Post exposure therapy สำหรับ HIV เอดส์ คืออะไร คือการให้ยาต้านไวรัส ในกรณีสัมผัสโรคมาแล้วในระยะ 24-72 ชม. โดยส่วนใหญ่จะหมายถึงได้รับโดยอุบัติเหตุ เช่นเข็มตำ ในเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ เป็นต้น แต่ที่เจอในปัจจุบัน คือ มีการมีเพศสัมพันธ์เสี่ยง โดยไม่มีการป้องกัน ในหญิงบริการ หรือถุงยางอนามัยแตก เป็นต้น


ความเสี่ยงของการติดเชื้อ HIV หรือเอดส์
เป็นคำถามที่โดนถามมากที่สุด ซึ่งก็ตอบยากมากเช่นกัน โดยเฉพาะ คนไข้จะถามเสมอว่า ถุงยางหลุด แตก ในเวลาเท่านั้นเท่านี้ โอกาสติดเชื้อ HIV กี่ % มีหลายปัจจัยมาก โดยเฉพาะ ผู้ที่เราไปสัมผัสนั้น มีความเสี่ยงต่อการมีเชื้อเท่าใด ในหญิงบริการ ก็มีตัวเลขต่างกันไปมาก ยิ่งการสัมผัสแค่น้ำลาย หรือออรั่ลเซกซ์ มีแผลในปากหรือเปล่า ใช้เวลานานเท่าใด อันนี้ตอบยากมาก
ข้อมูลจาก CDC
ถ้าเรารู้ว่าคนๆนั้น HIV แน่ๆ แล้วเราจะมีโอกาสติดเชื้อเอดส์จากคนนั้นกี่ %
1. ถ้าโดยการได้เลือดโดยตรง =90%
2. ถ้าโดยเข็มทิ่ม = 0.3%
3. โดนกัด = น้อยมาก
4. โดนน้ำลาย น้ำเมือก น้ำเชื้อ =น้อยมาก
* mucous membrane exposure seroconversion = 0.09%
ดังนั้น ถ้าในบริเวณที่เราอยู่ มีหญิงบริการที่รู้แน่ๆว่า มีเชื้ออยู่เท่าไร ตีเป็นตัวเลขก็ยิ่งน้อยไปใหญ่
แต่คนไข้ มักกังวลเป็นอย่างมาก ซึ่งก็ไม่มีวิธีใดดีไปกว่า การ reassure และถ้าคนไข้ยืนยัน การให้ PEP ก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้คนไข้สบายใจขึ้น

Risk of HIV transmission per exposure

Type of exposure Estimated median (range) risk of HIV transmission per exposure
Receptive anal intercourse 1.11% (0.042%–3.0%)
Insertive anal intercourse 0.06% (0.06%–0.065%)
Receptive vaginal intercourse 0.1% (0.004%–0.32%)
Insertive vaginal intercourse 0.082% (0.011%–0.38%)
Receptive oral sex (fellatio) 0.02% (0%–0.04%)
Insertive oral sex (receiving fellatio) 0%
Blood transfusion (one unit) (90%–100%)
Needlestick injury 0.3% (95% CI: 0.2%–0.5%)
Sharing injecting equipment 0.67%
Mucous membrane exposure 0.63% (95% CI: 0.018%–3.47%)

จากตาราง สรุปได้หลายอย่างคือ ผู้สอดใส่ จะติดเชื้อน้อยกว่าผู้รับ กรณี ออรัลเซ็กซ์ ก็เช่นกัน โอกาสชายจะติดเชื้อน้อยมาก

PEP update 2014 คำแนะนำ
1. ในองค์กรต้องกำหนดแผนงาน และผู้รับผิดชอบ
2. ต้องกำหนดไกด์ไลน์ และวิธีการคัดกรอง การจ่ายยา การติดตามผล และผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย
3. ต้องมีไกด์ไลน์และมาตรการในการป้องกัน needle stick injury แบบครบวงจร
แผนของการให้ PEP
1. ให้โดยเร็วที่สุดถ้าต้องให้
2. ตรวจเลือดผู้ที่เป็นเจ้าของเลือดที่เราสัมผัส ถ้าผลลบต่อ HIV และไม่มีความเสี่ยงในการติดเชื้อใน 6 สัปดาห์ ให้หยุดการให้ PEP ถ้ามีความเสี่ยงให้ตรวจ HIV rna ถ้าไม่พบ ให้หยุดให้ PEP
3. ถ้าผู้เป็นเจ้าของเลือด ไม่ยอมให้ตรวจ ตรวจไม่ได้ หรือตรวจแล้วมีผล HIV ให้ PEP ให้ครบ 28 วัน
คำแนะนำ
1. ตรวจร่างกาย และตรวจเลือด ผู้สัมผัส และ ผู้ที่สงสัยติดเชื้อ ถ้าทำได้
2. เริ่มยาใน 2 ชม.ภายหลังสัมผัสเชื้อ จะดีที่สุด โดยไม่ต้องรอผลตรวจ HIV
3. ตรวจเลือดหา HIV antibody อีกครั้ง หลัง 4 และ 12 สัปดาห์
ชนิดของยา มียาอะไรบ้างที่ใช้ในการป้องกัน การติดเชื้อสำหรับผู้สัมผัสเชื้อ HIV ในระยะเวลา 24-72 ชม.
1. ปัจจุบันให้ใช้ยาที่มีส่วนผสม 3 ตัวเป็นอย่างน้อย
2. tenofovir 300 mg/d + Emtricitabine 200mg/d (ในชื่อของ Truvada) plus Raltegravir 400 mg/d หรือ Dolutegravir 50 mg/d
3. สูตรสำรอง tenofovir 300 mg/d + Emtricitabine 200mg/d (ในชื่อของ Truvada) plus Darunavir 800 mg/d หรือ Atazanavir 300 mg/d หรือ Fosamprenavir 1400 mg/d ร่วมกับ Ritonavir 100 mg/d
4. สูตรสำรอง tenofovir 300 mg/d + Emtricitabine 200mg/d (ในชื่อของ Truvada) plus Zidovudine
5. สูตรสำรอง tenofovir 300 mg/d + Emtricitabine 200mg/d (ในชื่อของ Truvada) plus Lopinavir / ritonavir (Aluvir)
ยาที่ไม่ใช้และไม่แนะนำให้ใช้ร่วม
1. Efavirenz = ผลข้างเคียง , ปัญหาในสตรีตั้งครรภ์
2. Nevirapine = ผลข้างเคียงสูง
3. Abacavir = ผลข้างเคียงสูง
4. Stavudine , Indinavir = ผลข้างเคียงสูง
5. Nelfinavir = ผลข้างเคียงสูง

