prediabetes ภาวะเสี่ยงก่อนเป็นเบาหวาน รู้ไว้ตรวจสอบตนเอง

“แม่ไปตรวจร่างกายมา หมอบอกว่าน้ำตาลสูง เสี่ยงต่อเบาหวาน” คุณคงเคยได้ยินและสงสัยว่า มันคืออะไร และเสี่ยงไหม เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นเบาหวาน ข้อมูลจาก เมโยคลินิค สหรัฐอเมริกา สำหรับผู้เสี่ยงต่อเบาหวาน

ในภาวะ prediabetes นี้ คือยังไม่เป็นเบาหวานมีระดับน้ำตาลที่ยังสูงไม่ถึงขั้นเบาหวาน แต่สูงกว่าปกติ จากข้อมูลระบาดวิทยา พบว่า มีผู้ใหญ่ชายถึง 1 ใน 10 คน หรือ หญิง 1 ใน 25 คน ในอาย 12-19 ปี อยู่ในภาวะนี้ ซึ่งพบว่ามากพอดู แต่ยังไม่มีข้อมูลชัดเจนในคนไทยครับ

ภาวะ prediabetes ซึ่งตอนนี้ขอเรียกว่า ระดับน้ำตาลสูงกว่าปกติ นั้น ไม่จำเป็นต้องกลายไปเป็นเบาหวาน โดยเฉพาะ ถ้าคุณรู้วิธีในการปฏิบัติตน จะช่วยให้ดับน้ำตาลกลับสู่ปกติได้ แต่ถ้าไม่รู้ตนเอง จะมีความเสี่ยงเป็นเบาหวานสูงกว่าปกติ และเสี่ยงต่อการมีโรคแทรกซ้อนเท่าๆเบาหวาน
การวินิจฉัย
ส่วนใหญ่คนไข้จะทราบว่าตนเองเป็น prediabetes หรือน้ำตาลสูงกว่าปกติ ก็เมื่อไปตรวจร่างกายและพบโดยบังเอิญ เช่น การตรวจก่อนผ่าตัด แต่ ตามเกณฑ์ของ สมาคมแพทย์เบาหวานอเมริกัน แนะนำให้คุณตรวจเลือดหาน้ำตาลในเลือดเมื่ออายุมากกว่า 45 ปีไปเลย ไม่ต้องรอให้ไปพบโดยบังเอิญ การตรวจมีสองแบบ ที่จะวินิจฉัยภาวะนี้คือ ตรวจน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหารตอนเช้า หรือ FPG (fasting plasma glucose) หรือ ตรวจโดยการดูระดับน้ำตาลหลังจากทดสอบกินน้ำตาลกลูโคส GT(glucose tolerance test)
ระดับ น้ำตาลขณะอดอาหารของคนปกติจะอยู่ในช่วง 70-100 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ถ้า อยู่ในช่วง 101-125 ก็จะอยู่ในภาวะ สูงกว่าปกติ prediabetesแบบ IFG หรือ impaired fasting glucose ถ้าสูงกว่า 126 ก็จะเป็นเบาหวาน
การทดสอบโดยการกินน้ำตาลหรือ GT ให้กินน้ำตาล 75 กรัมและวัดระดับน้ำตาลในสองชม. ถ้าสูงในช่วง 140-199 มิลลิกรัม/ดล. ถือว่าอยู่ในระดับสูงกว่าปกติ prediabetes
อาการและอาการแสดง
ภาวะน้ำตาลชนิดนี้ ไม่มีอาการ แต่ให้คุณมองหาอาการที่แสดงว่าคุณเป็นเบาหวานแบบจริงๆ คือ
กระหายน้ำบ่อย
ปัสสาวะบ่อยโดยเฉพาะกลางคืน
หิวบ่อย
นน.ขึ้น
เลีย
ตามัว
แผลหายช้า
มือเท้าชา
เหงือกอักเสบบ่อยๆ
ติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะ หรืออวัยวะสืบพันธ์บ่อยๆ
สาเหตุ
ไม่ทราบแน่ชัด แต่ปัจจัยหลักก็คือ ร่างกายตอบสนองต่อระดับน้ำตาลในเลือดที่ขึ้น ช้ากว่าปกติ เช่นมีการตอบสนองต่ออินสุลินต่ำกว่าปกติ(ภาวะดื้ออินสุลิน) โดยเฉพาะ คนที่นน.เกิน อ้วนลงพุง และออกกำลังกายน้อย (ซึ่งปัจจุบัน คนไทยเป็นเยอะขึ้นจนต้องออกมารณรงค์ในเรื่องนี้กัน ดังจะกล่าวต่อไป)
ปัจจัยเสี่ยง
ประวัติครอบครัว ถ้ามีญาติสายตรง เป็นเบาหวานชนิดที่ 2
นน.ตัว ถ้ามาก แสดงถึงไขมันที่มาก และ ส่งผลให้เกิดภาวะดื้ออินสุลิน
ออกกำลังกายน้อย
อายุที่สูงขึ้น
เชื้อชาติ เช่น ผิวสี จะมีความเสี่ยงมากกว่าผิวขาว
การเคยมีภาวะน้ำตาลสูงขณะตั้งครรภ์ เป็นปัจจัยเสี่ยงอันหนึ่ง
มีบุตรที่มีนน.ตัวสูง จากสถิติ พบว่า หญิงที่มีบุตรแรกคลอด นน.ตัวสูงกว่า 9 ปอนด์ เสี่ยงต่อการเกิดภาวะนี้
การดูแลตนเอง
แค่ลดนน.ตัวลงมา 5% ก็สามารถทำให้ระดับน้ำตาลดีขึ้นมาก
ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
พบแพทย์ เพื่อตรวจน้ำตาล และเมื่อจำเป็น รับประทานยา
รับประทานอาหารที่ถูกสุขลักษณะและประกอบไปด้วยไขมันและคาร์โบฮัยเดรทที่ไม่สูงเกินไป