มะเร็งเต้านม ให้ยาคีโม(เคมีบำบัด) มากไปก็ไม่มีประโยชน์

มะเร็งเต้านม เป็นหนึ่งในมะเร็งที่มีผลการรักษาดีมาก ทำให้การรักษาได้ผลดี เป็นที่น่าพอใจ หลายๆคนหายจากโรคได้และส่วนใหญ่ มีอัตราการหายสูง เนื่องมาจากการพัฒนายาเคมีบำบัด หรือ คีโม ที่ใช้ร่วมกับการผ่าตัด หรือฉายแสง โดยที่เนื้อเยื่อของมะเร็ง ตอบสนองของการรักษาด้วยยาดีมาก ทำให้แพทย์หลายคนสงสัยว่า เราจะสามารถให้ยาขนาดที่สูงกว่านี้ได้หรือไม่ ในมะเร็งระยะลุกลามไปต่อมน้ำเหลืองแล้วเพื่อช่วยให้คนไข้รอดชีวิตมากขึ้น การศึกษา จากมหาวิทยาลัยเทกซัส เกี่ยวกับการให้ยาเคมีบำบัด ขนาดสูงมากกว่าปกติ โดยหวังว่าจะช่วยให้หายขาดจากการเป็นมะเร็งที่อยู่ในระยะลุกลามไปต่อมน้ำเหลือง ซึ่งโดยขนาดที่มาก จะทำให้ไขกระดูกไม่ทำงาน จนต้องใช้ร่วมกับเสต็มเซลล์ของตัวคนไข้เอง หรือการปลุกถ่ายไขกระดูก…

ออกกำลังกายลดความเสี่ยงมะเร็งเต้านม

ผลการศึกษาจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติสหรัฐ พบสิ่งที่น่าสนใจว่า การออกกำลังกาย อย่างเหมาะสมในหญิงวัยหมดประจำเดือน ช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งเต้านม webmd-30-07-2008 การออกกำลังกาย ที่ระบุว่ามีประโยชน์ ต้องทำ “อย่างหนักและจริงจัง” โดยเฉพาะ “ในสตรีที่น้ำหนักไม่เกิน” โดยการวิจัยครั้งนี้ คณะแพทย์จาก ศูนย์มะเร็ง นพ. ไมเคิล ลีซแมน กล่าวว่า “การออกกำลังกายอย่างหนัก ช่วยป้องกันมะเร็ง นอกเหนือจากช่วยทำให้ไม่อ้วน ซึ่งการไม่อ้วน ก็ช่วยในเรื่องป้องกันมะเร็งอยู่แล้ว” การวิจัย…

เกณฑ์การตรวจระดับน้ำตาลในเลือด สำหรับโรคเบาหวาน

ข้อมูลเก่า!!! เกณฑ์การตรวจระดับน้ำตาลในเลือด สำหรับโรคเบาหวาน เกณฑ์การวินิจฉัยใหม่ เสนอเมื่อปี 1997 สำหรับผู้ที่เป็นเบาหวาน ซึ่งมีสองชนิดคือ ชนิดที่ 1 (พึ่ง อินสุลิน) กับชนิดที่ 2 (ไม่พึ่งอินสุลิน) เกณฑ์การวินิจฉัยใหม่ Diabetes mellitus–positive findings from any two of the following…

เบาหวานชนิดที่1 โรคเบาหวานในคนไม่อ้วน แถมเป็นตั้งแต่เด็ก

มีบางครั้ง ที่ผมตรวจคนไข้อายุน้อย ผอม แต่ระดับน้ำตาลสูง “หมอ ผมเป็นเบาหวานได้ไง ไม่เห็นอ้วนเลย” คือคำถามที่จะได้ยินทันที…นั่นคือ คนส่วนใหญ่ คิดว่า คนที่อ้วนเท่านั้น ถึงจะเป็นโรคเบาหวาน หรือไขมัน จริง ๆ แล้วที่ถูกต้องคือ ประมาณ 5-10%ของโรคเบาหวาน เกิดในคนอายุน้อย หรือผอมด้วย เรียกว่า เบาหวานชนิดพึ่งอินสุลิน หรือเบาหวานชนิด1 (insulin dependent…

อาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน

อาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน คัดมาจาก www.thaimedico.com ขอบคุณ อ.นพ.วิทยา ศรีดามา ผู้เชี่ยวชาญโรคระบบต่อมไร้ท่อ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย นพ.วิทยา ศรีดามา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาหารผู้ป่วยเบาหวานนั้น อาจแบ่งง่ายๆ เป็น 3 ประเภทคือ ประเภทที่ 1 ห้ามรับประทาน ได้แก่ อาหารน้ำตาลและขนมหวาน เช่น…

เตรียมตัวมาตรวจสุขภาพอย่างไร

หลักการกว้าง ๆ ครับ สำหรับผู้ที่ต้องการมาตรวจสุขภาพทุกระบบ หาอ่านไม่มี ที่นี่ที่เดียวเลยรีวิวมาให้ครับ ตรวจสุขภาพ ก่อนมาตรวจ ในกรณีที่ต้องการตรวจเบาหวาน ไขมัน และตรวจเลือดอื่น ๆ งดน้ำงดอาหารหลังเที่ยงคืนวันก่อนจะมา กินอาหารตามปกติ 3-4 วันก่อนจะมา สามารถจิบน้ำได้เล็กน้อยตอนเช้า แต่ไม่ควรดื่มอย่างอื่นเลย ในกรณีที่ต้องการเอกซเรย์กลืนแป้งกระเพาะอาหาร งดน้ำงดอาหารหลังเที่ยงคืนก่อนมา ควรงดน้ำด้วย ในกรณีต้องการเอกซเรย์สวนเพื่อตรวจลำไส้ใหญ่ ต้องมีการเตรียมลำไส้ก่อน ให้ไปพบเจ้าหน้าที่เพื่อรับยาระบายและการเตรียมตัว กินอาหารอ่อนเหลว…