ไข้เลือดออกเป็นโรคที่เกิดจากยุงซึ่งแพร่กระจายอย่างรวดเร็วในทุกภูมิภาคของโลกในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา
เชื้อไวรัสเด็งกี่เกิดจากยุงตัวเมียส่วนใหญ่เป็นสปีชีส์Aedes aegypti (ยุงลายบ้าน)และAedes albopictus
นอกจากไข้เลือดออกแล้ว ยุงเหล่านี้ยังเป็นพาหะของ
โรคชิคุนกุนยา (Chikungunya)
ไข้เหลือง(Yellow fever)และ
ไวรัสซิก้า (Zika virus)
ไข้เลือดออกแพร่หลายไปทั่วเขตร้อนโดยมีความเสี่ยงที่แตกต่างกันไปตามปริมาณน้ำฝนอุณหภูมิความชื้นสัมพัทธ์และการขยายตัวอย่างรวดเร็วของเมือง เนื่องจากมีการแพร่ของยุงไปได้มากขึ้นนั่นเอง
ไวรัสไข้เลือดออกทำให้เกิดโรคไข้เลือดออก Dengue feverในระดับตั้งแต่ไม่แสดงอาการ (อาจไม่รู้ว่าติดเชื้อด้วยซ้ำ) หรือมีไข้ ปวดเมื่อย จนถึงอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ในผู้ติดเชื้อ แม้ว่าจะมีน้อยกว่าคนทั่วไป
บางคนมีไข้เลือดออกรุนแรง ซึ่งเกิดจากภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับการมีเลือดออกรุนแรงความบกพร่องของอวัยวะและ / หรือการรั่วไหลของพลาสมาตามชื่อโรค
ไข้เลือดออกที่รุนแรงมีความเสี่ยงสูงต่อการเสียชีวิตเมื่อไม่ได้รับการจัดการอย่างเหมาะสม โรคไข้เลือดออกรุนแรงได้รับการยอมรับครั้งแรกในปี 1950 ในช่วงการระบาดของโรคไข้เลือดออกในประเทศฟิลิปปินส์และประเทศไทย
ทุกวันนี้ไข้เลือดออกรุนแรงส่งผลกระทบต่อประเทศส่วนใหญ่ในเอเชียและละตินอเมริกาและกลายเป็นสาเหตุสำคัญของการรักษาในโรงพยาบาลและการเสียชีวิตของเด็กและผู้ใหญ่ในภูมิภาคเหล่านี้
ไข้เลือดออกเกิดจากเชื้อไวรัสของตระกูล Flaviviridae และมีสี่สายพันธุ์ที่มีความแตกต่างกัน แต่มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิด serotypes ของไวรัสที่ทำให้เกิดไข้เลือดออก (DENV-1, DENV-2, DENV-3 และ DENV-4) เชื่อว่าเมื่อผู้ใดหายจากการติดเชื้อ ผู้นั้นจะภูมิคุ้มกันตลอดชีวิตกับ serotype นั้น อย่างไรก็ตาม cross-immunity หรือการมีภูมิข้ามสายพันธ์กับ serotypes อื่น ๆ มีเพียงบางส่วนและชั่วคราว การติดเชื้อที่ตามมา (การติดเชื้อรอง) โดย serotypes อื่น ๆ เพิ่มความเสี่ยงของการพัฒนาโรคไข้เลือดออกรุนแรงได้ (Anamnestic response )เช่นเดียวกับที่ทางการแพทย์กล่าวว่า ในผู้ที่เคยเป็นมาแล้วเป็นใหม่จะมีความรุนแรงเพิ่ม
ไข้เลือดออกมีรูปแบบทางระบาดวิทยาที่แตกต่างกันซึ่งสัมพันธ์กับไวรัสทั้งสี่ชนิด
หลาย ๆ ประเทศมีการแพร่กระจายของโรคจำนวนมากทั้งสี่ซีโรไทป์ ยิ่งการขนส่งรวดเร็ว การแพร่กระจายเชื้อยิ่งไปได้กว้างขวางและรวดเร็วทั่วโลก
ที่มา WHO
ไข้เลือดออก – บทความสุขภาพ บทความสุขภาพ และข่าว Archive
- การป้องกันตนเองจากยุงลาย
by CKการป้องกันตนเองจากยุงลาย ป้องกันตนเองจากยุงลาย เมื่อโดนยุงลายจู่โจมเข้าให้แล้ว สิ่งสำคัญที่ต้องทำ คือ หาวิธีต่าง ๆ ที่จะป้องกันตนเองไม่ให้ถูกยุงกัด ซึ่งทำได้หลายวิธี ควรกรุหน้าต่าง ประตู และช่องมด้วยมุ้งลวดตรวจตราซ่อมแซมฝาบ้าน ฝ้าเพดาน อย่าให้มีร่อง ช่องโหว่หรือรอยแตก เพื่อป้องกันไม่ให้ยุงลายเข้ามาในบ้าน เวลาเข้า – ออกควรใช้ผ้าปัดประตูมุ้งลาดก่อน เพื่อไล่ยุงลายที่อาจจะเกาะอยู่ตามที่ต่าง ๆ เก็บของในบ้านให้เป็นระเบียบเรียบร้อยอยู่เสมอ เพราะยุงลายชองไปหลบซ่อนตามมุมมืดของห้องและเครื่องเรือนต่าง ๆ ที่รก…
