เหา (Pediculosis capitis) เหาเกิดจากเชื้อปาราสิต ชื่อว่า “Pediculus humanus” ซึ่งอาศัยอยู่บนหนังศีรษะ เส้นผม ขน ปาราสิตนี้จะคอยดูดเลือดกินเป็นอาหาร และวางไข่บนเส้นผม โดยหลั่งสารไคติน (chitin) หุ้มปลายหนึ่งของไข่ ให้เกาะติดแน่นอยู่ มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า บางคนไม่มีอาการเท่าใด แต่จะสร้างความรำคาญใจได้
โรคที่มากับน้ำท่วม หรือหน้าฝนอีกโรค ที่พบบ่อยๆตามทุ่งนา คือ โรคฉี่หนู หรือที่เรียกว่า เล็ปโตสไปโรสิส leptospirosis สาเหตุ เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชื่อเล็บโตสไปร่า (Leptospira interogans) เชื้อนี้สามารถพบได้ในสุนัข สุนัขจิ้งจอก สัตว์เลี้ยงในบ้าน แต่พบมากในหนูซึ่งสามารถแพร่เชื้อออกมาได้โดยที่ตัวมันไม่เป็นโรค มักจะพบการระบาดในเดือนตุลาคม และพฤศจิกายน เนื่องจากเป็นฤดูฝนต่อหนาว มีน้ำขัง
โรคกลากที่ผิวหนัง เกิดจากเชื้อราพวก dermatophyte ซึ่งประกอบด้วย 3 genus ใหญ่ได้แก่ Trichophyton, Microsporum และ Epidermophyton เชื้อเหล่านี้สามารถย่อย keratin ได้ จึงอาศัยอยู่ตาม dead keratin ของผิวหนังในชั้น stratum cormeum, ขน, ผมและเล็บ ผื่นที่เกิดขึ้นเป็นการตอบสนองของคนไข้ต่อ metabolic products…
สิวและการรักษา สิวเป็นการอักเสบเรื้อรังของท่อรูขนและต่อมไขมันพบได้ค่อนข้างบ่อย หายได้เอง มักเริ่มเป็นในระยะวัยรุ่น พบว่ามีสิ่งต่างๆ มากมายมีผลต่อการเกิดหรือการหายของโรค โดยทั่วไปอาการมักจะเริ่มในระยะวัยรุ่น พบในเด็กชายมากกว่าเด็กหญิง ลักษณะผื่นแตกต่างกันมาก ตั้งแต่เป็นตุ่มเล็กๆ ไม่มีอาการอักเสบจนถึงตุ่มอักเสบ เจ็บเหมือนฝี อาจแยกผื่นของสิวได้เป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ คือ 1. ผื่นสิวไม่อักเสบ (Non-inflammatory lesions) ลักษณะจะเป็นตุ่ม (palpules) เล็กๆ ซึ่งตรงกลางอาจเป็นสีดำ เรียก…