ประสิทธิผลของการให้ยา คำถามที่โดนถามคือให้ยาแล้ว จะป้องกันได้มากน้อยกี่ % ตัวเลขคือ ไม่ 100% แต่เท่าไรยังไม่มีคนทำการวิจัยแบบ prospective ในกลุ่มใหญ่ครับ มีงานวิจัยต่างๆ ที่ได้พบมาคือ
ศึกษาในซานฟรานซิสโก กลุ่มตัวอย่าง 401 คนในปี 1997-1999 โดยใช้ยา combivir , ddI, D4T พบการกินยาครบ 78% และไม่พบเชื้อในทุกคนภายหลัง 6 เดือน แต่ยังไม่พอทดสอบ efficacy ได้
2005 ในซานฟรานซิสโก เช่นกันกลุ่มตัวอย่าง 702 คน ได้รับ PEP และตรวจเลือดในอีก 12 สัปดาห์ พบมีการติดเชื้อ 3 ราย
การวิจัยที่เสนอในการประชุม CROI 2002 ได้สรุปผลมาว่า ผู้ที่ได้ PEP จะลดอัตราการติดเชื้อได้ 83% จาก 4.1 คน ต่อ 100 คนต่อปี เป็น 0.7

CK

2535 แพทยศาสตร์บัณฑิต 2539 วุฒิบัตร อายุรศาสตร์ เป็นคนชอบขีดเขียน ชอบท้าทาย ทำงานเป็นหมอดีๆไม่ชอบ ชอบเป็น journalist /

Recent Posts

ความดันโลหิตสูง

โรคความดันโลหิตสูง Hypertension (อัพเดต 2024) ถือเป็นโรคเรื้อรังโรคหนึ่งที่มีประวัติยาวนาน คู่กับการแพทย์ มีการปรับเปลี่ยนแนวทางปฏิบัติมาเรื่อยๆล่าสุดคือ 2024 หรือ 2567

1 week ago

ไข้เลือดออก 2566

อัพเดต อาการ การรักษา โรคไข้เลือดออก หรือ ไข้เดงกี่ (Dengue fever ) รวมถึง ไข้เลือดออกเดงกี่ Dengue Hemorrhagic fever เป็นโรคไข้จากไวรัส…

1 year ago

วัคซีนไข้หวัดใหญ่ 2023-2024

วัคซีนไข้หวัดใหญ่ 2023-2024 องค์การอนามัยโลก For trivalent vaccines for use in the 2023-2024 northern hemisphere influenza season,…

2 years ago

สุขภาพเด็ก -Thaihealth

Thaihealth เปิดโซนสุขภาพเด็ก แนะนำบทความจาก Thaihealth Old News ครับ

2 years ago

ฮีทสโตรก heatstroke ภาวะที่ต้องระวังในหน้าร้อน

ฮีทสโตรก heatstroke ภาวะที่ร่างกายมีอุณหภูมิสูงเกินปกติและควบคุมไม่ได้ โดยทั่วไปคือภาวะที่ร่างกายมีอุณหภูมิแกนกลาง (core temperature) มากกว่า 40 องศาเซลเซียส ก่อให้เกิดอันตรายต่ออวัยวะต่างๆอย่างเฉียบพลัน ถือเป็นภาวะที่ต้องรักษาเร่งด่วน

2 years ago

อาการวิงเวียนเฉียบพลัน

อาการวิงเวียนศีรษะ เวียนหัวเฉียบพลัน เคสผู้ป่วยวิงเวียนนี้ อายุรแพทย์จะต้องได้เจอทุกวัน อาจจะวันละหลายๆครั้ง หลากหลายอาการ คนไข้จะบอกเล่า ตั้งแต่ อาการต่างๆ เช่น อยู่ๆก็เหมือนบ้านหมุน ทรงตัวไม่ได้ อันนี้อาการมาก เวียนเซ เป็นตอนขยับศีรษะ…

2 years ago