อให้เกิด

  • การทำลายเซลตับ ทำให้ตับแข็ง (liver cirrhosis) เทียบกับการดื่มสุรา
  • การที่ตับวาย (Liver Failure)
  • มะเร็งตับ ( Hcc Hepatocellular carcinoma)

การวินิจฉัยและการรักษาพาหะของโรคไวรัสตับอักเสบบี

การวินิจฉัย ปัจจุบันทำโดยการตรวจเลือดหาเชื้อและภูมิคุ้มกัน ร่วมกับตรวจการทำงานของตับ ( HbsAg , AntiHBS , Liver Function test = LFT) ซึ่งเมื่อตรวจพบแล้ว แพทย์จะแนะนำตรวจเพิ่ม และตรวจอัลตราซาวด์ของตับเพื่อดูว่ามีผลกระทบจากการติดเชื้อไวรัสหรือไม่อย่างไร

การรักษา ไม่ทุกรายที่จะรักษา เราจะรักษาในคนไข้ที่เริ่มมีผลกระทบต่อตับ หรือยังมีอาการอักเสบของตับ การรักษาก็หลากหลายวิธี และผลที่ได้ก็แตกต่างกัน ในธรรมชาติ ก็จะมีผู้ที่หายเองจากไวรัสปีละ 1%
กรุณาสละเวลาโหวตให้กับบทความ ขอบคุณครับ Note: There is a rating embedded within this post, please visit this post to rate it.

CK

2535 แพทยศาสตร์บัณฑิต 2539 วุฒิบัตร อายุรศาสตร์ เป็นคนชอบขีดเขียน ชอบท้าทาย ทำงานเป็นหมอดีๆไม่ชอบ ชอบเป็น journalist /

Recent Posts

ไข้เลือดออก 2566

อัพเดต อาการ การรักษา โรคไข้เลือดออก หรือ ไข้เดงกี่ (Dengue fever ) รวมถึง ไข้เลือดออกเดงกี่ Dengue Hemorrhagic fever เป็นโรคไข้จากไวรัส…

1 year ago

วัคซีนไข้หวัดใหญ่ 2023-2024

วัคซีนไข้หวัดใหญ่ 2023-2024 องค์การอนามัยโลก For trivalent vaccines for use in the 2023-2024 northern hemisphere influenza season,…

2 years ago

สุขภาพเด็ก -Thaihealth

Thaihealth เปิดโซนสุขภาพเด็ก แนะนำบทความจาก Thaihealth Old News ครับ (more…)

2 years ago

ฮีทสโตรก heatstroke ภาวะที่ต้องระวังในหน้าร้อน

ฮีทสโตรก heatstroke ภาวะที่ร่างกายมีอุณหภูมิสูงเกินปกติและควบคุมไม่ได้ โดยทั่วไปคือภาวะที่ร่างกายมีอุณหภูมิแกนกลาง (core temperature) มากกว่า 40 องศาเซลเซียส ก่อให้เกิดอันตรายต่ออวัยวะต่างๆอย่างเฉียบพลัน ถือเป็นภาวะที่ต้องรักษาเร่งด่วน (more…)

2 years ago

อาการวิงเวียนเฉียบพลัน

อาการวิงเวียนศีรษะ เวียนหัวเฉียบพลัน เคสผู้ป่วยวิงเวียนนี้ อายุรแพทย์จะต้องได้เจอทุกวัน อาจจะวันละหลายๆครั้ง หลากหลายอาการ คนไข้จะบอกเล่า ตั้งแต่ อาการต่างๆ เช่น อยู่ๆก็เหมือนบ้านหมุน ทรงตัวไม่ได้ อันนี้อาการมาก เวียนเซ เป็นตอนขยับศีรษะ…

2 years ago

April 2023 Update for ICD 10-CM

April 2023 updates to the International Classification of Diseases, 10th Revision, Clinical Modification (ICD-10-CM) system…

2 years ago