- วงจรการแพร่เชื้อไวรัสไข้เลือดออก
by CKวงจรการแพร่เชื้อไวรัสไข้เลือดออก 1.ยุงลายกัดเด็กป่วย 2.ยุงที่มีเชื้อไปกัดเด็กปกติ
- วงจรชีวิตยุงลาย
by CKวงจรชีวิตยุงลาย 1. ไข่ Eggs – ไข่ในภาชนะ บริเวณเปียกๆ แต่เหนือน้ำเล็กน้อย – ไข่ได้ 100 ฟองต่อครั้ง – แข็ง ติดกับขอบภาชนะได้ดี คล้ายมีกาว สามารถอยู่ภายนอกได้ถึง 8 เดือน 2. Larva ตัวอ่อน – จะออกจากไข่เมื่อระดับน้ำมาท่วมไข่เท่านั้น แสดงว่าจะออกมาเมื่อมีฝนเพิ่ม…
- การกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย
by CKการกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย ยุงลายเป็นพาหะของโรคไข้เลือดออก การป้องกันที่ดีที่สุดก็คือ กำจัดหรือลดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และพยายามหาทางป้องกันไม่ให้ถูกยุงกัด ควรปิดปากภาชนะเก็บน้ำด้วยผ้า ตาข่ายไนล่อนอะลูมิเนียม หรือวัสดุอื่นที่สามารถปิดปากภาชนะเก็บน้ำนั้นได้อย่างมิดชิด จนยุงไม่สามารถเล็ดลอดเข้าใปวางไข่ได้ หมั่นเปลี่ยนน้ำทุก 7 วัน ซึ่งเหมาะสำหรับภาชนะเล็ก ๆ ที่มีน้ำไม่มากนัก เช่น แจกันดอกไม้สด ทั้งที่เป็นแจกันที่หิ้งบูชาพระ แจกันที่ศาลพระภูมิ หรือแจกันประดับตามโต๊ะ รวมทั้งภาชนะและขวดประเภทต่าง ๆ ที่ใช้เลี้ยงต้นพลูด่าง ฯลฯ ใส่ทรายในจานรองกระถางต้นไม้…
- ไข้เลือดออก dengue fever
by CKเมื่อสองสามวันก่อน เจอคนไข้ไข้เลือดออก ในเขตที่ผู้เขียนอยู่ เลยคิดว่าน่าจะนำเรื่องราวเกี่ยวกับไข้เลือดออกมาให้พวกเราได้ดูและระมัดระวังในลูกหลานของเราครับ ข้อมูลจาก thaihealth encyclopedia ไข้เลือดออก เป็นการติดเชื้อไวรัส มีเชื้ออยู่สองชนิดใหญ่ๆที่ทำให้เกิดไข้เลือดออก คือเชื้อ เดงกี่ (dengue) และชิกุนกุนย่า(chigunkunya) มากกว่า 90% เกิดจากเชื้อตัวแรก เชื้อเดนกี่มี 4 พันธ์ โดยทั่วไป ในการรับเชื้อครั้งแรก มักไม่ค่อยมีอาการรุนแรงมากนัก ซึ่งสามารถเกิดในเด็ก ๆ…
ผื่นแพ้ยา Stevens Johnsons syndrome ถ้าหากจะลองไล่รายชื่อโรคที่แพทย์ไม่ต้องการจะเจอในชีวิตหนึ่ง โรคแพ้ยาชนิดรุนแรง สตีเวนส์ จอห์นสัน Stevens johnsons syndrome (SJS) และ TENS (Toxic epidermal…
ฝุ่นpm2.5กับการออกกำลังกาย เชื่อว่าช่วงหลังๆ ในหน้าหนาว หลายคนกำลังประสบกับปัญหา ภัยจากฝุ่นควันจิ๋ว PM 2.5 ซึ่งเป็นฝุ่นที่มีขนาดเล็ก และสามารถทำอันตรายต่อสุขภาพได้ หลายท่านที่เป็นนักกีฬา หรือต้องออกกำลังกายกลางแจ้งคงกังวลว่า เราจะสามารถออกกำลังได้ไหม ในสถานการณ์อย่างไรบ้าง ต้องใช้หน้ากากไหม และมีหน้ากากป้องกันฝุ่น…
10 อันดับโรคมะเร็งที่พบบ่อยในประเทศไทย 1. มะเร็งตับและท่อน้ำดี (Liver and Bile Duct Cancer) เป็นมะเร็งที่พบบ่อยที่สุดในประเทศไทย และมีอัตราการเสียชีวิตสูงที่สุด (20.3%) 2.มะเร็งปอด (Lung Cancer)…
มะเร็งในอายุน้อยลง ผลวิจัยระบุ โรคมะเร็งที่เกิดในวัยหนุ่มสาว — รวมถึงมะเร็งเต้านม ลำไส้ใหญ่ หลอดอาหาร ไต ตับ และตับอ่อน — เพิ่มขึ้นอย่างมากทั่วโลก โดยแนวโน้มนี้เริ่มขึ้นประมาณปี 1990 ไม่ต้องแปลกใจถ้าจะมีข่าวมะเร็งในคนอายุน้อยลงเรื่อยๆ…
ปอดบวมจากไข้หวัดใหญ่(ปอดอักเสบจากไข้หวัดใหญ่ ) Influenza Pneumonia
Influenza A and B ICD 10 Influenza of any strains Use same ICD10 Influenza with…